คลองหลังวัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สถานที่ประจำของกลุ่มพายเรือเก็บขยะ ทีมพายเรือคายักนำโดยชายหนุ่ม ร่างเล็กแต่แข็งแรง ผู้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อขยะในคลอง
โลกทั้งใบจากเก้าอี้ขาว
ปรัชญาของ
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
Eco Living ดิน ฟ้า ป่า นํ้า
เรื่อง : นนท์พิเชษฐ์ชาญ ชัยหา
ภาพ : ธเนศ แสงทองศรีกมล
เก้าอี้ขาวตั้งนิ่งอยู่กลางห้องเรียนใหญ่ในมหาวิทยาลัย คนทั่วไปอาจเห็นแค่เก้าอี้นั่งเรียนธรรมดา ๆ แต่ในสายตาของชายผู้หนึ่ง เก้าอี้ขาวอธิบายโลกได้ทั้งใบ
เราเริ่มเห็นชายผู้นี้ตามหน้าสื่อตั้งแต่ครั้งพฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ ต่อมายิ่งในช่วงการเลือกตั้ง เขาปรากฏบนจอแก้วนับครั้งไม่ถ้วนในฐานะนักกฎหมายผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง
ในอีกมุมหนึ่งเขาเป็นพลเมืองของโลกผู้ห่วงเพื่อนมนุษย์และโลกใบนี้ เขาใช้เสียงและการกระทำสร้างแรงบันดาลใจและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เพื่อนร่วมโลก
ชื่อของเขาคือ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
ชีวิตปริญญา
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เติบโตในบ้านเกิดที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนย้ายมาศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ยังโรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ ต่อจากนั้นในปี ๒๕๒๙ เขาก้าวสู่เส้นทางของนักกฎหมายด้วยสถานะนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หลังเรียนจบปริญญาโทด้านกฎหมายจากเยอรมนี ชีวิตนำพาให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ประจำในคณะที่เคยร่ำเรียน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน
วันนี้ในวัย ๕๕ ปี หลังผ่านการเรียนปริญญาเอกด้านกฎหมายมหาชนจากสถาบันเดิมในเยอรมนีและสอนกฎหมายมากว่า ๒๕ ปี กล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้แข็งแกร่งในโลกของกฎหมายมาเกินครึ่งชีวิต
ย้อนไปช่วงชีวิตปริญญาตรี เขาร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนสังคม เริ่มจากการออกค่ายอาสาพัฒนาชุมชน มาสู่เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เป็นกระแสในสังคมไทยช่วงปี ๒๕๓๐ สืบเนื่องจากปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาลมีนโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๕ ในการสร้างเขื่อนน้ำโจน เขื่อนขนาดใหญ่ที่จะมาพร้อมกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติผืนป่าภาคตะวันตกใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เรื่องนี้นำมาสู่กระแสการคัดค้านของนิสิตนักศึกษาหลายสถาบัน
ขณะนั้นปริญญาเป็นนักกิจกรรมธรรมศาสตร์ชั้นปีที่ ๒
“ปี ๒๕๓๐ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในมหาวิทยาลัย ๑๖ สถาบัน รวมตัวกันในนามคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๖ สถาบัน (คอทส.) คัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน คือเห็นว่าไม่สมควร
จะเสียพื้นที่ป่า ๔-๕ ล้านไร่เพื่อมีเขื่อน ชาวกาญจนบุรีส่วนมากก็ไม่เอาเขื่อนด้วย การสร้างเขื่อนแต่ละครั้งเราสูญเสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปมากแค่ไหน มันคือการเอาน้ำไปท่วมพื้นที่ป่าเพื่อให้ได้ไฟฟ้ามา ซึ่งวิธีการอื่นก็มี ทำไมต้องแลกกับป่าหลายล้านไร่ พร้อมชีวิตสัตว์ป่าอีกมากมาย เรื่องนี้คุณสืบ นาคะเสถียร จุดประเด็นไว้แล้วในตอนสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน”
Your Inspiring Reading Experience
Reading in other languages by opening in Chrome translate.
Explore our inspiring content by topic