วัดเทพธิดาราม มองจากโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ที่อยู่คนละฝั่งคลองหลอดวัดราชนัดดาเห็นศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร เรียงกันอยู่กลางภาพ
วัดเทพธิดาราม
ตามรอยรำพันพิลาป
scoop
เรื่อง : วีระศักร จันทร์ส่งแสง
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง
เมื่อปี ๒๔๘๐ ฝรั่งสองคนเป็นนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส มาสืบเสาะหาที่อยู่ของสุนทรภู่ ที่คณะ ๗ วัดเทพธิดาราม ที่เคยจำพรรษาอยู่ ๓ ปี ปรากฏว่าไม่มีใครรู้จัก จนพระยาราชสมบัติ (เอิบ บุรานนท์) นำต้นฉบับ รำพันพิลาป หนึ่งเล่มสมุดไทย มามอบให้หอสมุดแห่งชาติ ตรวจสอบแล้วได้หลักฐานว่ากุฏิที่ชาวต่างชาติมาสืบหานั้น เป็นกุฏิสุนทรภู่จริง จากนั้นจึงเป็นที่รู้กันอย่างชัดเจนว่า วัดเทพธิดารามเกี่ยวข้องกับประวัติชีวิตสุนทรภู่อย่างมีนัยสำคัญ
สุนทรภู่บันทึกภาพวัดเทพธิดารามไว้ใน รำพันพิลาป ที่เขียน ช่วงก่อนลาสิกขาเมื่อปี ๒๓๘๕ ซึ่งหลายสิ่งยังคงเหลืออยู่ให้เห็นจนถึงวันนี้ หากใครสนใจจะตามรอย (นิราศ) รำพันพิลาป ที่วัดเทพธิดาราม ใกล้ ๆ ป้อมมหากาฬ เขตพระนคร
ลายมือตัวเขียนบนกระดาษสมุดไทย ที่ระบุว่าเป็นต้นฉบับงานเขียนสุนทรภู่ ค้นพบที่วัดเทพธิดาราม
หน้าบันเป็นปูนปั้น ประดับกระเบื้องเคลือบลวดลายสไตล์จีน
ศาลาสองหน้า สร้างคร่อมกำแพงแก้วที่เป็นฝาแบ่งกลาง ครึ่งหนึ่งอยู่ในแนวกำแพง อีกครึ่งหันหน้าออกข้างนอก ใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองด้าน
มุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถมีพระปรางค์ตั้งอยู่ทั้งสี่ด้าน ไม่ว่าอยู่มุมไหนในบริเวณวัด จะเห็นพระปรางค์ยืนเด่นฟ้า
เคยเดินเล่นเย็นลมเลียบชมรอบ
ริมแขวงขอบเขตที่เจดีย์ฐาน
พระปรางค์มีสี่ทิศพิสดาร
โบสถ์วิหารการเปรียญล้วนเขียนทอง
ที่หน้าบันปั้นอย่างเมืองกวางตุ้ง
ดูเรืองรุ่งรูปนกผกผยอง
กระเบื้องเคลือบเหลือบสลับเหลี่ยมรับรอง
ศาลาสองหน้ารอบขอบกำแพง
สิงโตจีนตีนตัวน่ากลัวกลอก
ขยับขยอกแยกเขี้ยวเสียวแสยง
ที่ตึกก่อช่อฟ้าใบระกาแดง
ริมกำแพงตะพานขวางเคียงข้างคลองป
สิงโตจีน “แยกเขี้ยวเสียวแสยง” อยู่หน้าประตูวัด ริมถนนมหาไชย
ชมพู่แลแต่ละต้นมีผลลูก
ดูดั่งผูกพวงระย้านึกน่าฉัน
ต้นชมพู่ร้อยปีที่หน้ากุฏิสุนทรภู่
ช่วยจูงไปไว้ที่วัดได้ทัศนา
พระศิลาขาวล้ำดังสำลี
ทั้งพระทองสององค์ล้วนทรงเครื่อง
แลเลื่อมเหลืองเรืองจำรัสรัศมี
หลวงพ่อขาว พระประธานภายในพระอุโบสถ