Image
ทศวรรษ 
รอยทางการจัดระบบการศึกษาไทย 
(ปี ๒๓๙๕-๒๕๖๕)

Timeline
เรียบเรียง : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
ภาพ : ศูนย์ข้อมูลสารคดี-เมืองโบราณ
Image
(สมัยรัชกาลที่ ๔) เกิดโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน นิกาย
โปรเตสแตนต์
Image
Image
(สมัยรัชกาลที่ ๕) จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนเข้ารับราชการ
Image
Image
จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับให้ราษฎรเรียนแห่งแรก คือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม และมีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดต่าง ๆ ในเวลาต่อมา 
Image
Image
กรมธรรมการเปลี่ยนเป็นกระทรวงธรรมการ เพื่อกำกับดูแลโรงเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นทั้งในเมืองหลวงและหัวเมือง พร้อมทั้งก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เพื่อฝึกครูให้มีคุณภาพ
Image
Image
กระทรวงธรรมการวางหลักสูตรของโรงเรียนมูลสามัญชั้นต้น (เด็ก ๗-๑๕ ปี) มีวิชาเรียน คือ ธรรมจารี อ่าน เขียน แต่งข้อความ ไวยากรณ์ เลขวิธี ขับร้อง  และโรงเรียนสามัญชั้นสูง (มีสี่ชั้น) เพิ่มการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ พงศาวดาร เขียนรูปภาพ และวิชาอื่น ๆ ถ้าโรงเรียนจัดครูสอนได้ คือ ภาษาอังกฤษ การช่างฝีมือ เพาะปลูกหรือการค้าขาย
Image
Image
(สมัยรัชกาลที่ ๖) เกิดโรงเรียนเพาะช่าง เพื่อผลิตช่างสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมไทย เนื่องจากอิทธิพลของศิลปะตะวันตก
Image
“โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๕๓ ยกฐานะเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีสี่คณะแรก คือ แพทยศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และอักษรศาสตร์
Image
ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ เพื่อควบคุมโรงเรียนจีนที่รัฐมองว่าเป็นแหล่งเผยแพร่ความคิดที่ตรงข้ามกับรัฐไทย
Image
Image
ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาฉบับแรก บังคับเด็กทุกคนที่มีอายุ ๗ ปี ต้องเข้าโรงเรียนจนกว่าจะอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
Image
Image
เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรกำหนดเป้าหมายการศึกษา “ให้พลเมืองทุกคน ไม่เลือกเพศ ชาติ ศาสนาได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ เพื่อประกอบอาชีพที่จะเกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง” แบ่งการศึกษาเป็นสามส่วน คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา และพลศึกษา
Image
เกิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 
Image
Image
สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา รับช่วงจากสามัญศึกษา ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและภูมิภาคเพิ่มขึ้น
Image
Image
กระทรวงธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
Image
Image
ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเพิ่มการศึกษาเป็นสี่ส่วน คือ จริยศึกษา พลศึกษา พุทธิศึกษา และหัตถศึกษา รวมทั้งจัดการศึกษาพิเศษสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีโอกาสได้เรียน
Image
Image
ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค เกิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาในปี ๒๕๑๐ เกิดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Image
จัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา เปิดรับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก
Image
Image
ประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมที่มีประชาธิปไตยและความเจริญมากขึ้น เปลี่ยนระดับช่วงชั้นเรียนเป็น ๖ : ๓ : ๓ (ประถมศึกษา  :  มัธยมศึกษาตอนต้น : มัธยมศึกษาตอนปลาย) จากเดิมที่เป็น ๔ : ๓ : ๓ : ๒
Image
Image
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ เน้นหลักสี่ประการ คือ 
(๑) การสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญา ความคิดจิตใจ และคุณธรรม
(๒)  การดำรงอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน 
(๓)  การก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ และ 
(๔)  การสร้างความสมดุลในการพึ่งพาอาศัยกันและการพึ่งตนเอง และเริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
Image
Image
เกิดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ เปิดโอกาสให้มีการจัดการศึกษาในรูปแบบที่กว้างขวางและประชาชนมีส่วนร่วม โดยแบ่งเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยยึดหลัก “ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ตามความสามารถ ความสนใจ และเต็มศักยภาพ”
Image
Image
ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ แบ่งสาระการเรียนรู้เป็น แปดกลุ่ม คือ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์,  วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
Image
Image
ปรับปรุง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ให้จัดการศึกษาโดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
Image
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดแผนการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในกรอบเวลา ๓ ปี (ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗) และเริ่มโครงการนำร่องการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา   
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image