“ตามหาสังข์ทอง
ไปเจอบ้องกัญชา”
เรื่องและภาพ : นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
หนุ่มสูบกัญชาในจิตรกรรม รามเกียรติครูเลิศ พ่วงพระเดช ครูช่างใหญ่เมืองเพชรบุรีเขียนภาพนี้ไว้ที่ระเบียงวัดพระแก้ว ช่วงฉลอง ๑๕๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
ภาพ : เอนก นาวิกมูล
วรรณคดี สังข์ทอง กับดิฉันดูจะมีความผูกพันกันอย่างประหลาด เหนื่อยๆ หน่ายๆ เบื่อโลกคราใด หยิบมาพลิกอ่านตอนนั้นตอนนี้ เปิดไป อ่านไป เบาใจ ชื่นมื่นอารมณ์ขึ้นมาทันที
อ่านวรรณคดีไทยโบราณมาก ๆ เข้า หลายสิบปีมาแล้วดิฉันพบความจริงว่า วรรณคดีที่เจ้านายพระมหากษัตริย์เขียนอย่าง สังข์ทอง กับ ไกรทอง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ ทั้งพระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์เอง และมีพระราชโอรสเป็นกษัตริย์อีกสองพระองค์ รวมทั้งมีหน่อเนื้อเป็นกษัตริย์สืบต่อมาถึงรัชกาลปัจจุบัน ท่ามกลางแวดวงนางในเต็มพระราชวัง พระองค์ได้ทรงพระกรุณาบันทึกความจริงอย่างหนึ่งไว้คือ
“บทด่า” ของเมียหลวงเมียน้อยใน ไกรทอง หยาบคายหยาบช้าดุเด็ดเผ็ดมันยิ่งกว่าวรรณคดีไพร่บ้าน ชาวบ้านเขียนอย่าง ขุนช้างขุนแผน ไม่รู้กี่เท่า !
เจอบ้องกัญชา
เมื่อปี ๒๔๕๘ ที่เตี่ยป้าซิวเฮียงอพยพจากเกาะไหหลำมาอยู่เมืองเพชรบุรี ศาลเจ้าแม่ทับทิมกับกรอบภาพสลักไม้ชิ้นนี้ก็มีอยู่แล้ว
ดังนั้นภาพสลักไอ้หนุ่มเลี้ยงควายหั่นกัญชา ประคองบ้องกัญชา จึงมีอายุเวลายาวนานกว่า ๑๐๐ ปีแน่ ๆ น่าจะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ หรือก่อนหน้านั้น ภาพสลักนี้พบอยู่กลางเมืองเพชรบุรี แผ่นดินปลูกกัญชาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ดังปรากฏหลักฐานในรายงานประจำปีศก ๑๑๗ ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ที่กล่าวไว้ในหมวดที่ ๕ ว่าด้วยการค้าขาย ความว่า