Image

Image

เรียบเรียง : ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง

ทันทีที่เข็มกดลงแผ่วเบาในร่องของแผ่นไวนิลสีดำที่หมุนด้วยความเร็ว ๔๕ รอบต่อนาที (RPM) เครื่องย้อนเวลาก็ถือกำเนิดเมื่อสำเนียงแรกดังกังวาน

บทเพลงของ เบน อี. คิง เสียงเบสอันเป็นเอกลักษณ์ เสียงร้องอันมีพลังแต่ให้ความรู้สึก
นุ่มนวล ทำให้ผมหวนนึกถึงวัยเยาว์ที่ฟังเพลงชื่อเดียวกับภาพยนตร์เรื่อง Stand By Me (ค.ศ. ๑๙๘๖) หนังเรื่องแรก ๆ ที่เนื้อหาตราตรึงใจอย่างยิ่งสำหรับเด็กคนหนึ่ง...

แต่โปรดอย่าเข้าใจผิด ! ผมไม่ได้เปิดเครื่องเล่นแผ่นเสียง หากฟังผ่านช่องยูทูบที่กำลังเปิดแผ่น
ไวนิลบนเครื่องเล่นให้ฟังต่างหาก

Image

ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์

ด้วยยอดวิวกว่า ๔๐ ล้านครั้งเฉพาะเพลงนี้เพลงเดียว รวมถึงความนิยมในการเปิดเครื่องเล่นแผ่นเสียงเพลงต่าง ๆ ให้ฟังอีกหลายช่อง น่าจะบ่งบอกได้ถึงความชื่นชอบแผ่นเสียงที่ยังคงอยู่สำหรับผู้พิสมัยการฟังเพลงแบบแอนะล็อก มิหนำซ้ำยังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในวันที่ผู้คนส่วนใหญ่ต่างฟังเพลงแบบดิจิทัลผ่านบริการสตรีมมิง

อาจคล้ายสำนวน “เกือบหลับแต่กลับมาได้” ด้วยบทพิสูจน์ของยอดขายดีขึ้นต่อเนื่องกว่า ๑๐ ปีและการที่ศิลปินยุคเก่าและยุคใหม่ต่างผลิตผลงานผ่านแผ่นเสียง นี่จึงไม่ใช่เพียงกระแสชั่วครั้งชั่วคราว สิ่งที่หลายคนเคยมองว่าตกสมัยก็ถูกพินิจพิเคราะห์ถึงคุณค่าอีกครั้ง


เราจึงขอย้อนรำลึกถึงสิ่งประดิษฐ์แสนอมตะที่มีอายุกว่า ๑๓๐ ปี ไล่เรียงจากจุดเริ่มต้นจนถึงตอนนี้...

Image

หากนับการพบหลักฐานการฟังดนตรีครั้งแรกของมนุษยชาติ ต้องย้อนกลับไปในยุคหินเก่าเมื่อราว ๔ หมื่นปีก่อน ครั้งเริ่มทำเครื่องเป่าจากกระดูกสัตว์ เกิดเสียงบรรเลงเข้าสู่โสตประสาทที่ไม่ได้ใช้รับฟังการพูดคุยสื่อสารหรือเสียงต่าง ๆ รอบข้างเท่านั้น

ดนตรีและเพลงพัฒนาเรื่อยมาคู่กับความเจริญของมนุษย์ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก่อนการค้นพบวิธีบันทึกเสียงนั้นคือล้วนต้องฟังจากการเล่นดนตรีสด ทั้งจากมหรสพต่าง ๆ หรือในสถานที่สำคัญเช่นโบสถ์ ไปจนการร้องรำทำเพลงที่บ้าน โดยมีสิ่งที่เกี่ยวข้องคือเครื่องดนตรีและแผ่นชีตเพลงเป็นหลัก

Image

Image

0