เรียบเรียง : ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง
ค.ศ. ๑๘๕๗
Phonautograph
โฟโนโตกราฟ
เอดูอาร์-เลอง สก็อต เดอ มาร์แต็งวีล นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส สร้างอุปกรณ์รูปทรงกระบอกกรวยที่จำลองโครงสร้างภายในหู ปลายกรวยมีไดอะแฟรมยึดติดหัวเข็มทำจากขนหมูอย่างแข็งทำหน้าที่บันทึกคลื่นเสียง แต่ยังเล่นซ้ำไม่ได้
ค.ศ. ๑๘๗๗
Phonograph /
Tinfoil Phonograph
โฟโนกราฟ
โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน สร้างอุปกรณ์บันทึกเสียงจากปูนปลาสเตอร์ทรงกระบอกกลวง หุ้มด้วยแผ่นดีบุกบาง ๆ ติดแกนหมุน มีไดอะแฟรมติดเข็มเหล็กตรงปลายเพื่อบันทึกร่องเสียงโดยจะเล่นซ้ำได้ไม่กี่ครั้ง หากก็นับว่านี่เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก
(เจ้าของเครื่อง : พฤฒิพล ประชุมผล)
ค.ศ. ๑๘๘๖
Graphophone
กราโฟโฟน
บริษัทวอลตาแห่งสหรัฐอเมริกา พัฒนากระบอกเสียงโดยเปลี่ยนแผ่นดีบุกเป็นขี้ผึ้งแข็งที่ทำให้การบันทึกเสียงดีและนานขึ้น มีอายุการใช้งานมากกว่าเดิม
(เจ้าของเครื่อง : พฤฒิพล ประชุมผล)
ค.ศ. ๑๘๙๐
Gramophone
กราโมโฟน
เอมิล เบอร์ลิเนอร์ นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ริเริ่มบันทึกเสียงลงบนวัสดุแบนราบแทนวัสดุทรงกระบอกโดยเครื่องแรกที่ผลิตจะวางแผ่นในแนวตั้ง และกลายเป็นต้นแบบของเครื่องเล่นแผ่นเสียง
(เจ้าของเครื่อง : พฤฒิพล ประชุมผล)
ค.ศ. ๑๘๙๕
Triumphone
ไทรอัมโฟน
กระบอกเสียงออกแบบลำโพงเป็นทรงกรวย (conical horn style) นับเป็นการออกแบบรูปลักษณ์ที่สวยงามแบบคลาสสิก และต่อยอดการออกแบบให้สวยงามหลากหลาย
(เจ้าของกระบอกเสียง : บ้านพิพิธภัณฑ์ ๒)
ค.ศ. ๑๙๓๐
Radiogram
เรดิโอแกรม
ความนิยมของเครื่องเล่นแผ่นเสียงทำให้เกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นการออกแบบรวมระหว่างวิทยุและเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ค.ศ. ๑๙๕๕
Philco
รุ่น TPA-1
บริษัทฟิลโกแห่งสหรัฐอเมริกาผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงพกพาที่ขยายสัญญาณด้วยระบบทรานซิสเตอร์เป็นครั้งแรก บรรจุในกล่อง มีตัวขยายสัญญาณและลำโพงในตัว
ค.ศ. ๑๙๗๒
Technics
รุ่น SL-1200
บริษัทมัตสุชิตะ อิเล็คทริค (ต่อมาคือพานาโซนิค) ในญี่ปุ่นผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบขับเคลื่อนด้วยแรงจากมอเตอร์โดยตรง มีการออกแบบเรียบง่ายสวยงาม เป็นที่นิยมใช้โดยเฉพาะวงการดีเจ จากการมีตัวควบคุมความเร็วของเพลงได้
(เจ้าของเครื่อง : ห้องสมุดแผ่นเสียง กรมประชาสัมพันธ์)
ค.ศ. ๑๙๗๒
Linn
รุ่น Sondek LP12
บริษัทลินน์โปรดักส์ในสกอตแลนด์ ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่พัฒนาด้วยแนวคิดใส่ใจทุกส่วนของวัสดุและลดแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าระบบเครื่องเสียงต้องดีตั้งแต่ต้นทาง
ค.ศ. ๒๐๑๖
Sony
รุ่น PS-HX500
บริษัทโซนี่ในญี่ปุ่นผลิตและวางจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียงแปลงเสียงจากแผ่นเป็นไฟล์ดิจิทัลความละเอียดสูง
ค.ศ. ๑๙๖๕
Mattel-O-Phone
บริษัทแมตเทล ผู้ผลิตของเล่น ได้ออกเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนาดเล็กในรูปแบบโทรศัพท์แบบหมุน เล่นได้กับแผ่นเสียงขนาด ๔ นิ้วเท่านั้น
ค.ศ. ๑๙๗๐
Circa 711
การเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกของมนุษยชาติทำให้เกิดกระแสการออกแบบสินค้าในรูปลักษณ์ของโลกอนาคต ดังเครื่องเล่นแผ่นเสียงจากแคนาดา
ค.ศ. ๑๙๘๐
Columbia
SE¯7M
เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบพกพาลายการ์ตูนแพนด้า มาพร้อมช่องเสียบไมโครโฟนให้ร้องตามแผ่นที่เปิดได้
ค.ศ. ๑๙๘๓
AT727
Sound Burger
เครื่องเล่นแผ่นเสียงพกพา บริษัท ออดิโอ¯เทคนิกา วางขายที่ญี่ปุ่น ตั้งชื่อจากรูปร่างที่ประกบกันคล้ายแฮมเบอร์เกอร์ ยาวเพียง ๒๙ เซนติเมตร หนัก ๙๐๐ กรัมเท่านั้น
ค.ศ. ๑๘๘๘
กระบอกเสียง
เอดิสันพัฒนากระบอกเสียงในเชิงการค้าหลายชิ้น โดยเฉพาะแอมเบอรอล (Amberol) ผลิตจากขี้ผึ้งแข็ง (wax cylinder) บันทึกเสียงและเล่นกลับได้ถึง ๒ นาทีต่อกระบอก
(เจ้าของกระบอกเสียง : พฤฒิพล ประชุมผล)
ค.ศ. ๑๘๙๑
แผ่นครั่ง
เอมิล เบอร์ลิเนอร์ พัฒนาการผลิตแผ่นเสียงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้วัสดุนิกเกิลผสมทองแดงนำมาตีเป็นแผ่นบางเคลือบด้วยเชลแล็ก ทำให้เกิดคุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น
(เจ้าของแผ่นเสียง : บ้านพิพิธภัณฑ์ ๒)
ค.ศ. ๑๙๓๑
แผ่นไวนิล
บริษัทค่ายเพลงอาร์ซีเอ วิกเตอร์ เปิดตัวแผ่นเสียงที่ผลิตจากพอลิไวนิลคลอไรด์เพื่อวางขายเป็นครั้งแรก ทำการตลาดด้วยชื่อแผ่นเสียง "Program-Transcription"
ข้อมูลและภาพจาก : zstereo.co.uk, cylinders.library.uscb.edu, loc.gov, collection.sciencemuseumgroup.org.uk, dustandgrooves.com, discogs.com, whathifi.com
ค.ศ. ๑๙๔๘
แผ่น LP
บริษัทค่ายเพลงโคลัมเบีย เร็กคอร์ดส์ เปิดตัวแผ่น long playing ขนาด ๑๒ นิ้ว เล่นเพลงได้นานถึง ๔๕ นาที กลายเป็นมาตรฐานของการออกอัลบัมเพลงในเวลาต่อมา
ค.ศ. ๑๙๗๑
Picture Disc
แผ่นที่พิมพ์ภาพลงบนแผ่นเสียงซึ่งแผ่นพิมพ์ภาพสมัยใหม่แผ่นแรก ๆ คืออัลบัม Air Conditioning ของวง Curved Air
ค.ศ. ๑๙๗๙ เป็นต้นมา
Shaped Disc
แผ่นรูปทรงอื่น ๆ นอกจากวงกลม เริ่มต้นจากแผ่นทรงแปดเหลี่ยมในซิงเกิล “Georgy Porgy” ของวง Toto หรือแผ่นซิงเกิล “Warsaw in the Sun” ของวง Tangerine Dream ใน ค.ศ. ๑๙๘๔ เป็นรูปแผนที่ประเทศโปแลนด์