Image

๒๖
เต๋า


หนึ่งในศาสนาหลักของชาวจีน ศาสดาคือเหลาจื่อ มีชีวิตอยู่เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อน เชื่อว่าท่านเป็นผู้แต่ง เต๋าเต็กเก็ง (แต้จิ๋ว) หรือ เต้าเต๋อจิง (จีนกลาง)  คำว่าเก็ง (จิง) หมายถึงคัมภีร์ เนื้อหาในคัมภีร์กล่าวถึงมรรควิถีอันลึกซึ้งของจักรวาลและหลักการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับเต๋า ซึ่งหมายถึงสภาวธรรมอันเป็นบ่อกำเนิดสรรพสิ่งและสมดุลของหยิน (เย็น มืด) กับหยาง (ร้อน สว่าง)

ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เต๋าผสมผสานกับความเชื่อพื้นบ้านกลายเป็นศาสนาที่จับต้องได้ ยกย่องเหลาจื่อเป็นเทพเจ้า
มีเง็กเซียนฮ่องเต้เป็นเทพเจ้าสูงสุดหรือจักรพรรดิสวรรค์ เชื่อเรื่องการฝึกตนจนเป็น “เซียน” มีอิทธิฤทธิ์ เวทมนตร์ และเป็นอมตะ เช่น โป๊ยเซียน  เกิดศาลเจ้าบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งเผยแผ่เข้ามาพร้อมกับชาวจีนในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยราชวงศ์หมิงเกิดวรรณกรรม ห้องสิน เล่าถึงการต่อสู้อย่างพิสดารของเซียนและมนุษย์ ซึ่งตอนจบตัวละครจำนวนมากได้รับการสถาปนาเป็นเทพเจ้า วรรณกรรมนี้ได้รับการแปลเป็นไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒  ส่วน เต๋าเต็กเก็ง แปลจาก

ภาษาจีนเป็นไทยครั้งแรกปี ๒๕๑๖ โดย จ่าง แซ่ตั้ง

ในยุคสตรีมมิงคนไทยชอบดูละครซีรีส์จีนแนวเทพเซียนมาก เช่น สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบหลี่, จันทราอัสดง ฯลฯ


คำว่า “เซียน” ในภาษาไทยยังใช้เปรียบเปรยถึงคนที่เก่งกาจในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น เซียนหมากรุก เซียนพนัน 


แต่ “ลูกเต๋า” ในการพนันไม่เกี่ยวกับศาสนาเต๋า

Image

สัญลักษณ์หยิน-หยางของเต๋าและรูปปั้นเทพเจ้าในศาลเจ้าฮกหงวนก้ง จังหวัดภูเก็ต เป็นศาลเจ้าของชาวจีนฮกเกี้ยนที่เข้ามาทำเหมืองแร่ในภูเก็ต สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศักราช ๒๔๐๐

๒๗
ไต้ฝุ่น



มีเสียงจีนกลางว่าไถเฟิง กวางตุ้งว่าโต๋ยฟง แต้จิ๋วว่าไถ่ฮวง แปลว่าพายุ  คำไทยที่ใช้ว่าไต้ฝุ่นอาจเพี้ยนมาจากจีนกลางหรือกวางตุ้ง ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด

ปัจจุบัน “ไต้ฝุ่น” ใช้เป็นศัพท์เฉพาะ หมายถึงพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีน มีกำลังแรงสูงสุด
โดยมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

สำหรับคำว่า typhoon ในภาษาอังกฤษอาจมาจากภาษา
กรีก Τυφών (Typhōn) อันเป็นชื่อเทพเจ้าแห่งลม และยังแปลว่าลมหมุน และคล้าย طوفان (ṭūfān) จากภาษาอาหรับแปลว่าพายุ รวมทั้งอาจมาจากภาษาจีนตามเส้นทางการค้าสายแพรไหมในอดีต

สำนวนไทยใช้คำว่า “ไต้ฝุ่น” กับนักกีฬาวิ่ง เช่น นักวิ่งไต้ฝุ่น 
ทีมไต้ฝุ่นไทย

Image

Image

0