ชื่อบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อเข้าร่วมขบวนการ แต่ละคนอาจมีหลายชื่อ เปลี่ยนไปตามการเคลื่อนย้ายพื้นที่เขตงานหรือเปลี่ยนงานที่ทำ
ข้อเรียกร้องต่อชีวิตส่วนตัวของนักปฏิวัติ “ถ้ายังไม่มีแฟนอย่าเพิ่งมี ถ้ามีแล้วอย่าเพิ่งแต่งงาน ถ้าแต่งงานแล้วอย่าเพิ่งมีลูก” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทุ่มเทให้แก่การปฏิวัติอย่างเต็มที่
สีประจำพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นคอมมิวนิสต์ เช่น พวกแดง พื้นที่สีแดง เป็นแดง จีนแดง ฯลฯ
เขตยึดครองของคอมมิวนิสต์ เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเข้าถึงได้
ที่ตั้งหน่วยย่อย ที่มีภารกิจตามโครงสร้างงาน เช่น ทับหมอ ทับงานมวลชน ทับศิลปิน ทับทหาร
การจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ร่วมขบวนการ คอมมิวนิสต์ ตามแนวทางที่ว่า “บุคคลขึ้นต่อองค์กรจัดตั้ง ส่วนน้อยขึ้นต่อส่วนมาก ชั้นล่างขึ้นต่อชั้นบน ทุกส่วนขึ้นต่อศูนย์กลาง” ผู้ที่ปฏิบัติการจัดตั้งก็มักเรียกว่า “จัดตั้ง” ด้วย
กำเนิดจากปรัชญาลัทธิมาร์กซ์ ที่มีอุดมการณ์ในการสร้างสังคมใหม่ที่มีความเท่าเทียม โดยชนชั้นกรรมาชีพเป็นแกนนำการปฏิวัติ กวาดล้างการกดขี่เอารัดเอาเปรียบให้หมดสิ้นไป ต่อมา วลาดีมีร์ เลนิน นักปฏิวัติชาวรัสเซีย เสนอว่าการปฏิวัติจะประสบความสำเร็จได้ ชนชั้นกรรมาชีพต้องจัดตั้งพรรคของตนขึ้นมานำการต่อสู้ เขาจึงตั้งพรรคบอลเชวิกขึ้นในปี ๒๔๔๖ ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก หลังจากบอลเชวิกสามารถปฏิวัติรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ
ยุทธวิธีการรบของ พคท. ที่ เปลื้อง วรรณศรี กรองขึ้นใหม่จาก “เข็มมุ่ง” ๑๖ คำ ของประธานเหมาเจ๋อตงที่บอกว่า ข้าศึกรุกเราถอย ข้าศึกพักเรากวน ข้าศึกเพลียเราตี ข้าศึกหนีเราไล่ เน้นการเตรียมการที่รัดกุมและมักไม่เป็นฝ่ายลงมือก่อน
สรรพนามนำหน้าชื่อของชาวคอมมิวนิสต์ บ่งบอกความเท่าเทียมเสมอภาคโดยไม่แยกเพศหรือวัย รวมทั้งใช้เรียกแบบรวมหมู่ว่า สหายนำ สหายหญิง สหายชาย สหายนักศึกษา สหายชาวนา มักใช้ในวาระที่เป็นทางการ เช่นการกล่าวสุนทรพจน์ แต่ในทางปฏิบัติ หมู่สหายที่สนิทสนมกันมักใช้คำว่า “คุณ” นำหน้าชื่อมากกว่า และเรียกสหายนำรุ่นอาวุโสที่เป็นผู้ชายแบบไทยๆ ว่า “ลุง” เรียกสหายอาวุโสที่เป็นสตรีว่า “ป้า”
พื้นที่ที่ยังเคลื่อนไหวแย่งชิงกันอยู่ ไม่เป็นเขตยึดครองของฝ่ายใดแบบเด็ดขาด
แนวคิดของประธานเหมาเจ๋อตงในการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์การเมืองของจักรวรรดินิยม นำเสนอครั้งแรกในปี ๒๕๑๗ โดยแบ่งประเทศต่างๆ ในโลกออกเป็นสามกลุ่ม
- สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เป็นโลกที่ ๑
- ญี่ปุ่น แคนาดา และยุโรป เป็นโลกที่ ๒
- จีนกับทุกประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นโลกที่ ๓
ซึ่งต้องร่วมกันต่อต้านการทำลายและการปล้นชิงจากสองประเทศมหาอำนาจโลกที่ ๑
ความลับที่ปกปิดไว้ถูกรู้เห็น เช่น ที่อยู่ หรือเขตงานถูกเปิดเผย หรือการถูกเปิดเผยตัวจริงจากที่ใช้ชื่อจัดตั้ง
องค์การคอมมิวนิสต์สากล (Communist International
Comintern) องค์กรกลางของโลกคอมมิวนิสต์ ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๖๒ ที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปฏิวัติทั่วโลก ตอนหลังยุบเลิกไปเมื่อปี ๒๔๘๖
ในความหมายของคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่แค่พื้นที่ป่าเขา แต่รวมถึงเขตงานในที่ราบ ที่เป็นหมู่บ้าน ทุ่งนา ป่าละเมาะ โรงพยาบาล โรงเรียน ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์
แผนการเข้ายึดอำนาจรัฐโดยสร้างฐานที่มั่นในเขตชนบทให้เข้มแข็งแล้วลุกฮือเข้ายึดเมือง ดำเนินการผ่าน สี่ขั้นตอน หนึ่ง สร้างฐานที่มั่นตามป่าเขาเป็น “เขตปลดปล่อย” ที่ปราศจากเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากการกวาดล้าง สอง ยึดหมู่บ้านเป็นพื้นที่จรยุทธ์ ทำสงครามตามแบบและนอกแบบอย่างเปิดเผย ขยายการครอบครองพื้นที่ตั้งแต่หมู่บ้านจนถึงศูนย์กลาง ตามยุทธศาสตร์ป่าล้อมบ้าน-บ้านล้อมเมือง-เมืองล้อมนคร ของคอมมิวนิสต์จีน สาม จัดตั้งรัฐบาลปลดแอกขึ้นปกครองพื้นที่ยึดครอง และสี่ ทำสงครามกลางเมือง ล้มล้างรัฐบาลเดิม ใช้ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ทั้งประเทศ
หรือกองโจร เป็นการทำสงครามนอกแบบที่ฝ่ายด้อยกำลังกว่าใช้ต่อสู้กับฝ่ายที่เหนือกว่า โดยอาศัยความได้เปรียบด้านภูมิประเทศและมวลชน เคลื่อนไหวแบบไม่ตั้งฐานติดที่ ใช้ยุทธวิธีซุ่มโจมตี เลี่ยงการปะทะแบบเผชิญหน้า
ปฐมบทของสงครามกองโจรตามที่มีการบันทึกไว้บอกว่าหน่วยทหารสเปนเคยใช้รูปแบบสงครามกองโจรต่อสู้กองทัพของนโปเลียน เช่นเดียวกับที่พวกโบเออร์ในแอฟริกาใต้ใช้ยุทธวิธีนี้สู้กับกองทัพอังกฤษ ซึ่งผู้สันทัดกรณีด้านสงครามตั้งข้อสังเกตว่า สงครามกองโจร “มักจะนำไปสู่การรบที่ยืดเยื้อเสมอ และในระยะนี้เองกองทัพรุกรานที่ต่อสู้กับสงครามกองโจรจะได้รับความพินาศขนาดย่อม และเกิดเหตุการณ์ที่น่าสลดใจขึ้นทีละน้อยอยู่เรื่อยไป”
แนวทางเคลื่อนไหวของสายงาน พคท. ในเมือง คือรอโอกาสให้กองทัพ ทปท. จากชนบทมาปลดปล่อยเมือง ตามแบบกองทัพแดงปลดปล่อยจีน ไม่ใช่ให้ในเมืองลุกฮือขึ้นก่อน เพราะเสี่ยงต่อการถูกปราบปรามจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก