ประวัติศาสตร์ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
478 มกราคม 68 “สงครามลับ" ในลาว
ผ่านมาเกินครึ่งศตวรรษ “สงครามลับ” หรือกรณีทหารไทยไปรบในลาว เป็นเรื่องแปลกและแทบจะไม่เคยได้ยิน ทั้งกับคนที่เกิดร่วมสมัยนั้นและคนสมัยหลัง ยิ่งกับคนรุ่นใหม่ หากมีผู้เฒ่าผู้แก่สักคนหนึ่งออกมาเล่าตามสื่อออนไลน์ว่าเคยไปรบในลาว ประเทศเพื่อนบ้านที่คนไทยคุ้นเคย ก็อาจจะไม่เชื่อง่ายๆ สารคดี ออกเดินทางข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปยังอดีตสมรภูมิลับ นำข้อมูลบางอย่างที่ถูก “ลดชั้นความลับ” มานำเสนอผู้อ่านเท่าที่เราจะทำได้ อาจช่วยให้เรา “เข้าใจอดีต” และอยู่กับ “ปัจจุบัน” ได้อย่างเท่าทันมากขึ้น
474 กันยายน 67 แกะรอยแผนที่ จากคนทำถึงคนกาง
สมัยนี้แล้วใครยังมานั่งกางแผนที่กระดาษ? เมื่อลองสำรวจคนรอบข้างกลับพบว่ายังมีจำนวนไม่น้อยในหลากหลายอาชีพเลือกกางแผนที่เป็นประจำ เหตุผลพวกเขาสอดคล้องไปทางเดียวคือ "สิ่งที่ต้องการ" ไม่มีในแผนที่ดิจิทัล ศาสตร์แห่งแผนที่มีความเป็นมายาวนานหลายพันปี และมีผู้คนมากมายที่ทุ่มเทชีวิตให้ เบื้องหลังการสร้างแผนที่นั้นต้องอาศัยทั้งศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และการเมือง ชวนมาแกะรอยสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ เพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ของการสร้างแผนที่และการใช้งานแผนที่
472 กรกฎาคม 67 ๒๐ ปี “ตากใบ” : ความทรงจำ ประวัติศาสตร์ บาดแผล
“เหตุการณ์ตากใบ” ที่อำเภอสุดแดนใต้ฟากอ่าวไทย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ถูกนับเป็นเหตุการณ์ชุมนุมที่มีคนตายมากที่สุด เป็นการสูญเสียชีวิตคนบริสุทธิ์ที่มีตัวตนอยู่จริง ไม่ใช่เพียงเรื่องเล่าลือหรือตำนานปรัมปรา และเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความศรัทธาของคนท้องถิ่นที่มีต่อรัฐมากที่สุด แต่ว่านั่นไม่ใช่จุดแรกของความขัดแย้งรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้
471 มิถุนายน 67 ๒๔๗๕ พระยาพหลฯ นายกฯ ที่ถูกลืม
นาม “พจน์ พหลโยธิน” หรือ “พระยาพหลพลพยุหเสนา” ทุกครั้งที่เอ่ยถึงเหตุการณ์การอภิวัฒน์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ถูกกล่าวถึงอย่างย่นย่อ แม้มีบทบาทเป็นถึง “หัวหน้าคณะราษฎร” พระยาพหลฯ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้ชื่อว่า “มือสะอาด” ที่สุดคนหนึ่ง ห้าปีที่เขาเป็นนายกฯ ยังเป็นยุค “ฟื้นฟู-วางรากฐาน” ของระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจชาตินิยม ในโอกาส ๙๒ ปี “ประชาธิปไตยไทย” สารคดี ขอชวนท่านผู้อ่านทบทวนเรื่องราวของ ๒๔๗๕ อีกครั้ง ผ่านชีวิตของพระยาพหลฯ “นายกฯ ที่ถูกลืม”
463 ตุลาคม 66 กบฏบวรเดช ๒๔๗๖
หากจะนับว่าการอภิวัฒน์ 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่นองเลือด ผู้รู้ท่านหนึ่งบอกว่านั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะ “ฉากจริง” ของ “การอภิวัฒน์” เกิดขึ้นในปีถัดมา ปลายปี 2476 ส่วนหนึ่งของเครือข่ายระบอบเก่ายกกำลังเข้าปะทะระบอบใหม่ เกิดเป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกในยุคประชาธิปไตยหัดเดินของสยาม สมรภูมิหลักเกิดขึ้นที่ทุ่งบางเขน ตามแนวรางรถไฟไปจนสุดขอบที่ราบสูง ผลแพ้ชนะทิ้งร่องรอยความทรงจำและมรดกทางการเมืองไว้มากมาย
462 กันยายน 66 100 ปี ศิลป์ สู่สยาม
เดือนมกราคม ๒๕๖๗ เป็นวาระครบ ๑๐๐ ปีที่ศิลป์ พีระศรี เดินทางมายังสยามเป็นครั้งแรก “อาจารย์ศิลป์” เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ได้รับการยกย่องในฐานะ “บิดาของศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย” สารคดี ขอเสนอบทความว่าด้วยมิตรภาพข้ามพรมแดนศิลปะระหว่างศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตลอดจนข้อมูลใหม่จากผู้ศึกษาค้นคว้าในประเด็นต่างๆ รวมถึงแนะนำเบื้องหลังผลงานประติมากรรมบางส่วนของอาจารย์ศิลป์และลูกศิษย์ ที่ใครๆ อาจพบเห็นผ่านตากันอยู่เสมอ
458 พฤษภาคม 66 ๑๐๐ ปี วันสิ้นพระชนม์ “เสด็จเตี่ย
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (๒๔๒๓-๒๔๖๖) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากกองทัพเรือให้เป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” พร้อมกันนั้น ดวงพระวิญญาณของพระองค์ยังเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยจำนวนไม่น้อย ในฐานะ “เสด็จเตี่ย” “เสด็จพ่อ” หรือ “กรมหลวงฯ”ผู้สามารถขจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนได้แทบทุกเรื่อง ในวาระ ๑๐๐ ปีวันสิ้นพระชนม์ (๒๔๖๖-๒๕๖๖) นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กลับทำความรู้จักกับ “เสด็จเตี่ย” ให้มากขึ้น
457 เมษายน 66 มิตร ชัยบัญชา
มิตร ชัยบัญชา แสดงหนังไว้เกือบ 300 เรื่อง เฉลี่ยจำนวนเรื่องต่อปีสูงสุดอย่างยากที่ดารารุ่นหลังลบสถิติ เขาเป็นสัญลักษณ์และหลักหมายของวงการภาพยนตร์ไทยยุคฟิล์ม 16 มม. เป็นแบบอย่างของการทุ่มเทให้กับสิ่งที่รัก วาระสุดท้ายที่มาถึงก่อนวัยอันควร เกิดขึ้นในระหว่างถ่ายทำฉากจบหนังเรื่อง อินทรีทอง แล้วกลายเป็นฉากจบในชีวิตจริงไปด้วย เมื่อเขาร่วงจากความสูง 300 ฟุต ขณะโหนบันไดเฮลิคอปเตอร์ การถ่ายทำหนังค้างคา และดารานำนาม มิตร ชัยบัญชา ก็กลายเป็นดาวค้างฟ้าที่ผู้คนยังกล่าวขานเป็นตำนานไม่รู้จบ
451 ตุลาคม 65 ที่ใดมีการกดขี่...กบฏผู้มีบุญ
“ผู้มีบุญ” เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขาน แต่ทางการขานนามเขาว่า “#ผีบุญ” โดยมีคำว่า กบฏ นำหน้า มาตั้งแต่ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตามการศึกษารวบรวมของนักประวัติศาสตร์ นับกันว่าขบวนการต่อสู้ของชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับการใช้ความศรัทธาความเชื่อ อภินิหาร และการมาโปรดของพระศรีอาริย์หรือที่เรียกกันว่า ผู้มีบุญ เฉพาะในพื้นที่อีสานเคยเกิดขึ้น ๙ ครั้ง ในช่วง ๒๖๐ ปี ด้วยข้อจำกัดเรื่องหลักฐาน ทำให้ภาพของพวกเขาเลือนราง แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร จุดกำเนิดของขบวนการไพร่ ล้วนมีเหตุผลในตัวของมันเอง
447 มิถุนายน 2565 กลอน/แปด/เพลงยาว/ชีวิตสุนทรภู่
“สุนทรภู่” เป็นชื่อที่ทุกคนรู้จัก จากในตำราเรียน จากงาน “๒๖ มิถุนาฯ” ที่โรงเรียน หรือจากผลงานที่มีอยู่นับ ๖ หมื่นคำกลอน โดยมี พระอภัยมณี เป็นเรื่องเอก เป็นนิทานที่อาจเทียบได้กับนิยายในยุคนี้ และชีวิตเขาก็ถูกเล่าลือต่อกันมาราวกับนิยายเรื่องหนึ่ง ในแง่ที่ว่าเป็นกวีราชสำนักที่เจ้าชู้ ขี้เมา มีช่วงชีวิตยากไร้ต้องเขียนกลอนขาย ร่วมรำลึก ๒๖ มิถุนาฯ วันมหากวี ด้วยการรู้จักสุนทรภู่ในแง่มุมใหม่ตามที่มีหลักฐานรองรับ คำถามสำคัญอีกข้อคือ โลกยุค ร. ๒ ที่มหากวีมีชีวิตอยู่เป็นอย่างไร ?
443 คดีประวัติศาสตร์ "พระสงฆ์ไทย"
ย้อนกลับไปในช่วงปี ๒๕๐๓ มีคดีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คดีหนึ่งของวงการสงฆ์ไทยเกิดขึ้น เจ้าคุณพระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถระ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกถอดสมณศักดิ์ ต้องติดคุกอยู่หลายปี ก่อนศาลทหารจะตัดสินว่าบริสุทธิ์ โดยเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็น “กรรมเก่า” ฟังดูเป็นเรื่องราวชวนพิศวง แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ฉบับนี้ยังมีบทความ "แม่มดในวิถีพุทธไทย" สำรวจบทบาทของ แม่มด กับวิถีวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีต
439 กาลครั้งหนึ่ง ประวัติศาสตร์ ประชาชน
เป็นขบวนการต่อต้านและตอบโต้อำนาจรัฐที่เข้มแข็งน่าครั่นคร้ามมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ประกอบขึ้นจากกลุ่มกำลังหลากหลาย ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศ ตั้งแต่ชนชั้นนำในเมืองหลวง จนถึงชนเผ่าในดงดอย ทั้งปัญญาชนและคนด้อยการศึกษาในชนบทต่างเข้าร่วมกับกองกำลังปฏิวัตินาม “กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย” (ทปท.) ที่ทางราชการเรียกพวกเขาว่า “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” (ผกค.) ขบวนการปฏิวัติล่มสลายลงแล้ว แต่เรื่องราวของผู้คนรุ่นหนึ่งในฐานะบทเรียนทางสังคมยังคงอยู่
กาลครั้งหนึ่งประวัติศาสตร์ประชาชน ตอน 1
กาลครั้งหนึ่งประวัติศาสตร์ประชาชน ตอน 2
412 vietnam war
ทหารไทยใน "สมรภูมิเวียดนาม" ภาค 2