Image

วัฒนธรรม "เส้น"

เรื่อง : ศรัณย์ ทองปาน

Image

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ภาพ : ห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ปลายปี ๒๔๘๕ เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระนครเป็นเวลาหลายเดือน ขณะนั้นอยู่ในช่วงปีแรกแห่งสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกอดคอร่วมวงไพบูลย์กับญี่ปุ่นอย่างเหนียวแน่น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม คือผู้นำสูงสุดที่มีอำนาจเต็มเปี่ยม หนังสือพิมพ์ทุกฉบับล้วนต้องพิมพ์คำขวัญว่าด้วยท่านผู้นำไว้ที่ “หู” (ear) คือมุมบนข้างชื่อหนังสือพิมพ์หน้าแรก เช่น “เชื่อมั่น ทำตาม ท่านพิบูลสงคราม ชาติปลอดภัย” ของหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ และ “เชื่อพิบูลสงครามชาติไม่แตกสลาย” ของหนังสือพิมพ์ สรีกรุง (ศรีกรุง)

นอกจากภารกิจในการบริหารบ้านเมืองแล้ว สิ่งสำคัญที่ท่านนายกรัฐมนตรีอุทิศเวลาให้เป็นอย่างมาก คือการเขียนบทความรายวัน ด้วยนามปากกาสารพัด เช่น “สามัคคีชัย” “อกไก่” “๒๑๗๕” “สามัคคีไทย” แล้วส่งไปอ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงในตอนเที่ยงหรือตอนค่ำ จากนั้นในวันต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องลงเผยแพร่ซ้ำให้อีกครั้งหนึ่ง โดยถือเป็นเรื่องสำคัญชนิด “คอขาดบาดตาย” 

งานศึกษาเรื่องนกเงือกของอาจารย์พิไลเริ่มต้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ก่อนขยับขยายไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่อื่น ๆ

Image

Image

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม พายเรือขายสินค้าต้นแบบตามคติของท่านสามัคคีชัย ระหว่างน้ำท่วมทำเนียบรัฐบาล ปี ๒๔๘๕
ภาพ : อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ก๋วยเตี๋ยวเรือในทำเนียบฯ

“ภริยานายพันโทขายก๋วยเตี๋ยวในทำเนียบ ท่านสามัคคีชัยจึงแนะนำอาชีพนี้แก่พี่น้องไทย” คือพาดหัวรองหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ฉบับวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ เนื้อข่าวกล่าวอ้างบทความของท่านสามัคคีชัย ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ว่าในระหว่างเวลาน้ำเหนือไหลหลากมามากคราวนี้ ได้ทราบว่าในทำเนียบสามัคคีชัย (ทำเนียบรัฐบาล) เกิดมีการขายก๋วยเตี๋ยวเรือกันขึ้น
 
แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นภริยาของพ.ท. สิลป์ รัตนพิบูลชัย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีฯ กลาโหมไว้ด้วย 

Image

0