Issue Cover

ลองอ่านในฉบับ

ลองอ่านบทความพิเศษในนิตยสารสารคดี

Collections

issue-item

ลองอ่าน 467 กุมภาพันธ์ 67 Eat Pray Art with “Bro! Ganesha”

เรื่องราวของพระพิฆเนศวร คเณศ หรือกาเนชา เปรียบดังเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเหลือคณานับทั้งจำนวนและรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งสำนวนใกล้เคียงและขัดแย้งหากมีผู้พึงสดับและนับถือท่านก็จะยังอยู่กับมนุษย์เหนือกาลเวลา เชื่อกันว่าหากภักดีต่อเทพเจ้าผู้มีเศียรเป็นช้างพระองค์นี้อย่างใกล้ชิดหมั่นบูชาและอยู่ในสายพระเนตรปัญญาและความสำเร็จก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อโลกหมุนมาถึงปัจจุบันสมัยรูปเคารพที่ดูจริงจังขรึมขลังตามเทวาลัยและสถานที่สำคัญยังคงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและแม้จะมีงานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ที่ลดทอนความน่าเกรงขามและย่อส่วนให้ท่านกลายเป็นโลโก้สินค้า เครื่องประดับ อาร์ตทอย ฯลฯ ก็มิได้สั่นคลอนความเชื่อและศรัทธาใด ตราบที่มนุษย์ยังปรารถนาปัญญาและความสำเร็จ พระคเณศก็จะเป็นองค์ปฐมแห่งการบูชาและระลึกถึงเสมอ

issue-item

ลองอ่าน 466 มกราคม 67 CHOCOLATE IN SIAM

ช็อกโกแลต โกโก้ไทย ไปไกลแล้วคราฟต์ “อนึ่ง แขกมัวร์ในประเทศสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ และชาวปอรตุเกศนั้นดื่มโกโก้ เมื่อมีส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปญอีกทอดหนึ่ง” ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี 2230 บันทึกไว้ในหนังสือจดหมายเหตุของเขา (สำนวนแปลภาษาไทยโดย สันต์ ท. โกมลบุตร) นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุดมีโกโก้ให้ดื่มกันในเมืองไทยมากว่า 300 ปีแล้ว ! โกโก้คือผลผลิตจากต้นคาเคา (cacao) ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน แม้จะเคยมีความพยายามพัฒนาให้คาเคาเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาหลายครั้งหลายหน แต่ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จนัก ทว่าดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น ความนิยมในช็อกโกแลตบาร์จากผู้ผลิตรายย่อย (specialty and artisanal chocolates) ที่เน้นการผลิตจำนวนจำกัด พร้อมกลิ่นรส “taste note” เฉพาะตัว และรสชาติแปลกใหม่ที่มีความเป็นท้องถิ่น ขยายตัวจากโลกตะวันตกมาเบ่งบานทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเมืองไทย สารคดี ฉบับนี้ขอพาผู้อ่านไปย้อนดูตั้งแต่ความเป็นมาในประวัติศาสตร์ของ “โกโก้” และ “ช็อกโกแลต” ก่อนพาตะลุยเข้าสวนโกโก้ แวะเวียนทำความรู้จักกับ “คนโก้” บางแบรนด์บางรายเพื่อให้เห็นทั้ง “ที่มา” และ “ทางไป” แห่งรสชาติหอมหวานชนิดนี้ในเมืองไทย

issue-item

ลองอ่าน 465 ธันวาคม 66 Train Stories

๑๘ กรกฎาคม ๒๔๕๒ ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแจ้งความของกรมราชเลขานุการลงพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษาว่าบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำภาษาไทยแทนคำอังกฤษบางคำที่ใช้กันแพร่หลายกันในขณะนั้นแล้ว เช่น “คำว่าวอเตอสับไปล การจำหน่ายน้ำใช้ทั่วไป ให้เรียกว่า ประปา คำว่าสเตชั่น ให้เรียกว่า สถานี เช่น #สเตชั่นรถไฟ ให้เรียกว่า สถานีรถไฟ” คำว่า “#สถานีรถไฟ” จึงถือกำเนิดขึ้นในภาษาไทยนับแต่นั้นมา สารคดี ฉบับนี้ ว่าด้วยเรื่องราวของ สถานีรถไฟในความทรงจำ ตั้งแต่สถานีกลาง เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ “หัวลำโพง” อยุธยา หัวหิน ไปจนถึงสถานีเล็กๆ น่ารัก อย่างกันตัง พิจิตร สวรรคโลก หรือบ้านปิน พร้อมกับแนะนำให้รู้จักกับผู้คนที่อยู่เบื้องหลังความพยายามอนุรักษ์อาคารเก่าเหล่านั้น เช่น รศ. ปริญญา ชูแก้ว และกลุ่ม VERNADOC จากมิติของอดีต ยังมีหลากหลายมุมมองต่อรถไฟไทยในวันนี้ไปถึงวันหน้าและการร่วมเดินทางไปกับขบวนรถไฟสายลาว-จีน บนอีกฟากฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง ถ้าท่านผู้โดยสารพร้อมแล้ว โปรดจัดเตรียมสิ่งของสัมภาระให้เรียบร้อยแล้วก้าวขึ้นรถมาได้เลย!

issue-item

ลองอ่าน 464 พฤศจิกายน 66 Eco Living ดิน ฟ้า ป่า น้ำ

ค่ายสารคดีสร้างคนบันทึกสังคมติดต่อกันมา ๑๘ รุ่น สองครั้งล่าสุดเพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจอายุ ๑๘-๒๕ ปี เข้ามาเรียนรู้การทำคลิปวิดีโอในฐานะวิดีโอครีเอเตอร์ “เด็กค่าย” ทีมหนึ่งจึงมีทั้งนักเขียน-ช่างภาพ-วิดีโอ จับมือกันสร้างสรรค์งานสารคดี หัวข้อหลัก หรือธีม (theme) ประจำค่าย ๑๘ คือ Eco Living ดิน ฟ้า ป่า น้ำ ด้วยสถานการณ์ที่โลกร้อนขึ้นทุกวัน สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายจากการกระทำของมนุษย์ แนวทาง “อีโค่-ลิฟวิง” จึงน่าจะเป็นทางออกของมนุษยชาติ Eco Living มาจากการหลอมรวมคำว่า ecosystem หรือ ecology ที่แปลว่า “ระบบนิเวศ” หรือ “นิเวศวิทยา” หมายถึงสังคมของสิ่งมีชีวิตทั้งเล็กและใหญ่ที่ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเอง และมีปฏิสัมพันธ์ต่อดิน น้ำ อากาศที่แวดล้อม ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความสมดุล อาจเป็นระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อมชุมชน เมือง ป่าเขา แม่น้ำ หรือชายฝั่งทะเล เข้ากับคำว่า living ที่แปลว่า “การดำรงชีวิต” ผลงานเขียน ภาพถ่าย และวิดีโอ ภายใต้หัวข้อนี้ที่นำเสนอผ่านหน้ากระดาษและสื่อออนไลน์ของนิตยสาร สารคดี หวังว่าจะเป็นแสงสว่าง ชี้ให้เห็นทางออกบางอย่างของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชากรโลกกำลังเผชิญ คือสิ่งที่ชาวค่ายในฐานะคนบันทึกสังคมพึงทำ เพื่อเก็บรักษา ดิน ฟ้า ป่า น้ำ ส่งมอบความหวังให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป

issue-item

ลองอ่าน 463 ตุลาคม 66 กบฏบวรเดช ๒๔๗๖

หากจะนับว่าการอภิวัฒน์ 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่นองเลือด เป็นลักษณะ “ประนีประนอมรอมชอม” ของสังคมไทยที่ทำให้เราเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบไม่ต้องสังเวยชีวิต ผู้รู้ท่านหนึ่งบอกว่านั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะ “ฉากจริง” ของ “การอภิวัฒน์” เกิดขึ้นในปีถัดมา หลังความพยายามประนีประนอมตลอดขวบปีล้มเหลว ปลายปี 2476 ส่วนหนึ่งของเครือข่ายระบอบเก่าก็ยกกำลังเข้าปะทะระบอบใหม่ เกิดเป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกในยุคประชาธิปไตยหัดเดินของสยาม สมรภูมิหลักเกิดขึ้นที่ทุ่งบางเขน ตามแนวรางรถไฟไปจนสุดขอบที่ราบสูง ผลแพ้ชนะทิ้งร่องรอยความทรงจำและมรดกทางการเมืองไว้มากมาย ยังไม่นับ “สงครามความทรงจำ” ที่ยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน เมื่อประวัติศาสตร์ “กบฏบวรเดช” ถูกนำมาตีความใหม่ภายใต้สถานการณ์วิกฤตการเมืองไทยรอบล่าสุดที่กินเวลานานเกือบ 2 ทศวรรษ

issue-item

ลองอ่าน 462 กันยายน 66 100 ปี ศิลป์ สู่สยาม

เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๕ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาลของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (คอร์ราโด เฟโรจี ปี ๒๔๓๕-๒๕๐๕) นิตยสารสารคดี เคยนำเสนอชีวประวัติของเขาด้วยบทความ “ศิลป์ พีระศรี ชีวิตเพื่อศิลปะ” เขียนโดย ธนิศา บุญถนอม และเมื่อถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๗ จะเป็นวาระครบ ๑๐๐ ปีที่ศิลป์ พีระศรี เดินทางมายังสยามเป็นครั้งแรก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ สารคดีจะได้กลับมานำเสนอเรื่องราวของ “อาจารย์ศิลป์” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ได้รับการยกย่องในฐานะ “บิดาของศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย” อีกครั้ง ในปีนี้ สารคดี ขอเสนอบทความว่าด้วยมิตรภาพข้ามพรมแดนศิลปะระหว่างศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตลอดจนข้อมูลใหม่จากผู้ศึกษาค้นคว้าในประเด็นต่างๆ ว่าด้วย “อาจารย์ศิลป์”รวมถึงแนะนำผลงานประติมากรรมบางส่วนของอาจารย์ศิลป์และลูกศิษย์ ที่ใครๆ อาจพบเห็นผ่านตากันอยู่เสมอ แต่มิได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงว่าเป็นฝีมือของผู้ใดหรือมีเรื่องราวเบื้องหลังเช่นไร นี่อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะมีใครเล่าเรื่องของ “อาจารย์ศิลป์” เพราะอย่างที่ ผศ.ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐ ได้กล่าวในบทสัมภาษณ์ว่า “ชีวิตและงานของอาจารย์ศิลป์ ยังมีเรื่องให้ทำอีกมาก...”

issue-item

ลองอ่าน 461 สิงหาคม 66 รำแม่มด ศาสนาผีอีสานใต้

“แม่มด” ในอีสานไม่ใช่หญิงหมอผี ไม่ใช่หญิงแก่ใจร้ายขี่ไม้กวาดอย่างในนิทานฝรั่ง แต่เป็นผู้หญิงพื้นบ้านทั่วไปในทุกสถานะทางสังคม อาชีพ และวัย ที่สามารถสื่อสารกับผีบรรพบุรุษที่อยู่ต่างภพผ่านการเข้าทรง ในอีสานใต้คำนี้มาจากมะม็วต หรือเมม็วต ในภาษาเขมร  เม แปลว่าแม่  ม็วตหรือมตสันนิษฐานว่ามาจากมะตะ ที่แปลว่าคนตายหรือผี  มะม็วตที่คนไทยเลือนเสียงเป็นแม่มด จึงหมายถึงหญิงที่เป็นผู้สื่อสารระหว่างคนกับผี  และ “ผี” คำนี้เป็นคนละความหมายกับผีในภาษากลาง และไม่ใช่ “วิญญาณ”  แต่เป็น“ขวัญ” ที่เชื่อกันว่าเมื่อคนตาย ขวัญยังอยู่ในอีกมิติหนึ่ง มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่ยังเกี่ยวโยงผูกพันอยู่กับครอบครัวและสามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ดี-ร้าย  การนับถือผีอาจเป็นศาสนาแรกก็ว่าได้ และในบางท้องถิ่นยังคงศรัทธาเหนียวแน่นไม่น้อยกว่าศาสนาที่มาทีหลัง   เช่นเดียวกับคนล้านนาที่นับถือผีปู่ย่า มีพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ และคนทรงเรียกว่า “ม้าขี่”  สารคดี ชวนมาสำรวจพื้นที่พหุลักษณ์ทางความเชื่อในอีสานและล้านนา ซึ่งผี พุทธ อยู่ร่วมอย่างกลมกลืน

issue-item

ลองอ่าน 460 กรกฎาคม 66 SONGKHLA CONTEMPORARY สมัยใหม่ในเมืองเก่า

เช่นเดียวกับบ้านเมืองเก่าแก่แห่งอื่นใด สงขลาเป็นบ้านเป็นเมืองมาพันปี ตั้งแต่ที่สทิงพระ หัวเขาแดง แหลมสน จนถึงบ่อยาง หรือเมืองเก่าสงขลาในปัจจุบัน ที่คนยกย่องว่ามีศักดิ์ศรีและฐานะไม่ด้อยกว่าเมืองมรดกโลกแห่งใด ในแง่ที่ตั้งจังหวัดสงขลามีอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเมืองสองเล มีอ่าวไทยและเลสาบขนาบข้าง ด้านบนและล่างเป็นบ้านเมืองใต้กับสุดปลายชายแดนใต้ของคนมลายู  ทำให้สงขลาซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อ กลายเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่รวมผู้คนหลากชาติพันธุ์ เป็นเมืองท่าที่ยิ่งใหญ่ในยุคการค้าทางเรือโบราณ เป็นเมืองการศึกษาที่มีหลายมหาวิทยาลัย เป็นเมืองท่องเที่ยวในกระแสส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นบ้านเมืองร่วมสมัยที่มีสิ่งใหม่ ๆ และสิ่งเก่าเดิมที่คนทั่วไปยังไม่รู้เห็นก็มีอยู่ไม่น้อย  เท่าที่รวบรวมมานำเสนอใน สารคดี ฉบับนี้ คงแค่ส่วนหนึ่งส่วนน้อยเท่านั้น

issue-item

ลองอ่าน 459 มิถุนายน 66 2030 โลกร้อน +1.5 องศา Hope or Hell

โลกร้อน โลกรวน เป็นวิกฤตระดับโลกที่มีการพูดถึงกันมานานตั้งแต่ ค.ศ. 1997 และเริ่มมีความพยายามสร้างความตระหนักให้ประชาชนตื่นตัวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม จนหลัง ค.ศ. 2015 นานาประเทศก็ประกาศตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ net zero ภายใน ค.ศ. 2050 เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และ 2 องศาเซลเซียส ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าเป็นไปได้สูงมากที่โลกจะร้อน +1.5 องศาเซลเซียสภายใน ค.ศ. 2030-2040 และก่อน ค.ศ. 2030 ก็อาจมีบางปีที่โลกจะทำสถิติร้อนเกิน +1.5 องศาเซลเซียสแล้ว หายนะของโลกที่รออยู่คือ ภัยแล้งจัด ไฟป่า คลื่นความร้อนถี่และรุนแรงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อคนหลายสิบล้านคนทั่วโลก ปะการังสูญหาย ทรัพยากรพืชและสัตว์ลดลง ฯลฯ สำหรับประเทศไทย กรุงเทพมหานครและจังหวัดชายฝั่งทะเลหลายแห่งจะเผชิญความเสี่ยงต่อการจมน้ำ ขณะที่กฎหมายและกิจกรรมหลายอย่างกำลังทำลายแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญที่สุดของโลก คือป่าธรรมชาติ เรายังมีความหวังหรือไม่กับการบรรเทาปัญหาโลกร้อน คำตอบดูจะเป็นในทิศทางของข่าวร้าย และข่าวร้ายที่สุด

Articles

article-item
ลองอ่าน 470 Top 10 Cats 10 อันดับ “เจ้านาย” สายพันธุ์ยอดฮิต
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 เสียงแมว บรีดเดอร์ กรรมการ และสมาคมแมว คนไทยบนเวทีประกวดแมวโลก EP.1
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 เสียงแมว บรีดเดอร์ กรรมการ และสมาคมแมว คนไทยบนเวทีประกวดแมวโลก EP.2
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 ปรีชา วัฒนา อดีตบอสหมา  หัวหน้าสมุนแมวไทย
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 เส้นทางสู่ บรีดเดอร์แมว ระดับโลก
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 เมื่อ “แมว” ยึดทำเนียบ
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 Kofuku Cat Hotel โรงแรมที่ทั้งคนและแมวมีความรัก ความสุข ความผูกพัน
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 ฝังเข็ม ศาสตร์การแพทย์โบราณ สู่เทรนด์รักษาเจ้าเหมียว
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 470 ในโลงศพเล็ก ๆ นั้น เต็มไปด้วยความรัก
5 May 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 469 เดิกดื่นจนซอดแจ้ง เรื่องเว่านัวหัวม่วนของคนมักฟังลำ
7 April 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 469 หมอลำ บันเทิงอีสานร่วมสมัย EP.02
7 April 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 469 รถแห่ เสียงไทบ้าน สู่มหรสพสัญจร ลูกอีสานพลัดถิ่น
7 April 2024ลองอ่านในฉบับ