การเดินทางของ
"งานเขียนสารคดี" (ภาษาไทย)
ในสังคมไทย
40 Years of Storytelling
รวบรวม :สุเจน กรรพฤทธิ์
Image
Image
• คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

• ปรากฏหนังสือชื่อ สารคดี THE KNOWLEDGE ฉบับพิเศษ วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๔๗๕ มีเนื้อหารายงานสถานการณ์ที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการจัดพิมพ์หลังจากนั้นอีก ในตัวนิตยสารฉบับนี้ระบุว่าจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์เจตนาผล ถนนตรีเพ็ชร์ เจ้าของคือนางสำเนียง พะยุงพงศ์ บรรณาธิการคือนายฮกเหล็ง สันตนิรันดร์ สำนักงานอยู่ที่ ๑๐๓๐ ถนนนามบัญญัติ พระนคร วางขายในราคา ๕ สตางค์

Image
Image
หนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ ตีพิมพ์งานเขียนสารคดีการเมืองของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เรื่อง “เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕” โดยลงเป็นตอนทั้งหมด ๑๖ ตอน ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้นตอบโต้ด้วยรายการวิทยุในรูปแบบการสนทนาของนายมั่น ชูชาติ กับนายคง รักไทย จนเกิดวิวาทะระหว่างทั้งสองฝ่าย อาจถือได้ว่านี่เป็นงานเขียนสารคดีเรื่องแรกที่ส่งผลสะเทือนทางการเมือง
Image
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ 
ทำรัฐประหาร รัฐบาล
พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 

Image
Image
• จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม

• “ถ้าผู้ใดจะคิดว่าเป็นการหากินอย่างหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าก็จะขอเป็นพยานให้ว่าหนังสือ (ประเภท) สารคดีนั้น เวลานี้ยังไม่มีราคาค่าตัวถึงพอกินเลยและผู้พิมพ์ก็ไม่ยกย่องเท่าเทียมกับเรื่องอ่านเล่นด้วย เพราะฉะนั้น ผู้เขียนเรื่องสารคดีจึงได้รับความพอใจแต่เพียงเห็นหนังสือของตัวเป็นเล่มแล้วเท่านั้น” (หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เขียนคำนิยมในหนังสือ แลไปข้างหลังของ “ส. พลายน้อย” นักเขียนสารคดีอาวุโสถึงสถานการณ์ของงานเขียนประเภทสารคดีในช่วงกึ่งพุทธกาล)

Image
Image
อนุสาร อ.ส.ท. นิตยสารรายเดือนขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย-ททท.) ตีพิมพ์ฉบับแรกในเดือนสิงหาคม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศตามนโยบายรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์  เป็นนิตยสารแรกที่ทำให้ผู้อ่านรู้จัก “งานเขียนสารคดีแนวท่องเที่ยว” ทั้งยังส่งผลให้เกิดนิตยสารประเภทนี้โดยภาคเอกชนต่อมาอีกหลายหัว
Image
Image
งานเขียนประเภทสารคดีหาอ่านได้ทั่วไปในนิตยสารบนแผงหนังสือยุคนี้ เช่น ชาวกรุง ชัยพฤกษ์ ดรุณสาร สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฟ้าเมืองทอง ฯลฯ
Image
Image
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ
Image
เหตุการณ์ ๖ ตุลาฯ
Image
สุชาดา จักรพิสุทธิ์ นักศึกษาสาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ทำสารนิพนธ์จบการศึกษา “การดำเนินงานเพื่อจัดทำนิตยสารใหม่(ศึกษากรณีนิตยสาร ‘สารคดี’)” เพื่อเตรียมออกนิตยสารรายเดือน นำเสนองานเขียนและงานถ่ายภาพสารคดีอย่างจริงจัง โดยร่วมกับทีมงานที่ใช้เวลาตลอดปีนี้เตรียมสต๊อกเรื่องและภาพ
Image
เดือนกุมภาพันธ์ นิตยสาร สารคดี รายเดือน วางแผงฉบับแรก โดยปกเป็นภาพพลุ
Image
Image
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. เป็นสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่เริ่มสอนวิชา “การเขียนสารคดี” ก่อนมหาวิทยาลัยอื่นจะเริ่มทยอยเปิดสอนรายวิชานี้ในเวลาต่อมา
Image
Image
๖ กุมภาพันธ์ 
ในโอกาสครบรอบ ๒ ปี นิตยสาร สารคดี ร่วมกับคณะวารสารฯ มธ. จัดนิทรรศการ “วันสารคดี” เพื่อบอกถึงคุณค่าและความหมายของงานสารคดี โดยนิยามความหมายงานเขียนประเภทนี้ว่า “สารคดีคือรอยต่อของวิชาการและวรรณกรรม...เป็นรูปแบบการเขียนและรสชาติการอ่านที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสาระความรู้ทางวิชาการและสุนทรียรสทางอารมณ์แบบวรรณกรรม”

Image
เหตุการณ์พฤษภาเลือด ๒๕๓๕
Image
Image
เดือนกรกฎาคม
นิตยสาร Advanced Thailand Geographic ออกจำหน่ายเป็นฉบับแรก

Image
Image
• งานเขียนประเภทสารคดีเป็นคอลัมน์ส่วนหนึ่งของเซกชัน หนังสือพิมพ์รายวันหลายหัว เช่น ประชาชื่น (มติชน), จุดประกาย (กรุงเทพธุรกิจ), ปริทรรศน์ (ผู้จัดการรายวัน) เป็นต้น

• ปรากฏการจัด “อบรมการเขียนสารคดี” โดยภาคเอกชนหลายแห่งมีการมอบรางวัลให้งานเขียนสารคดีโดยองค์กรต่าง ๆ เช่น จุดประกาย Features Awards (กรุงเทพธุรกิจ), นายอินทร์อะวอร์ด (บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง), รางวัลลูกโลกสีเขียว (บริษัท ปตท. จำกัด), รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด (บริษัทซีพี ออลล์ จำกัด), รางวัลแว่นแก้ว (บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด), รางวัลพิราบน้อย (สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)

Image
เดือนกันยายน 
นิตยสาร อะเดย์ (a day)
วางแผงครั้งแรก

Image
Image
เดือนสิงหาคม นิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทยวางแผงครั้งแรก
Image
Image
• เฟซบุ๊กเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

• สารคดี จัด “ค่ายสารคดี” อบรมการเขียนสารคดีเป็นปีแรก

Image
Image
คณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ (คมช.)
ทำรัฐประหาร รัฐบาล
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

Image
คณะกรรมการรางวัลซีไรต์ เริ่มพิจารณาการให้รางวัลงานเขียนประเภทสารคดี โดยมีเงื่อนไขใส่วงเล็บว่า “สร้างสรรค์” ต่อท้ายชื่อรางวัล แต่ถูกคัดค้านจากแวดวงนักเขียนสารคดี เพราะมองว่างานสารคดีมีชั้นเชิงการนำเสนออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เงียบไปในที่สุด
Image
• สารคดี เปิดช่องทางเฟซบุ๊กและช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อ่าน

• รัฐบาลประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โดยคำว่า “สารคดี” เป็นส่วนหนึ่งของคำอธิบายสาขาตามที่ปรากฏในข่าวว่า (เรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์) 

Image
Image
• เดือนกุมภาพันธ์ ครบรอบ ๒๕ ปี นิตยสาร สารคดี จัดนิทรรศการ ภาพถ่ายสารคดี บันทึก ๒๕ ปีประเทศไทย จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และมอบรางวัล “สารคดีเกียรติยศ” แด่ เอนก นาวิกมูล นักเขียนสารคดี และผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สังคมไทย (ยังไม่มีการมอบรางวัลให้ใครอีก)

• เหตุการณ์ล้อมปราบ พฤษภา’๕๓

• สมบัติ พลายน้อย (นามปากกา “ส. พลายน้อย”) นักเขียนสารคดีอาวุโสได้รับการประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มีวงเล็บต่อท้ายอธิบายสาขาว่า “(สารคดี, เรื่องสั้น)”

Image
• รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

• เริ่มยุคเสื่อมถอยของนิตยสารกระดาษ สื่อรายสัปดาห์และรายเดือนเริ่มย้ายแพลตฟอร์มสู่ออนไลน์

Image
ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ธีรภาพ โลหิตกุล เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี) เป็นครั้งแรกที่นักเขียนสารคดีอาชีพ ได้รางวัลนี้ โดยมีคำอธิบายสาขาอย่างชัดเจนว่าเป็นงานสารคดี
Image
Image
สารคดี เปิดตัว Sarakadee Lite ในรูปแบบเฟซบุ๊กเพจ และเว็บไซต์ เพื่อสื่อสารกับคนรุ่นใหม่
Image
Image
• ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ เอนก นาวิกมูล และ อรสม สุทธิสาคร สองนักเขียนสารคดีเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

• การประท้วงของเยาวชนรุ่นโบขาวต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

Image
Image
นิตยสาร สารคดี 
ย่างเข้าสู่ปีที่ ๔๐

Image
อ้างอิง
“๒๑ คนทำสารคดี”. สารคดี ฉบับที่ ๒๔๑ มีนาคม ๒๕๔๘.
“๒๕ ปี สารคดี”. สารคดี ฉบับที่ ๓๐๑ มีนาคม ๒๕๕๓.

กุหลาบ สายประดิษฐ์. (๒๕๕๗). เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

“จากปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๒๐ ของนิตยสาร สารคดี กับภาพถ่ายของ ๒๐ ช่างภาพสารคดี”. สารคดี ฉบับที่ ๒๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗.

https://data.boonmeelab.com/thaimagazine/