Image
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
2423-2466
๑๐๐ ปี วันสิ้นพระชนม์ 
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
๒๔๖๖-๒๕๖๖
เรื่อง : ศรัณย์ ทองปาน
ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี
๒๔๒๓
- พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ประสูติ (๑๙ ธันวาคม)
- เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธประสูติ (๑ มกราคม)
ราว ๒๔๒๘
พระองค์เจ้าอาภากรฯ เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
๒๔๓๒
โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าอาภากรฯ เสด็จแทนพระองค์ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลหลายครั้ง
๒๔๓๔
พระองค์เจ้าอาภากรฯร่วมพิธีไหว้ครูรำอาวุธที่เกาะสีชัง (๑๐ สิงหาคม)
๒๔๓๖
- วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (กลางเดือนกรกฎาคม)
- สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธกรมขุนเทพทวาราวดีและพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กราบถวายบังคมลาไปศึกษาต่อในยุโรป (๒๐ สิงหาคม)
- เสด็จถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (พฤศจิกายน)
๒๔๓๗
- สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดีเป็นสยามมกุฎราชกุมาร (มกราคม)

- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (๑๕ มีนาคม)
Image
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
๒๔๓๘
พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนกินนอนเดอะไลมส์ (The Limes) (ตุลาคม)
๒๔๔๐
- รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเดินทางย้อนมายังเกาะลังกา เพื่อเริ่มต้นฝึกงานเป็นนักเรียนทำการนายเรือประจำเรือพระที่นั่ง มหาจักรีซึ่งกำลังเดินทางสู่ยุโรป (เมษายน)

- พระองค์เจ้าอาภากรฯ ลงฝึกงานเป็นนักเรียนทำการนายเรือในราชนาวีอังกฤษ
๒๔๔๒
ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาเดินเรือและนำร่องจากวิทยาลัยทหารเรือกรีนิช
๒๔๔๓
- พระองค์เจ้าอาภากรฯ เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ (๑๑ มิถุนายน)

- ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิง ทิพยสัมพันธ์ พระธิดาในสมเด็จฯเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (มีนาคม)
๒๔๔๔
- ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสเกาะชวาในหน้าที่ราชองครักษ์ (พฤษภาคม - กรกฎาคม)

- ทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (๑๖ กันยายน)
Image
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเครื่องแบบนายทหารเรือสยาม
๒๔๔๕
- ตั้งหน่วยฝึกพลทหารเรือที่บางพระ (สิงหาคม)

- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จฯ กลับถึงกรุงเทพฯ (มกราคม)
๒๔๔๖
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ (พฤษภาคม) ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (กุมภาพันธ์)
๒๔๔๗
- พระองค์เจ้าอาภากรฯ ตามเสด็จประพาสต้น มณฑลราชบุรี (กรกฎาคม)

- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์เป็นกรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พฤศจิกายน)
๒๔๔๘
ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู (มิถุนายน-กรกฎาคม)
๒๔๔๙
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด โรงเรียนนายเรือ พระราชวังเดิม (๒๐ พฤศจิกายน)

- พิธีขึ้นตำหนักใหม่ “วังนางเลิ้ง” หรือ “วังเปรมประชากร” ของพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (๒๐ มีนาคม)
๒๔๕๐
รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ (มีนาคม ๒๔๔๙-พฤศจิกายน ๒๔๕๐) กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงนำนักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายช่างกลออกฝึกภาคทางทะเล โดยเรือ มกุฎราชกุมาร ยังเกาะสิงคโปร์และเกาะชวา (กรกฎาคม- กันยายน)
๒๔๕๒
กรมหมื่นชุมพรฯ ได้รับพระราชทานเหรียญบุษปมาลา
๒๔๕๓
- รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๖ เสด็จขึ้นครองราชย์ (๒๓ ตุลาคม)
- ยกฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ กรมหมื่นชุมพรฯ ดำรงตำแหน่ง “ผู้ช่วยเสนาบดี กระทรวงทหารเรือ” (ธันวาคม)

- พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ (มีนาคม ๒๔๕๓-เมษายน ๒๔๕๔)
๒๔๕๔
- มีคำสั่งกรมทหารเรือเรื่อง “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกเปนทหารกองหนุน” (๑๔ เมษายน)

- กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงสมัครเข้าเป็นเสือป่า และได้รับพระราชทานธงประจำตัวพื้นแดง รูปสุริยมณฑลและภาษิต ภาษาบาลี “กยิรา เจ กยิราเถนํ” (กรกฎาคม)
๒๔๕๗
- อาชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมือง ซาราเยโว และกลายเป็นจุดเริ่มต้น “มหาสงคราม” ในทวีปยุโรป (๒๘ มิถุนายน)

- โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งราชนาวีสมาคม แห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (๕ พฤศจิกายน)
๒๔๕๘
กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงเรียบเรียง ตำรายา พระคัมภีร์ อติสาระวรรค โบราณะกรรม แลปัจจุบันนะกรรม
๒๔๖๐
-  มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี (๒๒ กรกฎาคม) 

-  โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรฯ กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งฯ “จเรทหารเรือ” (๑ สิงหาคม) 

-  นาวิกศาสตร์ หนังสือของราชนาวิกสภา ฉบับปฐมฤกษ์ (มกราคม)
๒๔๖๒
กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดซื้อเรือรบในทวีปยุโรป (มีนาคม)
๒๔๖๓
-  เลื่อนยศขึ้นเป็นนายพลเรือเอก (๒๓ เมษายน) 

-  เรือ พระร่วง ออกเดินทางจากอังกฤษ (๒๑ กรกฎาคม) 

-  เรือแล่นกลับมาถึงกรุงเทพฯ (๘ ตุลาคม) 

-  มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนพระอิสริยยศ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ขึ้นเป็นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (๑๑ พฤศจิกายน) 

-  กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จไปทอดพระเนตรการประหารชีวิต “บุญเพ็ง หีบเหล็ก” ที่วัดภาษี (๒๑ มีนาคม)
Image
๒๔๖๔
การแข่งขันชกมวยคู่ประวัติศาสตร์ ระหว่างนายยัง หาญทะเล นักมวยของกรมหลวงชุมพรฯ กับจีนจีฉ่าง ณ สนามมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ (๖ สิงหาคม)
๒๔๖๕
-  กรมหลวงชุมพรฯ ตามเสด็จรัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสจันทบุรี (มีนาคม) 

-  มีพระบรมราชโองการให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๖ (๒๗ มีนาคม)
Image
กรมหลวงชุมพรฯ ทรงวาดภาพที่น้ำตกธารมะยม เกาะช้าง ระหว่างตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๖๕
๒๔๖๖
-  กรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ที่หาดทรายรี เมืองชุมพร (๑๙ พฤษภาคม) 

-  พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก จดหมายเหตุเรื่องเซอเชมสบรุกเข้ามาขอทำสัญญาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ พร้อมกับพระประวัติย่อ (๒๔ ธันวาคม)
Image