Image

พล.อ.เดชนิธิศ เหลืองงามขำ
ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
กับความพยายาม
“พาทหารไทยกลับบ้าน”

เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช

“นักรบนิรนาม ๓๓๓ ได้สิทธิเท่านักรบสมรภูมิอื่น

“ทหารผ่านศึกมีสามแบบ หนึ่ง เสียชีวิต  สอง 
พิการ  สาม กลับมาปลอดภัย  บัตรทหารผ่านศึกมีสี่ชั้น บัตรชั้น ๑ สำหรับทหารที่ได้รับเหรียญรามาธิบดี เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ เหรียญกล้าหาญ หรือไปรบ แล้วกลับมาแบบสูญเสียอวัยวะจนพิการหรือทุพลภาพ บัตรชั้น ๒ คือผู้ได้เหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ ๑  บัตรชั้น ๓ ผู้ได้เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ ๒ เหรียญราชการชายแดน ส่วนบัตรชั้นที่ ๔ คือปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๘ เดือนขึ้นไป แต่ไม่ได้รับเหรียญใด ๆ

“ตอนนี้ อผศ. ดูแลทหารผ่านศึกที่ยังมีชีวิตทั้งหมดกว่า ๖๘๒,๗๑๙ นาย (ข้อมูล ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) ปัจจุบันดูแลทหารผ่านศึกทั้งหมด ๖๘๔,๑๒๙ นาย (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗)

“บัตรชั้นที่ ๑ จำนวน ๒,๘๘๖ คน  ครอบครัวที่ถือบัตรชั้นที่ ๑ จำนวน ๑๐,๐๕๔ คน บัตรชั้นที่ ๒ จำนวน 
๑๗,๘๙๓ คน บัตรชั้นที่ ๓ จำนวน ๑๕๑,๔๙๖ คน และบัตรชั้นที่ ๔ จำนวน ๕๐๑,๘๐๐ คน 

“สำหรับกรณีนักรบนิรนามในสมรภูมิลาว สามารถ
นำร่างผู้เสียชีวิตกลับมาได้ประมาณหลักร้อย และยังคงมีบางส่วนที่หายสาบสูญ เพราะฐานปฏิบัติการถูกโจมตี จนทำให้ไม่สามารถติดต่อทหารเหล่านั้นได้

“ปัจจุบัน อผศ. มีโครงการ ‘ขุดกระดูกคนไทย
กลับบ้าน’ ผมทำเพราะได้ยินเรื่องรบในลาวมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนนายร้อย ศึกษามาระดับหนึ่ง ได้พูดคุยกับทหารผ่านศึก ทราบว่าบางท่านไปรบในเวียดนามแล้วก็ไปรบในลาวในนามของสงครามลับ ทุกท่านพูดตรงกันว่าสมรภูมิลาวโหดที่สุด ญาติทหารผ่านศึกในลาวบอกผมว่าเขาอยากได้กระดูกกลับมาทำบุญ  ผมได้พูดคุยกับนายกสมาคมนักรบนิรนาม ๓๓๓ ท่านฝันว่าจะไปขุดกระดูกทหารไทยกลับบ้าน อยากสร้างอนุสาวรีย์นักรบนิรนามในหน่วยบัญชาการอากาศโยธินซึ่งตอนนี้สร้างไปบางส่วนให้เสร็จ

“บางท่านไปรบในเวียดนามแล้วก็ไปรบในลาวในนามของสงครามลับ ทุกท่านพูดตรงกันว่าสมรภูมิลาวโหดที่สุด ญาติทหารผ่านศึกในลาวบอกผมว่าเขาอยากได้กระดูกกลับมาทำบุญ”

Image