เรียบเรียง : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
อียิปต์โบราณและกรีก-โรมัน
ภาพพืชในศิลปะประดับอาคาร แสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม เช่น ภาพดอกบัวและต้นไม้บนผนังสุสานของอียิปต์ ภาพองุ่นบนโมเสกของโรมัน แต่ยังไม่ใช่ภาพบันทึกความรู้ทางพฤกษศาสตร์
ยุคกลาง (Medieval Period, ศตวรรษที่ ๕-๑๕)
ภาพวาดในตำราสมุนไพร แสดงลักษณะเด่น แต่ไม่ละเอียดมากและมีการคัดลอกภาพเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปโดยไม่ได้ศึกษาต้นจริง
ศิลปินสำคัญ
ไม่ปรากฏนามศิลปิน
หนังสือสำคัญ
De Materia Medica (ค.ศ. ๕๐-๗๐) ตำราสมุนไพรเขียนโดย พีดาเนียส ไดออสคอริดีส (Pedanius Dioscorides, ค.ศ. ๔๐-๙๐) นักพฤกษศาสตร์กรีก บรรยายลักษณะสมุนไพรแต่ละชนิด ถิ่นอาศัย การใช้ประโยชน์ เป็นตำราที่ใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑ ยาวนานกว่า ๑,๕๐๐ ปี
ตำรา De Materia Medica ภาษาอาหรับ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ วาดภาพพืชโดย จัดวางแบบสมมาตร
ภาพ : https://www.metmuseum.org/art/collection/search/451825
Juliana Anicia Codex (ค.ศ. ๕๑๒) หรือ The Codex Vindobonensis Dioscorides นำพืชในตำรา De Materia Medica มาเรียงลำดับตามตัวอักษรและวาดภาพประกอบ ๓๘๓ รูป ฝีมือช่างวาดหลายคน
ภาพ : https://historyofifinformation.com/detail.php?id=1344
Tacuinum Sanitatis (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๔) ตำราสุขภาพของอาหรับยุคกลาง แสดงภาพการปลูกผัก ผลไม้ ดอกไม้ และสมุนไพรหลายชนิด
A องุ่น / B แอปเปิล / C เชอร์รีทาร์ต / D มะเดื่อ
ภาพ : https://journals.ashs.org/hortsci/view/journals/hortsci/45/11/article-p1592.xml
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และการพิมพ์
การค้นพบ “โลกใหม่”
นักสำรวจนำพืชแปลกใหม่จากทวีปอเมริกาและทวีปเอเชียกลับมายุโรป ทำให้การบันทึกภาพพืชมีความสำคัญมากขึ้น
ศิลปินสำคัญ
อัลเบร็ชท์ ดือเรอร์ (Albrecht Düürer, ค.ศ. ๑๔๗๑-๑๕๒๘) ชาวเยอรมัน ผลงานภาพวาดสีน้ำและภาพพิมพ์แกะไม้
ภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/Albrecht_D%C3%BCrer