Image

ภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรม
ความสำคัญ
ของสิ่งที่จับต้องไม่ได้

scoop

เรื่อง : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (intangible cultural heritage) ครั้งที่ ๑๖ สำนักงานใหญ่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา นาฏศิลป์ในภาคใต้ของประเทศไทย (Nora, dance drama in southern Thailand)” ให้เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” ลำดับที่ ๓ ของไทยต่อจาก “โขน ละครรำสวมหน้ากาก (Khon, masked dance drama in Thailand)” ปี ๒๕๖๑ และ “นวดไทย การนวดแผนไทย (Nuad Thai, traditional Thai massage)” ปี ๒๕๖๒

Image

ย้อนเวลากลับไปในปี ๒๕๖๑ “โขล” กัมพูชา ที่เรียกว่าลครโขลวัดสวายอันเด็ต (Lkhon Khol Wat Svay Andet) ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนด้วยในปีเดียวกัน โดยได้รับการลงมติก่อนโขนไทย ๑ วัน

แม้จะมีรายละเอียดทางวัฒนธรรมแตกต่าง สะกดไม่เหมือนกัน แต่การเสนอขึ้นทะเบียนแล้วผ่านการลงมติในเวลาไล่เลี่ยกันก็นำไปสู่ข้อถกเถียงตามมามากมาย จนปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิด “ดรามา” ขึ้นระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ ที่ร่วม

วงถกเถียงทวงถามถึงสถานะความเป็นเจ้าของโขนและโขล

แท้จริงแล้วมรดกทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่นี้เป็นของใคร ?


โขนไทยกับโขลกัมพูชาต่างกันตรงไหน ? เป็นหุ้นส่วนหรือคู่แข่งขัน ?


ที่สำคัญคือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติคืออะไร ?


คุณค่าและความสำคัญของ “สิ่งที่จับต้องไม่ได้” เหล่านี้ 
อยู่ตรงไหน ?

Image