Image

Image
Image

Image

The Legacy of Salapao
“ซาลาเปาหน่อไม้” มรดกทางรสชาติ
ความอร่อยร้อยปีคู่เมืองอุทัยฯ

created by
ธัญจิรา แปชน และ ปฏิภาณ ดำรงกิจมั่น

สมัยที่เมืองอุทัยธานียังใช้ชื่อว่า “บ้านสะแกกรัง” นั้นมีคนจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมาก ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ “หน้าน้ำ หลังภูเขา” ถือว่ามีฮวงจุ้ยดีเลิศ  การเข้ามาของคนจีนทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างกลายเป็นมรดกที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน รวมถึงมรดกทางรสชาติอย่าง “ซาลาเปาหน่อไม้” ของร้านเพิ่มพูลพรอุทัย เป็นซาลาเปาสูตรแต้จิ๋วที่ผสมผสานเอกลักษณ์ของอุทัยฯ ผ่านหน่อไม้สะแกกรังและหน่อไม้ไผ่สีสุก จนเป็นที่เล่าลือถึงความอร่อย สืบทอดจากรุ่นพ่อชาวจีนอพยพมาสู่ลูกหลานเป็นรุ่นที่ ๓

Settle Down
(ปัก-หลัก) ณ บ้านจงรัก

created by
พัทธนันท์ สัจจวัฒน์วราภา และ เกริกกานต์ พูลสวัสดิ์

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ คุณพ่อศิลป์ชัย เทศนา และลูกสาว ฟิล์ม-ญาณิศา เทศนา พบว่าในบ้านมีของเก่าและของสะสมของครอบครัวอยู่มากมาย โดยเฉพาะของหลวงเพชรสงคราม บรรพบุรุษผู้เป็นยกกระบัตรเมืองอุทัยธานีสมัยรัชกาลที่ ๕ คุณพ่อจึงตัดสินใสร้าง “พิพิธภัณฑ์บ้านคุณตาหลวงเพชรสงคราม” ขึ้นมา ต่อมาคุณฟิล์มตัดสินใจลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ กลับมาอยู่ที่บ้าน มีผู้คนมากมายมาชมพิพิธภัณฑ์เพื่อระลึกถึงสิ่งของและคุณค่าที่ถูกส่งต่อจากอดีต การปักหลักครั้งสุดท้ายของครอบครัว ณ บ้านหลังนี้อาจไม่ได้สร้างมูลค่าอะไรมากมาย แต่คุณค่าของอดีตนั้นนับไม่ถ้วน แม้ต้องแลกกับชีวิตทันสมัยในเมืองหลวง แต่สุดท้ายคือการได้อยู่กับคนที่รัก และอย่างน้อยก็ได้อยู่กับสิ่งที่รักไปตลอด…

STAY | OUT
เมื่อเราเลือกอยู่ในวันที่เขาเลือกไป

created by
ปวิช การุณวิเชียร และ พนิดา ช่างทอง

หรั่ง-สรัณย์ ภาครัตณี หนุ่มชาวแพวัย ๒๗ ปี อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่เกิด ปัจจุบันทำงานกับเทศบาลเมืองอุทัยธานีและเป็นอาสาดับเพลิงทางน้ำ ขณะที่คนรุ่นเดียวกันทยอยย้ายขึ้นบก ประชากรชาวแพลดลงเหลือเพียงผู้สูงอายุที่ยังคงผูกพันกับวิถีชีวิตดั้งเดิม “หรั่ง” อยู่ในกลุ่มคนอายุน้อยที่สุดในบรรดาชาวแพ ยังคงเลือกทางเดินชีวิตในอนาคตกับแม่น้ำ  การเลือกอยู่บ้านแพและมีวิถีชีวิตบนสายน้ำเช่นเดิม จะสะท้อนการ “อยู่ดี” และ “ตายดี” ของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในสายตาคนรุ่นใหม่อย่างไร

BOOKTOPIA :
ร้านซื้อขายความทรงจำ
ของชายที่พกความฝันกลับบ้าน

created by
มูนา อัลรุไดนี และ นัฐชา อุดรเสถียร

อ้วน-วิรัตน์ โตอารีย์มิตร นักเขียนมากประสบการณ์ที่เคยทำงานกับนิตยสารชื่อดังมากมาย เป็นคอลัมนิสต์ที่มีงานเขียนกว่า ๓๐ ชิ้นต่อเดือน  ช่วงวัยรุ่นเขาใช้ชีวิตหนุ่มสาวตามล่าความฝันในกรุงเทพฯ อาศัยนิสัยรักการอ่านที่บ่มเพาะมามุ่งมั่นทำงานด้านการเขียน จนกระทั่งปี ๒๕๔๐ เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้วนได้รับผลกระทบ อาชีพของเขาก็เช่นกัน เขาและภรรยาตัดสินใจกลับบ้านที่อุทัยธานีและทำร้านหนังสือ Booktopia จนปัจจุบันร้านมีอายุ ๑๗ ปีแล้ว แม้ว่าธุรกิจนี้จะไม่ทำให้ร่ำรวย แต่คือสถานที่ที่เขาได้ค้นพบความหมายของชีวิต

Image

TOM TRANS INTERSEX
ความฝันของสูงวัยภูธร 

created by
พัทธนันท์ สัจจวัฒน์วราภา และ เกริกกานต์ พูลสวัสดิ์

ไก่-พักตร์วิไล สหุนาฬุ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นเมื่ออายุ ๑๘ อวัยวะเพศชายปรากฏขึ้น การเก็บความลับกับผู้คนและครอบครัวจึงเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่ เพราะเพียงแค่เป็นทอมก็ถูกเหยียดหยาม คุกคาม และละเมิดสิทธิมากเกินพอแล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน ไก่พบ “อินเตอร์เซกซ์” อัตลักษณ์ทางเพศที่มีอยู่จริง ซึ่งแม้จะผ่านมาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว สังคมก็ยังขาดความรู้และความเข้าใจ ดังเช่นกรณี อิมาน เคลิฟ นักมวยแอลจีเรีย ไก่จึงกลับมาคิดถึงความฝันที่จะผ่าตัดยืนยันเพศอีกครั้งโดยการเอาหน้าอกออก แต่อุปสรรคของการผ่าตัดก็ยังมีอยู่ ด้วยต้นทุนที่สูง ซึ่งแม้จะมีบัตรทองแต่ก็ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเองสูง ไก่จึงมองว่ารัฐควรให้สวัสดิการถ้วนหน้าแก่คนทุกเพศทุกวัย เพราะสิทธิสุขภาพคือสิทธิมนุษยชน

How is Food become 
Medicine ?

created by
มูนา อัลรุไดนี และ นัฐชา อุดรเสถียร

การบริโภคเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ทั้งโลกเผชิญกับโควิด-๑๙  มังสวิรัติมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ เมื่อนึกถึงอาหารเพื่อสุขภาพ และประเทศหนึ่งที่กินมังสวิรัติอย่างแพร่หลายคืออินเดีย ชาวอินเดียกินมังสวิรัติด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง หนึ่งคือเป็นภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น อย่าง “อายุรเวท” แพทย์แผนโบราณที่เน้นการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม และเชื่อว่าอาหารเป็นยา  สารคดีเรื่องนี้จะมาชวนติดตามว่าอายุรเวทจะสามารถเข้ามาเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพอย่างหนึ่งของคนไทยได้หรือไม่

อยู่ดี ตายดี บุญร่มไทร

created by
ปวิช การุณวิเชียร และ พนิดา ช่างทอง

“ชุมชนบุญร่มไทร” ถูกไล่รื้อพื้นที่อยู่อาศัยจากการพัฒนาเมือง พวกเขาเป็นกลุ่มคนรายได้น้อยที่อยู่กันอย่างแออัด ณ บริเวณริมทางรถไฟ ระหว่างถนนพญาไทไปจนถึงถนนพระรามที่ ๖ อย่างไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน  เรื่องราวของชุมชนบุญร่มไทรเป็นตัวอย่างของการต่อสู้จากความ “อยู่ไม่ดี” และการยืนหยัดที่จะรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ “สู้จนตายดี” เพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงในชีวิตของตนเองและลูกหลาน ย้ำเตือนว่าในสังคมไทยไม่ใช่ทุกคนที่มีสิทธิ์จะอยู่ดี คนบางกลุ่มยังต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มันมา

อดีต ชีวิต อนาคต 
และการเปลี่ยนผ่าน

created by
จตุรพิธ ถิรเนตร และ จิรัฏฐ์ วรรัตนวงศ์

อาชีพคนดูแลสุสานในวันที่เมืองถูกขยายและพื้นที่ของคนตายถูกจำกัดพื้นที่ของคนเป็นและคนตายผนวกรวมกันอย่างไร ผ่านมุมมองของผู้ดูแลพื้นที่ของคนตายให้หลับสบายและคนเป็นสบายใจ

“Iron Barbie” 
คงกระพันนารี สุมณี คุณะเกษม

created by
ธัญจิรา แปชน และ ปฏิภาณ ดำรงกิจมั่น

เล่าชีวิตและปัญหาด้านสุขภาพของ สุมณี คุณะเกษม เศรษฐีนีหมื่นล้านชื่อดังของเมืองไทย ที่หลายคนรู้จักในฉายา “บาร์บี้เมืองไทย” ด้วยภาพลักษณ์ที่ผ่านสื่อและออกงานสังคมจนหลายคนมองว่าเป็นชีวิตที่น่าอิจฉา แต่หลังม่านเธอคือหญิงวัย ๘๗ ปีที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายหลายครั้งในชีวิต และการเจ็บป่วยในวัย ๘๐ กว่าปีนั้นกลับเปลี่ยนเธอให้เป็นคนที่เคร่งครัดเรื่องสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้มีชีวิตยืนยาว อยู่ดูโลกให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

Image

Image

0