Image

รวบรวม : วีระศักร จันทร์ส่งแสง
ภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

การปกครองแบบเดิมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิปไตย (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต...นั้นพ้นเวลา อันสมควรเสียแล้ว ถ้าคงไว้จะกลับให้โทษแก่บ้านเมืองจึงทรงพระราชดำริให้แก้การปกครอง เปลี่ยนเป็นพระราชอาณาจักร (Kingdom) เลิกประเพณีที่มีเมืองประเทศราชถวายต้นไม้ทองเงินดังแต่ก่อน

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนไว้ใน นิทานโบราณคดี

Image

“เขตพื้นเมืองอีสาน” ตกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงธนบุรี

Image

วิถีชีวิตการเป็นอยู่ของคนพื้นถิ่นเมื่อครั้งยังเป็น มณฑลอีสาน คำบรรยายข้างหลังภาพบอกว่าลาวตักน้ำรดยาที่ไผทสงฆ์ (หรืออำเภอพุทไธสงในปัจจุบัน)

Image

หลังสงครามกับเวียงจันทน์ สยามได้ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และเมืองจำปาศักดิ์

Image

เกิดกบฏเชียงแก้ว โดยชนชาวข่า ที่เมืองจำปาศักดิ์ 

Image

กบฏสาเกียดโง้ง ยึดจำปา-ศักดิ์ไว้ได้ช่วงหนึ่ง ก่อนผู้นำกบฏและชาวข่าจำนวนหนึ่งถูกจับมารับโทษที่กรุงเทพฯ

Image

การละเล่นของชาวข่าที่เมืองกุสุมาลย์ คราวรับเสด็จเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อปี ๒๔๔๙

Image

ฝรั่งเศสยึดเวียดนาม แล้วเคลื่อนเข้าสู่ลาวซึ่งอยู่ใต้ปกครองของสยาม 

Image

รัชกาลที่ ๕ ให้งดการหารวบรวมคนมาตั้งเมือง ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในเขตพื้นเมืองอีสานมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ตอนหลังกลายเป็นสาเหตุให้ผู้ปกครองท้องถิ่นขัดแย้งกันจากการแย่งอาณาเขตและผู้คน  

Image

ทรงเห็นว่า “เขตพื้นเมืองอีสาน” มีดินแดนกว้างใหญ่ จึงปฏิรูปและจัดแบ่งการปกครองหัวเมืองชายพระราชอาณาจักรชั้นนอกขึ้นเป็น หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพถ่ายเก่าเมื่อปี ๒๔๔๙ ที่บ้านหินลาด แขวงเมืองขอนแก่น สะท้อนบรรยากาศความเป็นอยู่และการเดินทางของชนชั้นปกครองในพื้นที่อีสาน

Image

รวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก (จำปาศักดิ์) กับหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น “หัวเมืองลาวกาว” กินคลุมถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

Image

>  เขตแดนประเทศยังไม่ชัดเจน ฝรั่งเศสจะขยายเข้าไทยจึงมีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองอีสาน โดยรวม “หัวเมือง” ต่างๆ เข้าเป็น “มณฑล”  หัวเมืองลาวกลางเป็นมณฑลนคร-ราชสีมา, หัวเมืองลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน, หัวเมืองลาวพวนเป็นมณฑลอุดร ให้พระเจ้าน้องยาเธอสามพระองค์จากส่วนกลางไปเป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณในการปกครองแทนเจ้าเมืองเดิม

>  ๑ เมษายน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

>  ๑๕ มีนาคม เปิดที่ทำการไปรษณีย์เมืองจำปาศักดิ์ กรุงเทพฯ กับอีสานติดต่อกันทางโทรเลขได้ตั้งแต่นั้นมา

Image

>  มีนาคม ทหารฝรั่งเศสกับสยามปะทะกันในลาวใต้

>  กรกฎาคม ฝรั่งเศสส่งเรือรบเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาข่มขวัญสยาม

Image

>  ๓ ตุลาคม ลงนาม “สัญญาใหญ่” ซึ่งมีรายละเอียด ๑๐ ข้อ และ “สัญญาน้อย” หรืออนุสัญญา ๖ ข้อสาระสำคัญคือสยามยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส ส่วนราชการทั้งหมดต้องถอนข้ามโขงมาทางฝั่งขวา รวมทั้งยอมให้ฝรั่งยึดจันทบุรีไว้จนกว่าสยามจะปฏิบัติตามนัยแห่งสัญญานี้โดยตลอด ซึ่งได้คืนให้สยามในปี ๒๔๔๖ และสัญญาฉบับนี้ยังทำให้เกิดเขตปลอดทหารสยามในระยะ ๒๕ กิโลเมตรจากฝั่งขวาแม่น้ำโขง

Image

ภาพล้อเหตุการณ์
ร.ศ. ๑๑๒

Image

จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร มณฑลลาวกลางเป็นมณฑลนครราชสีมา

กองเกวียนเป็นพาหนะเชื่อมต่อระหว่างสถานีปลายทางกับเมืองต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่บนเส้นทางรถไฟ

Image

๙ พฤษภาคม กระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานเป็นครั้งแรกว่า มีผู้ “ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษ” ที่เมืองนคร-เสียมราฐ เขตรเขมร ชื่อองค์สวรรค์ อยู่ที่ปราสาทบ้านยาน กับเจ้าสาอยู่ที่นครธม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยสั่งให้จับตัว “ถ้าต่อสู้ไม่ยอมให้จับโดยดีให้จับโดยกำลัง ถึงจะตายก็ไม่เป็นไร สุดแต่ให้ได้ตัวเป็นประมาณ”

Image

ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง

Image

ตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ทำให้มีเมืองเก่าไม่กี่เมืองได้รับการยกฐานะเป็นเมืองตามระบบการปกครองใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพียงตำบล ขึ้นอยู่กับอำเภอ ยกเลิกการปกครองระบบ “กินเมือง” และเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร

Image

ข้าราชการยุคหลังปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ตามข้อมูลจากสํ า นักหอสมุดแห่งชาติระบุว่าภาพนี้ถ่ายที่เมืองกุสุมาลย์

Image

>  กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ออกประกาศเก็บ “เงินค่าราชการ” แก่ชายฉกรรจ์อายุ ๑๘-๖๐ ปี คนละ ๓.๕๐ บาทต่อปี และต่อมาปี ๒๔๔๔ เก็บเพิ่มเป็น ๔ บาท ตามพระราชบัญญัติเก็บเงินค่าราชการ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งกล่าวกันต่อมาว่าเรื่องการเก็บภาษีเป็นเงินนี้เอง ที่เป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกบฏผีบุญ

>  พระราชปรารภเปลี่ยนลักษณะการปกครองแผ่นดินแบบราชาธิปไตย (Empire) ที่ใช้มาแต่โบราณเป็นราชอาณาจักร (Kingdom) เลิกประเพณีเมืองประเทศราช การถวายต้นไม้ทองเงิน

Image

>  เปิดใช้ทางรถไฟกรุงเทพฯ-โคราช ย่นเวลาเดินทางจาก ๒๘ วัน เหลือไม่ถึง ๑ วัน สินค้าจากพระตะบองบรรทุกเกวียนมาขึ้นรถไฟส่งเข้ากรุงเทพฯ และขนสินค้าจากกรุงเทพฯ โดยเฉพาะน้ำแข็งขึ้นไป และจากโคราชสามารถต่อเรือกลไฟจากท่าช้าง ซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองไปทางตะวันออกราว ๒๐ กิโลเมตร ไปยังเมืองอุบลได้สะดวก

>  ช่วงปลายปี เริ่มเกิดกบฏผู้มีบุญ ประชาชนรวมตัวกันกว้างขวางหลายพื้นที่ในอีสาน

Image

ภาพถ่ายที่เมืองเสลภูมิ คราวสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการมณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งในเวลานั้นไม่มีใครพูดถึง “หินแฮ่” อีกแล้ว ต่างจาก ๔-๕ ปีก่อนหน้านั้น ที่ร่ำลือกันทั่วอีสานว่า หัวโล่เมืองเสล์ เป็นแหล่งหินแฮ่ใหญ่ที่สุด มีคนเดินทางมาหาเก็บวันละ ๔๐๐-๕๐๐ คน

Image

หลังปราบบุญจันและองค์มั่น รัฐบาลเริ่มวิตกและไม่ไว้ใจผู้ตั้งตนเป็นผู้วิเศษ เริ่มจับกุมปราบปรามเข้มงวด แม้ไม่ได้ก่อความรุนแรงและไม่ได้มีการกระทำต่างไปจากที่เคยเป็นก่อนหน้านั้น คือแค่เรื่องความเชื่อความศรัทธาของกลุ่มชาวบ้าน

การจัดกองทัพตามแบบตะวันตกและอาวุธสมัยใหม่ สยามได้นํามาใช้ในการปราบกบฏผีบุญเป็นครั้งแรก

Image

๑๓ กุมภาพันธ์ สยามเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองจำปาศักดิ์ มโนไพรและแขวงไชยบุรี  อาณาเขตหลวงพระบางฝั่งขวาให้แก่ฝรั่งเศส ตามสัญญา ร.ศ. ๑๑๒ เพื่อให้ถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี

Image

หลังปราบกบฏผีบุญ รัฐออกกฎหมายห้ามนับถือผี ถ้าจับได้ปรับ ๑๒ บาท หรือจำคุก ๑ เดือน

Image

๒๓ มีนาคม ยกพระตะบองเสียมราฐ ศรีโสภณ ที่เป็น “มณฑลบูรพา” ของสยามให้กับฝรั่งเศส

Image

ศาลากลางจังหวัดพระตะบองที่เคยขึ้นกับสยามก่อนเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
ภาพ : วีระศักร จันทร์ส่งแสง

Image

๑๐ มีนาคม ทำสัญญายกรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ให้แก่อังกฤษ ซึ่งเป็นการเสียดินแดนครั้งหลังสุด

Image

รัชกาลที่ ๖ ให้รวมมณฑลอุดร มณฑลอุบล มณฑลร้อยเอ็ด เป็นภาค “อีสาน”  

Image

ชาวบ้านวังพ้อ แขวงเมืองสกลนคร คนลาวพื้นเมือง ซึ่งกลายเป็นคนไทยอีสาน หลังการผนวกดินแดน

Image