Image

ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น

Image

Image

Image

Better Days

คือคำตำหนิของอาจารย์ฝ่ายปกครองในฉากเปิดซีรีส์โทรทัศน์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น (ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘) ขณะเห็นนักเรียนไม่สนใจคำพูดของผู้อำนวยการ ก่อนจะเผยว่าในเวลาเดียวกันนั้น นักเรียนที่ฮอร์โมนกำลังพลุ่งพล่านได้สร้างเรื่องมากมายสวนทางอย่างยิ่งกับระเบียบวินัยโรงเรียนอันเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นแอบสูบบุหรี่, ตั้งคำถามท้าทายกฎระเบียบ, ความใคร่รู้ในรสนิยมทางเพศอันหลากหลาย, การแอบมีเซ็กซ์ในโรงเรียน ฯลฯ

หากหนังหรือซีรีส์โทรทัศน์ว่าด้วยเรื่องราวในรั้วโรงเรียนเมื่อในอดีตนั้น มักเชิดชูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาอย่างครูผู้สอนที่ขัดเกลาให้นักเรียนกลายเป็นคนดีและค้นพบตนเอง เช่น The Miracle Worker (ค.ศ. ๑๙๖๒) หรือ To Sir, With Love (ค.ศ. ๑๙๖๗) ซึ่งเรื่องราวความประทับใจลักษณะนี้ก็ยังได้รับการถ่ายทอดอยู่เสมอ

แต่ก็มีงานอีกกลุ่มหนึ่งในระยะหลังที่สะท้อนปัญหามากมายที่สร้างความตึงเครียดให้เด็ก โดยเฉพาะหลังความสำเร็จระดับปรากฏการณ์ของ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น ทำให้ผู้สร้างงานซีรีส์-ภาพยนตร์ไทยเริ่มกล้านำประเด็นนี้มาวิพากษ์ ตั้งแต่ใช้เป็นเพียงสีสันของเรื่อง ไปจนถึงลงรายละเอียดอย่างเข้มข้น 

เหล่านี้คือบางส่วนของงานที่สะท้อนปัญหาในรั้วโรงเรียนที่ราวกับจะบอกว่าไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างชีวิตวัยรุ่นและสถาบันการศึกษาก็เกิดขึ้นไม่จบไม่สิ้น...

Image

บทสนทนาแฝงด้วยน้ำเสียงเจือความเศร้าระหว่างครูกับ “ฮูยัน” ใน ผีเสื้อและดอกไม้ (ปี ๒๕๒๘) เมื่อเด็กเรียนดีประจำชั้นในโรงเรียนแถบชายแดนภาคใต้กลับต้องหมดโอกาสเรียนต่อ เพราะความขัดสนของครอบครัว ออกมาเร่ขายไอศกรีม และยิ่งนานวันเข้าคำสอนในเชิงอุดมคติของครูก็ยิ่งห่างไกลเหลือเกินกับโลกความเป็นจริงที่เขาประสบ

ความเหลื่อมล้ำเช่นนี้ยังคงปรากฏจนถึงปัจจุบันในสารคดี School Town King (ปี ๒๕๖๔) ที่ถ่ายทอดชีวิตสองแรปเปอร์วัยรุ่นในสลัมคลองเตยที่ขาดโอกาสทางการศึกษาอย่างที่วาดหวัง

<< Film  Lessons >>
คุณภาพการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันของพื้นที่ชนบทกับในเมืองถูกถ่ายทอดจากหลายพื้นที่ เช่น ภาพยนตร์จากอิหร่าน Where Is the Friend's House ? (ค.ศ. ๑๙๘๗) ที่หมู่บ้านโคเคอร์ เด็กชาย ต้องนำสมุดการบ้านที่เพื่อนลืมไว้ไปคืน จนกลายเป็นการผจญภัยที่เกินกว่าเขาจะคาดคิด หรือภาพยนตร์จีน Not One Less (ค.ศ. ๑๙๙๙) เด็กหญิงวัย ๑๓ ปีรับหน้าที่ครูจำเป็นในชนบทซึ่งต้องดูแลนักเรียนไม่ให้หายไปแม้แต่คนเดียวและกลายเป็นปัญหาเมื่อเด็กคนหนึ่งหายไปเพื่อหางานทำในเมือง

Image

หนึ่งในตอนที่สร้างความฮือฮาของ ซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น คงไม่พ้นฉากที่ “ชัยชนะ” ตัวเอกของเรื่องนึกท้าทายครูสวมชุดไปรเวตมาโรงเรียนแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จนเกิดวิวาทะกับครูหลายคนที่ตอบคำถามเรื่องการแต่งชุดนักเรียนไม่ได้ ซึ่งยังรวมถึงกฎระเบียบอื่น ๆ อย่างการไว้ทรงผม แต่งหน้า ที่หลายคนกังขาว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนดี นับเป็นประเด็นที่เยาวชนยุคนี้ตั้งคำถามถึงความสิ้นเปลืองและไม่จำเป็นอยู่เสมอ

<< Film  Lessons >>
การต่อต้านระเบียบในสถานศึกษาปรากฏในงานหลายเรื่อง เช่น The Breakfast Club (ค.ศ. ๑๙๘๕), Ferris Bueller's Day Off (ค.ศ. ๑๙๘๖) และ Matilda (ค.ศ. ๑๙๙๖) ซึ่งนอกเหนือจากการให้ตัวเอกต่อกรกับครูนิสัยเผด็จการ ยังสะท้อนความสัมพันธ์กับครอบครัวที่ย่ำแย่มากด้วย

Image

การกลั่นแกล้ง (bully) ในโรงเรียนกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งการใช้กำลังหรือวาจาทำร้ายดูถูก จนส่งผลให้บางคนตัดสินใจทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายจากความเครียดที่สะสม ไปจนถึงล้างแค้นโต้ตอบกลับ พร้อมกันนั้นเด็กและวัยรุ่นยังต้องเผชิญกับความเครียดจากการแข่งขันในระบบการศึกษา ดังเช่น “เฉินเหนียน” หญิงสาวที่ตกเป็นเป้าการรังแกภายหลังจากเพื่อนสนิทฆ่าตัวตาย ขณะที่ต้องเตรียมสอบเกาเข่า (gaokao) หรือการสอบเข้าระดับอุดมศึกษาของจีน จนเธอกับเด็กหนุ่มคนรักที่วิถีชีวิตแตกต่างแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นใดนัก

<< Film  Lessons >>
ประเด็นนี้มักปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในหนังอเมริกัน เช่น ซีรีส์เรื่องดัง 13 Reasons Why (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๒๐) Elephant (ค.ศ. ๒๐๐๓) ซึ่งพาไปสำรวจและชวนตั้งคำถามต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียน จนนำไปสู่การกราดยิงที่เป็นปัญหาเรื้อรังในสหรัฐอเมริกา

Image

โรงเรียนมักตีกรอบอนาคตเด็กไว้ด้วยแนวทางเดิม ๆ จากทั้งตัวหลักสูตรอาชีพ ต้นแบบความสำเร็จ โดยไม่ได้ถามความฝันความต้องการของนักเรียนซึ่งใน Dead Poets Society นำมาตั้งคำถามในท่ามกลางบรรยากาศโรงเรียนชายล้วนอันเก่าแก่ เข้มงวด  ครูสอนภาษาอังกฤษคนหนึ่งกลับสอนให้นักเรียนในห้องรู้จักการใช้ชีวิตให้เต็มที่เพื่อค้นหาเป้าหมายของตน

<< Film  Lessons >>
น่าสนใจว่าประเด็นการบังคับให้เด็กเรียนอย่างที่พ่อแม่ต้องการมากกว่าความชอบความถนัดได้รับการถ่ายทอดในละครและภาพยนตร์ไทยเสมอ เช่น ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (ปี ๒๕๓๖), ทอฝันกับมาวิน (ปี ๒๕๓๙) หรือล่าสุดฉากเปิดใน Fast & Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ (ปี ๒๕๖๕) ที่วิจารณ์อคติของครูแนะแนวอย่างเจ็บแสบ หรือการแสวงหาเส้นทางชีวิตของนักเรียนในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่อง เช่น The Sound of Magic (ค.ศ. ๒๐๒๒)

Image

ค่าแป๊ะเจี๊ยะที่ผู้ปกครองต้องจ่ายเป็นจำนวนมากเพื่อให้ลูกได้เข้าโรงเรียนชื่อดังเป็นปัญหามาเนิ่นนานในสังคมไทย แต่ไม่ค่อยมีใครกล้าหยิบยกมาถ่ายทอดผ่านสื่อ ใน ฉลาดเกมส์โกงที่แม้จะเป็นเรื่องราวการทุจริตลอกข้อสอบที่เลยเถิดจนกลายเป็นธุรกิจหาเงินอย่างผิดกฎหมายของนักเรียน หากก็ตั้งคำถามถึงความเป็นธุรกิจของโรงเรียนและการสอบในยุคปัจจุบันได้อย่างแสบสัน

<< Film  Lessons >>
ปัญหาการจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะในโรงเรียนดังไม่ได้มีแค่ในไทย หนังต่างประเทศที่นำเสนอประเด็นทุจริต เช่น Bad Education (ค.ศ. ๒๐๑๙) หรือแนวสารคดี Operation Varsity Blues : The College Admissions Scandal (ค.ศ. ๒๐๒๑)

Image

หลายโรงเรียนในประเทศไทยมีระบบแบ่งห้องตามผลคะแนน ให้เด็กที่ได้คะแนนสูงรวมกันอยู่ในห้องคิง ควีน กิฟต์ ซึ่งระยะหลังถูกวิจารณ์ไม่น้อยถึงความไม่เท่าเทียมที่ลดความสำคัญของเด็กซึ่งได้คะแนนน้อย

ใน The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ที่แม้ฉากหน้าจะเล่าในแบบหนังไซไฟ แต่แท้จริงคือการวิจารณ์ระบบการเรียนที่เหลื่อมล้ำในโรงเรียนที่เชิดชูและให้โอกาสเด็กที่เก่งกว่าเสมอแต่ผลลัพธ์กลับสร้างบาดแผลให้เด็กห้องกิฟต์ด้วยเช่นกัน

<< Film  Lessons >>
มีหนังสารคดีหลายเรื่องที่ตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาที่สร้างความกดดันแก่เยาวชนในการเรียนและการสอบแข่งขันไม่ว่าจะเป็น Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ (ปี ๒๕๕๐) ของไทย, Waiting for Superman (ค.ศ. ๒๐๑๐) ของสหรัฐอเมริกา และ Reach for the SKY (ค.ศ. ๒๐๑๗) ของเกาหลีใต้

Image

ภาพยนตร์จากฝรั่งเศสเรื่องนี้พาไปสำรวจโรงเรียนแห่งหนึ่งที่สะท้อนยุคโลกาภิวัตน์ นักเรียนหลากหลายเชื้อชาติและพื้นเพ เกิดการปะทะความคิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันบ่อยครั้ง  หากที่นี่ก็มีระบบการศึกษาที่ดี มีครูที่เอาใจใส่ สอนให้พวกเขารู้จักคิด เรียนรู้ ตั้งคำถามและดูเหมือนจะทำหน้าที่ได้ดี…แต่แล้วในช่วงท้ายเราก็พบว่ามีเด็กนักเรียนหลายคนที่ไม่อาจปรับตัวกับระบบ และไม่สามารถแสวงหาคุณค่าในห้องเรียนนี้ได้สักนิด

สื่อที่นำเสนอปัญหาเหล่านี้มักให้
ข้อสรุปว่าอย่างไรเสียโรงเรียนก็เป็นเพียง
ส่วนหนึ่งของสังคม เด็กจะเปลี่ยนแปลงไปทางใดยังขึ้นอยู่กับครอบครัว เพื่อน สภาพแวดล้อม และสังคม

ยิ่งในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นแทนความรู้เก่า และการค้นหาความรู้ได้

อย่างรวดเร็วจากอินเทอร์เน็ตทำให้บทบาทของโรงเรียนและครูถูกตั้งคำถามถึงการปรับตัวและความจำเป็น

จึงชวนให้น่าขบคิดอย่างยิ่งว่าอนาคตบทบาทของโรงเรียนจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหน ?  

ข้อมูลอ้างอิง
“การศึกษาได้อะไรจากการแบ่งแยกเด็กเก่ง-เด็กอ่อนให้ไกลกัน”. สืบค้น ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก https://research.eef.or.th/class-seperate-students/ 

ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต. (๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒). “กลั่นแกล้ง/รังแก (Bullying) ในโรงเรียนไม่ใช่เรื่องล้อเล่น”. สืบค้น ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก http://www.prdmh.com/สาระสุขภาพจิต/สาระน่ารู้สุขภาพจิต/1457-กลั่นแกล้ง-รังแก-bullying-ในโรงเรียน-ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น.html