240 ปี
มหานครในความเปลี่ยนแปลง

กรุงเทพมหานคร 
อมรรัตนโกสินทร์ 
มหินทรายุธยา 
มหาดิลกภพ 
นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ 
อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน
อมรพิมานอวตารสถิต
สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์

Image

แผนที่กรุงเทพฯ ปี ๒๓๖๗ จาก Embassy to Siam ของ จอห์น ครอว์เฟิร์ด

Image

จากสายตาชาวตะวันตกที่เดินทางมาค้าขาย สะท้อนภาพเมืองหลวง “บางกอก” ในปี ๒๓๖๗ หลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ๔๒ ปี ว่ายังเป็นชุมชนเรือนแพที่อยู่ริมแม่น้ำ มีพระราชวังเป็นศูนย์กลางเมือง มีคลองล้อมรอบ

๒๔๐๐-๒๔๑๐

scrollable-image

ชุมชนเรือนแพริมน้ำและเรือสินค้า ๑๐๐ ลำในแม่น้ำเจ้าพระยาจอดลอยลำตั้งแต่ท่าเตียนถึงคลองสาน ปลายปี ๒๔๐๗

Image

เกาะน้อยที่เคยมีอยู่หน้าวัดอรุณราชวราราม 

Image

ภาพถ่ายจากหอกลอง มองเห็นถนนสนามไชย ซ้ายมือคือเขตพระบรมมหาราชวังและวัดโพธิ์ ขวามือคือหัวถนนเจริญกรุง

อ้างอิง : หนังสือ ภาพมุมกว้างของกรุงเทพมหานครในสมัยรัชกาลที่ ๔ : การค้นพบใหม่ โดย พิพัฒน์ พงศ์รพีพร สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

แผนที่กรุงเทพฯ
๒๔๓๙

ชุมชนและบ้านเมืองกระจุกตัวอยู่บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านสำเพ็งชุมชนชาวจีน และสถานทูตชาวตะวันตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางใต้ นอกนั้นยังเป็นที่นา ที่ไร่ สวนผลไม้ มีคลองมากมายเข้าถึง
(จัดทำโดยกรมแผนที่ หนังสือ แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๔)

แผนที่กรุงเทพฯ
๒๔๗๔

บ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย จุดและเส้นสีแดงคือถนน ทางคนเดิน และสิ่งก่อสร้างที่เป็นคอนกรีต แผ่กระจายผสมปนเป จุดสีดำซึ่งหมายถึงสิ่งก่อสร้างด้วยไม้พื้นที่สีเขียวหมายถึงสวน นา และสนามหญ้า และสีเหลืองคือพื้นที่ทำนา
(จัดทำโดยกรมแผนที่ หนังสือ แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๔)

๒๔๔๐-๒๔๕๐

กรุงเทพฯ พลิกโฉมหน้าตาเป็นเมืองใหม่อย่างตะวันตก ศูนย์กลางของการปกครองที่เต็มไปด้วยกิจการค้าขายและการให้บริการต่าง ๆ อาคารห้องแถวสองชั้นขึ้นตลอดสองฝั่งถนน เริ่มมีรถราง รถยนต์ ขณะที่ชุมชนตามริมแม่น้ำก็ยังคงอยู่

Image

สะพานหันในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างให้มีร้านขายของบนสะพานแบบสะพานริอัลโต เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี

 ชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา

Image

ชาวบ้านมุงดูขบวนรถของเจ้านายบนถนนราชดำเนิน

Image

ชาวบ้านและร้านค้าในย่านสำเพ็ง

Image

 รถลากและรถรางบนถนนมหาไชย
(ภาพ : หนังสือ ประชุมภาพเมืองไทยและหนังสือ รำลึกร้อยปี กรุงเทพมหานคร)

๒๔๘๐-๒๔๙๐

จากภาพถ่ายโดย ฟรันซิส จิต ในปี ๒๔๐๗-๒๔๐๘ แสดงถึงบ้านเมืองริมน้ำที่เจริญและหนาแน่นขึ้น อาคารบ้านเรือนและวัดที่ขยายตัวเข้าไปในแผ่นดิน ถนนรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังที่โอ่อ่ากว้างขวาง ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของชุมชนเมืองและถนนหนทางไปทางทิศตะวันออกยังเห็นได้ชัดเจนบนแผนที่มณฑลกรุงเทพสยาม ในอีก ๓๐ ปีต่อมา (ปี ๒๔๔๔)

Image

ความเจริญเติบโตของเมืองหลวงปรากฏเด่นชัด อาคารสูงหลายชั้นกับบ้านเรือนที่ปลูกสร้างติดกันอย่างหนาแน่น รถราแล่นตามถนน และปรากฏการณ์น้ำท่วมปี ๒๔๘๕ ที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เมืองเข้ามาครอบครองพื้นที่ธรรมชาติดั้งเดิม

Image

 แผนที่มณฑลกรุงเทพสยาม ปี ๒๔๔๔ จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ทหาร

Image
Image

อ้างอิง : หนังสือ ประชุมภาพเมืองไทย โดย เอนก นาวิกมูล สำนักพิมพ์สายธาร

๒๕๑๐-๒๕๒๐

หลังปี ๒๕๑๐ ประเทศไทยเริ่มเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ชนชั้นกลางขยายตัว คนต่างจังหวัดมุ่งหน้ามาหากินในเมืองหลวง กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของทั้งความเจริญและความเสื่อมโทรม อาคารคอนกรีตแทนที่บ้านไม้อาคารเก่า ถนน รถยนต์แทนที่คลองและเรือ
ภาพ : ศูนย์ข้อมูลสารคดี-เมืองโบราณ

Image

แผนที่กรุงเทพฯ ในหนังสือ ผังเมืองหลวง โดย ยรรยง จรียภาพ พิมพ์เมื่อปี ๒๕๑๓

สนามหลวงที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นตลาดนัดกลางเมือง มีของขายสารพัดและตลาดหนังสือเก่า

Image

Image
Image

Image
Image

Image

ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์บนถนนราชดำเนิน

Image

คลองในเมืองหลวงที่เคยเน่าจนเป็นฟองขาวลอยฟ่อง

Image

Image
Image

Image
Image

Image

ความคึกคักของย่านท่าเตียน และโรงแรมดุสิตธานีสูงหลายสิบชั้นซึ่งเคยเป็นหมุดหมายความเจริญของมหานคร 

Image