scoop
รวบรวม : สุเจน กรรพฤทธิ์
ฮังการี :
แอนยอส อิสต์วาน เจดลิก (Ányos István Jedlik) บาทหลวงและนักฟิสิกส์ ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าต้นแบบมีหลักฐานว่าเขาเป็นผู้คิดค้นไดนาโม (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า
เนเธอร์แลนด์ :
ซีแบรนดัส สเตรทิน (Sibrandus Stratingh) สร้างรถยนต์ไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียว (zinc-acid batteries)
ฝรั่งเศส :
กัสตง ปล็องเต (Gaston Planté) นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์แบตเตอรี่แบบตะกั่วที่ชาร์จใหม่ได้
เยอรมนี :
แวร์เนอร์ ฟ็อน ซีเมินส์ (Werner von Siemens) ทดลองรถยนต์ที่ตั้งชื่อว่า Elektromote ในเขตชานกรุงเบอร์ลินโดยใช้กระแสไฟจากสายไฟฟ้าที่วางไปตามแนวถนน
ฝรั่งเศส :
กุสตาฟว์ ทรูเว (Gustave Trouvé) ทดลองนำรถจักรยานสามล้อมาติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าของซีเมินส์ใช้แบตเตอรี่เคมีที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็นแหล่งพลังงานถือเป็น “จักรยานไฟฟ้า” คันแรกของโลก
อังกฤษ :
โทมัส พาร์กเกอร์ (Thomas Parker) สร้างรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกจากความต้องการประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลภาวะ โดยใช้แบตเตอรี่ที่ กัสตง ปล็องเต ออกแบบ ขณะที่รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
สหรัฐอเมริกา :
วิลเลียม มอร์ริสัน (William Morrison) สร้างรถยนต์ไฟฟ้าหกที่นั่งทำความเร็วสูงสุด ๒๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วงนี้ชาวอเมริกันเริ่มสนใจรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
เยอรมนี :
รูดอล์ฟ ดีเซล คิดค้นเครื่องยนต์สองจังหวะทำให้เทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปเริ่มแซงหน้า
สยาม :
รถรางในกรุงเทพฯ จากสถานีศาลหลักเมือง-ถนนตก เป็นรถรางสายแรกของโลกที่ใช้ระบบไฟฟ้า
สหรัฐอเมริกา :
บริษัท Hartford Electric Light Company ริเริ่มแนวคิด “สับเปลี่ยนแบตเตอรี่” สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ของบริษัท GVC (บริษัทลูกของ General Electric Company) โดยผู้ใช้บริการจ่ายเงินเป็นรายเดือน
อังกฤษ :
วอลเตอร์ ชาร์ลส์ เบอร์ซีย์ (Walter Charles Bersey) วิศวกรไฟฟ้า ประดิษฐ์แบตเตอรี่ชนิดแห้งสำหรับรถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้า และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่สำคัญคือรถแท็กซี่ไฟฟ้า ซึ่งได้รับฉายาว่า “(นก) ฮัมมิงเบิร์ด” จากเสียงมอเตอร์ แต่ปัญหาเสียงและความสั่นสะเทือนส่งผลให้ยางรถและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว
เบลเยียม :
คามิลล์ เจนาตซี (Camille Jenatzy) ขับรถยนต์ไฟฟ้าทรงจรวดชื่อ Jamais Contente ทำความเร็วได้ ๑๐๕.๘๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นการวิ่งเร็วเกิน ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงครั้งแรกของรถยนต์ไฟฟ้า
สยาม :
สันนิษฐานว่าในปีนี้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) สั่งรถยนต์สันดาปคันแรกเข้ามาในเมืองไทย
สหรัฐอเมริกา :
ร้อยละ ๓๘ ของยานพาหนะที่ใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า ขณะที่ร้อยละ ๒๒ เป็นระบบเครื่องยนต์สันดาป มีรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนทั้งหมด ๓๓,๘๔๒ คัน
สยาม :
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระโอรสในรัชกาลที่ ๕ ทรงฉายภาพกับรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท Carl Oppermann Electric Carriage (อังกฤษ) ซึ่งมีขนาดมอเตอร์ ๕ แรงม้า และวิ่งได้ระยะทาง ๘๐ กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด ๒๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทั่วโลก :
หลังการวางจำหน่าย Ford Model T รถยนต์สันดาปรุ่นแรกที่ชนชั้นกลางชาวอเมริกันซื้อได้ในราคาเอื้อมถึง ประกอบกับระบบถนนและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นในยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้มีความต้องการเดินทางระยะไกลมากขึ้นแต่รถยนต์ไฟฟ้ามีข้อจำกัด การค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันจำนวนมากทั่วโลกทำให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ รถยนต์สันดาปเริ่มยึดครองตลาดมากขึ้นจนกลายเป็นรถยนต์หลักของท้องถนน ในที่สุดรถยนต์ไฟฟ้าเหลือแค่ทำหน้าที่ “ส่งนม” ในอังกฤษ และ “รถยก” ในโรงงานอุตสาหกรรม
สหรัฐอเมริกา :
เฮนนีย์ โคชเวิร์กส์ (Henney Coachworks) และบริษัท National Union Electric Company ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยี่ห้อ Exide (ตะกั่ว/กรด) สร้างรถยนต์ไฟฟ้าชื่อ Henney Kilowatt ถึงแม้จะดีกว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นก่อนแต่ราคาแพงเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ Renault Dauphine รุ่นเครื่องยนต์สันดาป
สหรัฐอเมริกา :
บริษัท American Motor Corporation (AMC) และ Gulton Industries เริ่มพัฒนาแบตเตอรี่ชนิด lithium-ion ที่ดีกว่าแบตเตอรี่แบบเก่า อีก ๒ ปีต่อมา ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กรุ่น Amitron มีระยะวิ่งได้ ๒๔๐ กิโลเมตรต่อชาร์จ
ดวงจันทร์ :
แอนยอส อิสต์วาน เจดลิก (Ányos István ๓๑ กรกฎาคม-Lunar Roving Vehicle รถยนต์ไฟฟ้า สำรวจดวงจันทร์ในภารกิจ “อะพอลโล ๑๕” ผลิตโดย NASA Boeing และ GM กลายเป็นยานพาหนะชนิดแรกที่มนุษย์ใช้บนดาวดวงอื่น
อังกฤษ/กรีก :
เศรษฐีชาวกรีก เจ้าของบริษัท Enfield Automotive พัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Enfield 8000 ใช้แบตเตอรี่ตะกั่ว/กรด วิ่งได้ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตรต่อชาร์จ ต่อมาย้ายกลับกรีกและผลิตรุ่น Neorion ส่งมาขายอังกฤษ
สหรัฐอเมริกา :
กฎหมาย Development and Demonstration Act เปิดทางให้รัฐบาลสนับสนุนเอกชนพัฒนายานพาหนะไฟฟ้า ทั้งนี้รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีนโยบายส่งเสริมพลังงานสะอาด Zero Emission Vehicles - ZEV กำหนดให้ผู้ผลิตยานยนต์ต้องพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าหากต้องการจำหน่ายยานยนต์ในแคลิฟอร์เนียต่อไป
ทั่วโลก :
ค.ศ. ๑๙๗๙ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) ปรับราคาขึ้น จนเกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลก อีก ๑ ทศวรรษต่อมาเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรกับอิรัก ทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูง จากนั้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเกิดวิกฤตราคาน้ำมันหลายระลอก ขณะที่การกำเนิดของ Tesla ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ใหม่ของรถยนต์ ไฟฟ้า
นอร์เวย์ :
รัฐบาลสนับสนุนการตั้งบริษัท PIVCO เพื่อผลิตรถยนต์พลังงานสะอาด ประกาศยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลภาวะ
สหรัฐอเมริกา :
GM EV 1 รถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรมเริ่มวางจำหน่ายมีระยะวิ่งต่อการชาร์จอยู่ที่ ๒๒๘ กิโลเมตร
นอร์เวย์ :
รัฐบาลประกาศลดค่าภาษีประจำปีของรถยนต์ไฟฟ้า และสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอีกหลายมาตรการ เช่น ขึ้นทางด่วนฟรี ชาร์จฟรี ฯลฯ
สหรัฐอเมริกา :
Tesla เริ่มส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Roadster ให้ลูกค้าใช้แบตเตอรี่ lithium-ion วิ่งได้ระยะทาง ๓๙๓ กิโลเมตรต่อชาร์จทำความเร็วสูงสุดได้ ๒๐๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นวางตลาดใน ๓๐ ประเทศ
จีน :
Build Your Dream - BYD วางจำหน่ายรถยนต์รุ่น BYD F3DM เป็นรถ plug-in hybrid car แบบ compact sedan รุ่นแรกที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม เมื่อใช้ไฟฟ้าอย่างเดียวจะวิ่งได้ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร
ญี่ปุ่น/ยุโรป :
Mitsubishi i-MiEV ระยะวิ่งสูงสุด ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชาร์จ เริ่มจำหน่ายในญี่ปุ่นและยุโรป
ไทย :
Toyota วางจำหน่ายรถรุ่น Camry Hybrid
ญี่ปุ่น/สหรัฐอเมริกา :
Nissan เปิดตัว Nissan LEAF รถยนต์ไฟฟ้าห้าประตู วิ่งได้ระยะทาง ๑๑๗ กิโลเมตรต่อชาร์จ
จีน :
รัฐบาลเริ่มออกมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
สหรัฐอเมริกา :
Tesla Model S วางจำหน่าย โดยรุ่นย่อยที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดคือ ๖๔๗ กิโลเมตร
ทั่วโลก :
รถยนต์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อทำยอดขายได้ ๑ ล้านคันและปีถัดมาผ่านหลัก ๒ ล้านคัน
นอร์เวย์ :
ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท (ค.ศ. ๒๐๑๖) กินส่วนแบ่งร้อยละ ๔๐.๒ ของตลาดรถยนต์ในประเทศ
ไทย :
บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) - EA เปิดตัวรถยนต์นั่งส่วนบุคคลพลังไฟฟ้าต้นแบบที่เกิดจากทีมวิจัยคนไทย ในงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ ๓๙ มีระยะวิ่งสูงสุดที่ ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชาร์จ ความเร็วสูงสุด ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทั่วโลก :
โรคระบาดโควิด-๑๙, สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความตึงเครียดบริเวณช่องแคบไต้หวัน ส่งผลรุนแรงกับการผลิตรถยนต์ทั่วโลกเกิดการขาดแคลนสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) และชิป (chip) สำหรับการผลิตรถยนต์ทุกประเภท ราคาน้ำมันพุ่งสูงอีกครั้ง ขณะที่ Tesla ขายรถยนต์ไฟฟ้าครบ ๑ ล้านคัน (ทุกรุ่น) และทั่วโลกมีรถยนต์ไฟฟ้า ๑๖ ล้านคัน (ค.ศ. ๒๐๒๑)
ไทย :
รัฐบาลออกมาตรการทางภาษีศุลกากร (ขาเข้า) ภาษีสรรพสามิต มาตรการอุดหนุนราคาขายรถยนต์ไฟฟ้า ลดภาษีป้ายประจำปีและส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
(มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๒๒) มีรถยนต์ไฟฟ้า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จดทะเบียน ๑๘,๖๔๔ คัน ส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๒๒ อยู่ที่ ๕,๘๓๐ คัน
คณะกรรมการนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ วางเป้าหมายว่า ใน ค.ศ. ๒๐๓๕ ยานพาหนะทุกประเภทที่จดทะเบียนจะเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด
บรรณานุกรม
สงวน อั้นคง. ๒๕๑๔. สิ่งแรกในเมืองไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
ไสวย นิยมจันทร์. ๒๕๐๐. ไทยริเริ่ม (คนแรก) ผู้ให้กำเนิด ผู้ประดิษฐ์ ริเริ่มสิ่งต่าง ๆ ในประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประเสริฐสิน.