Issue Cover

ลองอ่านในฉบับ

ลองอ่านบทความพิเศษในนิตยสารสารคดี

Collections

issue-item

ลองอ่าน 475 ตุลาคม 67 ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง

ตามความจริงพื้นที่อีสานเป็นถิ่นฐานของคนนับสิบชาติพันธุ์ด้วยรูปพรรณ ผิว ผม เสื้อผ้า อาหาร ประเพณี และวิถีชีวิตใกล้เคียงกัน ทำให้ยากจะแยกแยะได้จากเกณฑ์ทางกายภาพและโดยการนิยามความหมายของ “ชาติพันธุ์” การบ่งชี้ชาติพันธุ์จึงยากที่จะดูจากเพียงรูปกายภายนอกและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากกว่าคือแบ่งด้วยเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งสารคดีฉบับ “ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง” ได้เลือกกลุ่มชนเจ็ดกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ของตนชัดเจนมานำเสนอเพื่อรู้จัก “อีสาน” ในมิติ “ชาติพันธุ์”

issue-item

ลองอ่าน 474 กันยายน 67 แกะรอยแผนที่ จากคนทำถึงคนกาง

สมัยนี้แล้วใครยังมานั่งกางแผนที่กระดาษ? เมื่อลองสำรวจคนรอบข้างกลับพบว่ายังมีจำนวนไม่น้อยในหลากหลายอาชีพเลือกกางแผนที่เป็นประจำ เหตุผลพวกเขาสอดคล้องไปทางเดียวคือ "สิ่งที่ต้องการ" ไม่มีในแผนที่ดิจิทัล ศาสตร์แห่งแผนที่มีความเป็นมายาวนานหลายพันปี และมีผู้คนมากมายที่ทุ่มเทชีวิตให้ เบื้องหลังการสร้างแผนที่นั้นต้องอาศัยทั้งศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และการเมือง ชวนมาแกะรอยสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ เพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ของการสร้างแผนที่และการใช้งานแผนที่

issue-item
issue-item

ลองอ่าน 467 กุมภาพันธ์ 67 Eat Pray Art with “Bro! Ganesha”

เรื่องราวของพระพิฆเนศวร คเณศ หรือกาเนชา เปรียบดังเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเหลือคณานับทั้งจำนวนและรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งสำนวนใกล้เคียงและขัดแย้งหากมีผู้พึงสดับและนับถือท่านก็จะยังอยู่กับมนุษย์เหนือกาลเวลา เชื่อกันว่าหากภักดีต่อเทพเจ้าผู้มีเศียรเป็นช้างพระองค์นี้อย่างใกล้ชิดหมั่นบูชาและอยู่ในสายพระเนตรปัญญาและความสำเร็จก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อโลกหมุนมาถึงปัจจุบันสมัยรูปเคารพที่ดูจริงจังขรึมขลังตามเทวาลัยและสถานที่สำคัญยังคงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและแม้จะมีงานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ที่ลดทอนความน่าเกรงขามและย่อส่วนให้ท่านกลายเป็นโลโก้สินค้า เครื่องประดับ อาร์ตทอย ฯลฯ ก็มิได้สั่นคลอนความเชื่อและศรัทธาใด ตราบที่มนุษย์ยังปรารถนาปัญญาและความสำเร็จ พระคเณศก็จะเป็นองค์ปฐมแห่งการบูชาและระลึกถึงเสมอ

issue-item

ลองอ่าน 466 มกราคม 67 CHOCOLATE IN SIAM

ช็อกโกแลต โกโก้ไทย ไปไกลแล้วคราฟต์ “อนึ่ง แขกมัวร์ในประเทศสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ และชาวปอรตุเกศนั้นดื่มโกโก้ เมื่อมีส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปญอีกทอดหนึ่ง” ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี 2230 บันทึกไว้ในหนังสือจดหมายเหตุของเขา (สำนวนแปลภาษาไทยโดย สันต์ ท. โกมลบุตร) นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุดมีโกโก้ให้ดื่มกันในเมืองไทยมากว่า 300 ปีแล้ว ! โกโก้คือผลผลิตจากต้นคาเคา (cacao) ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน แม้จะเคยมีความพยายามพัฒนาให้คาเคาเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาหลายครั้งหลายหน แต่ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จนัก ทว่าดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น ความนิยมในช็อกโกแลตบาร์จากผู้ผลิตรายย่อย (specialty and artisanal chocolates) ที่เน้นการผลิตจำนวนจำกัด พร้อมกลิ่นรส “taste note” เฉพาะตัว และรสชาติแปลกใหม่ที่มีความเป็นท้องถิ่น ขยายตัวจากโลกตะวันตกมาเบ่งบานทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเมืองไทย สารคดี ฉบับนี้ขอพาผู้อ่านไปย้อนดูตั้งแต่ความเป็นมาในประวัติศาสตร์ของ “โกโก้” และ “ช็อกโกแลต” ก่อนพาตะลุยเข้าสวนโกโก้ แวะเวียนทำความรู้จักกับ “คนโก้” บางแบรนด์บางรายเพื่อให้เห็นทั้ง “ที่มา” และ “ทางไป” แห่งรสชาติหอมหวานชนิดนี้ในเมืองไทย

issue-item

ลองอ่าน 465 ธันวาคม 66 Train Stories

๑๘ กรกฎาคม ๒๔๕๒ ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแจ้งความของกรมราชเลขานุการลงพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษาว่าบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำภาษาไทยแทนคำอังกฤษบางคำที่ใช้กันแพร่หลายกันในขณะนั้นแล้ว เช่น “คำว่าวอเตอสับไปล การจำหน่ายน้ำใช้ทั่วไป ให้เรียกว่า ประปา คำว่าสเตชั่น ให้เรียกว่า สถานี เช่น #สเตชั่นรถไฟ ให้เรียกว่า สถานีรถไฟ” คำว่า “#สถานีรถไฟ” จึงถือกำเนิดขึ้นในภาษาไทยนับแต่นั้นมา สารคดี ฉบับนี้ ว่าด้วยเรื่องราวของ สถานีรถไฟในความทรงจำ ตั้งแต่สถานีกลาง เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ “หัวลำโพง” อยุธยา หัวหิน ไปจนถึงสถานีเล็กๆ น่ารัก อย่างกันตัง พิจิตร สวรรคโลก หรือบ้านปิน พร้อมกับแนะนำให้รู้จักกับผู้คนที่อยู่เบื้องหลังความพยายามอนุรักษ์อาคารเก่าเหล่านั้น เช่น รศ. ปริญญา ชูแก้ว และกลุ่ม VERNADOC จากมิติของอดีต ยังมีหลากหลายมุมมองต่อรถไฟไทยในวันนี้ไปถึงวันหน้าและการร่วมเดินทางไปกับขบวนรถไฟสายลาว-จีน บนอีกฟากฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง ถ้าท่านผู้โดยสารพร้อมแล้ว โปรดจัดเตรียมสิ่งของสัมภาระให้เรียบร้อยแล้วก้าวขึ้นรถมาได้เลย!

issue-item

ลองอ่าน 464 พฤศจิกายน 66 Eco Living ดิน ฟ้า ป่า น้ำ

ค่ายสารคดีสร้างคนบันทึกสังคมติดต่อกันมา ๑๘ รุ่น สองครั้งล่าสุดเพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจอายุ ๑๘-๒๕ ปี เข้ามาเรียนรู้การทำคลิปวิดีโอในฐานะวิดีโอครีเอเตอร์ “เด็กค่าย” ทีมหนึ่งจึงมีทั้งนักเขียน-ช่างภาพ-วิดีโอ จับมือกันสร้างสรรค์งานสารคดี หัวข้อหลัก หรือธีม (theme) ประจำค่าย ๑๘ คือ Eco Living ดิน ฟ้า ป่า น้ำ ด้วยสถานการณ์ที่โลกร้อนขึ้นทุกวัน สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายจากการกระทำของมนุษย์ แนวทาง “อีโค่-ลิฟวิง” จึงน่าจะเป็นทางออกของมนุษยชาติ Eco Living มาจากการหลอมรวมคำว่า ecosystem หรือ ecology ที่แปลว่า “ระบบนิเวศ” หรือ “นิเวศวิทยา” หมายถึงสังคมของสิ่งมีชีวิตทั้งเล็กและใหญ่ที่ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเอง และมีปฏิสัมพันธ์ต่อดิน น้ำ อากาศที่แวดล้อม ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความสมดุล อาจเป็นระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อมชุมชน เมือง ป่าเขา แม่น้ำ หรือชายฝั่งทะเล เข้ากับคำว่า living ที่แปลว่า “การดำรงชีวิต” ผลงานเขียน ภาพถ่าย และวิดีโอ ภายใต้หัวข้อนี้ที่นำเสนอผ่านหน้ากระดาษและสื่อออนไลน์ของนิตยสาร สารคดี หวังว่าจะเป็นแสงสว่าง ชี้ให้เห็นทางออกบางอย่างของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชากรโลกกำลังเผชิญ คือสิ่งที่ชาวค่ายในฐานะคนบันทึกสังคมพึงทำ เพื่อเก็บรักษา ดิน ฟ้า ป่า น้ำ ส่งมอบความหวังให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป

Articles

article-item
ลองอ่าน 475 ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง

ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 กะเลิง ในวันที่ไม่สักรูปนกข้างแก้ม

กะเลิง ในวันที่ไม่สักรูปนกข้างแก้ม

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 กูย กวย ส่วย อาเจียง ชุมชนคนกับช้าง

กูย กวย ส่วย อาเจียง ชุมชนคนกับช้าง

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 ลาว แคน ผู้คน และหมู่บ้านเครื่องดนตรีอีสาน

ลาว แคน ผู้คน และหมู่บ้านเครื่องดนตรีอีสาน

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 ผู้ไท จากกองเกวียนอพยพถึงผู้ไทโลก

ผู้ไท จากกองเกวียนอพยพถึงผู้ไทโลก

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 ย้อ ข่า กลาง หมู่บ้านปั้นครก

ย้อ ข่า กลาง หมู่บ้านปั้นครก

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 แสก สาก เสียง สำเนียงบอกชาติพันธุ์

แสก สาก เสียง สำเนียงบอกชาติพันธุ์

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 475 โส้ ข่า บรู คนภู (เขา) พาน

โส้ ข่า บรู คนภู (เขา) พาน

6 October 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 474 ดูแผนที่กับมิตรเอิร์ธ

ดูแผนที่กับมิตรเอิร์ธ

4 September 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 474 แกะรอยแผนที่

แกะรอยแผนที่

4 September 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 474 INTERVIEW ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช

นักสะสมแผนที่เก่า สยาม

4 September 2024ลองอ่านในฉบับ
article-item
ลองอ่าน 474 INTERVIEW ธงชัย วินิจจะกูล

กำเนิดสยามจากแผนที่

4 September 2024ลองอ่านในฉบับ