Image

Image

Image

Image

Image

ไม่ใช่เฉพาะแต่หมู่บ้านท่าเรือที่เห็นในภาพนี้ หากผ่านไปในถิ่นคนชาติพันธุ์ลาวในช่วงเดือนสี่ก็จะพบเห็นงานบุญแห่พระเวสได้แทบทุกชุมชน

ลาว
แคน ผู้คน
และหมู่บ้านเครื่องดนตรีอีสาน

ชาติพันธุ์อีสาน
หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง

เรื่อง : วีระศักร จันทร์ส่งแสง
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง, ประเวช ตันตราภิรมย์

Image

เวทีหมอลำยาวเกือบเท่ากำแพงด้านหนึ่งของวัดศรีโพธิ์ชัย หมอลำยุคนี้ไม่ได้ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีหลักในการแสดงอีกแล้ว แต่ความนิยมในท่วงทำนองดนตรีอันเร่งเร้าใจและในจังหวะการร้องลำสำเนียงอีสานยังเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย 

ช่วงหนึ่งของเวทีหมอลำในงานสืบสานตำนานแคน งานบุญใหญ่ประจำปีของหมู่บ้านท่าเรือ แคนยังคงมีบทบาทสำคัญและได้แสดงตัวอย่างโดดเด่น เป็นการบรรเลงเพลงแคนหลากหลายทำนองของบรมครูแคนในชุมชน ซึ่งในปัจจุบันหมู่บ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทำแคนและเครื่องดนตรีอีสานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทย เมื่อถึงยุคที่โลกมีตลาดออนไลน์ แคนจากหมู่บ้านท่าเรือก็ส่งขายให้นักดนตรีทั่วโลกด้วย

“แคนเกิดมาจากไหนไม่รู้ แต่เกิดมาก็เห็นคุณตาทำแคน พ่อก็ทำแคน ผมหัดทำแคนจากพ่อตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี และก็เล่นแคนมาตั้งแต่อายุ ๑๓ ด้วย” ปัจจุบันพ่อใหญ่ไสว ปฏิโยพันธ์ อายุ ๗๗ ปีแล้ว เป็นปราชญ์แคนคนหนึ่งของหมู่บ้านท่าเรือ ผู้นำคณะขึ้นเวทีโชว์เพลงแคนในงานสืบสานตำนานแคนของหมู่บ้านหลังออกพรรษาปี ๒๕๖๖

“ผมเป็นช่างแคน รู้สำเนียงเสียงของมัน รู้คู่ของมัน ทำเองได้ เล่นเองได้ ตัวแคนยาวเสียงทุ้ม ถ้าตัวสั้นเสียงแหลมขึ้น ทำมาเรื่อย ๆ สอนลูกศิษย์ไปด้วย สอนไปหลายสิบคนลูกหลานบ้านนี้ และยังทำแคนทุกวัน สืบสานไปเรื่อย ๆ เป็นมรดกของอีสาน”

เมื่อถามถึงเทคนิคเล่นแคนให้ไพเราะ พ่อใหญ่วิชัย แก้วอินที ปราชญ์แคนอีกคนตอบว่า อยู่ที่ลมเป่ากับจังหวะที่เข้ากันกับปลายนิ้วมือ

คนชาติพันธุ์ลาวเข้ามาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ และสืบเนื่องมาตามยุคสมัยและสถานการณ์ทางสังคมการเมืองระหว่างสองฝั่งมหานที  ตลอดช่วงเวลาหลายร้อยปีต่อมาพวกเขายังคงเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

Image

0