Image
Bangkok
by Number
บทความนี้ใช้เลขอารบิกแทนเลขไทยเพื่อความเหมาะสมในการนำเสนอ รวบรวมข้อมูล กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์, สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
ภาพ : 123rf.com

Image
PM 2.5
อันดับ 7
ของโลก

7 กุมภาพันธ์ 2565 IQAir เว็บไซต์รายงานสภาพอากาศจัดอันดับกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีดัชนีคุณภาพอากาศที่ 163 AQI ซึ่งเป็นระดับที่มีผลต่อสุขภาพ (สีแดง) โดยปริมาณฝุ่นสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ แต่เมื่อปี 2563 ค่าฝุ่น PM 2.5 ของกรุงเทพฯ โดยเฉลี่ยยังอยู่ที่ 20.6 AQI ซึ่งเป็นระดับปานกลาง จัดอยู่ในอันดับที่ 809 ของโลก นอกจากนี้ Rocket Media Lab รายงานว่าคนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่น PM 2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ทั้งหมดจำนวน 1,270.07 มวน

พื้นที่สีเขียว
กรุงเทพฯ

ต่ำกว่า
ค่ามาตรฐานโลก

Image
Husqvarna บริษัทผลิตภัณฑ์ด้านกิจการสวนป่าสัญชาติสวีเดนจัดอันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวอันดับที่ 103 จากการสำรวจใน 255 เมืองทั่วโลก โดยการวัดพื้นที่สีเขียวด้วยระบบดาวเทียมและปัญญาประดิษฐ์ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีสวนสาธารณะหลัก 40 แห่ง มีสวนหย่อมกว่า 8,600 แห่ง มีพื้นที่สีเขียว 40.3 ล้านตารางเมตร เฉลี่ยพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรคิดเป็น 7.11 ตารางเมตรต่อคน (ปี 2563) ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน และหากคิดถึงพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะที่ใช้งานได้จริงเทียบกับประชากรแล้วจะมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพียง 0.92 ตารางเมตรต่อคน
Image
จังหวัดที่
ผลิตขยะ

มากที่สุด

กรมควบคุมมลพิษรายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทยในปี 2563 พบว่ามีขยะมูลฝอยรวมทั้งหมด 25.37 ล้านตัน ชาวกรุงเทพฯ ผลิตขยะวันละ 12,281.70 ตันต่อวัน นับว่าเป็นผู้ผลิตขยะมากที่สุดในประเทศไทย แต่ต่ำกว่าในปี 2562 ที่ผลิตขยะวันละ 13,583.48 ตันต่อวัน
Image
200 ลิตร
ต่อคนต่อวัน

กระทรวงพลังงานระบุว่าปี 2562 คนกรุงเทพฯ ใช้น้ำวันละ 200 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะที่คนต่างจังหวัดใช้เพียงวันละ 50 ลิตร
โตเกียว 230 (ปี 2558)
กัวลาลัมเปอร์ 288 (ปี 2558)
ฮานอย 117.6 (ปี 2557)
สิงคโปร์ 141 (ปี 2561)

Image
7.3 ตันคาร์บอน
เทียบเท่า
ต่อคนต่อปี

ข้อมูลในปี 2556 กรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 43.87 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่าต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 7.3 ตันคาร์บอนเทียบเท่าต่อปี โดยส่วนใหญ่มาจากการคมนาคมขนส่งและการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการขาดพื้นที่สีเขียวที่ช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอน
Image
ใช้ไฟฟ้าสูงที่สุดของประเทศ
ข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวงระบุว่าปี 2563 กรุงเทพมหานครใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมด 50.66 พันล้านหน่วยหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWH) โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสูงสุด คือ กิจการขนาดใหญ่ 16.8 พันล้านหน่วย และรองลงมาคือบ้านอยู่อาศัย 15.69 พันล้านหน่วย ขณะที่ข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระบุว่าการใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมด 131.56 พันล้านหน่วย กรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียวจึงใช้ไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 27.5 ของทั้งประเทศ 
Image
สถิติ
นานาชาติ

ขยะ (ปี 2563)
ปักกิ่ง 22,000 ตันต่อวัน
มะนิลา 10,000 ตันต่อวัน
จาการ์ตา 7,702 ตันต่อวัน

PM 2.5 (AQI)
อูลานบาตาร์ (มองโกเลีย) 272
ธากา (บังกลาเทศ) 215
ละฮอร์ (ปากีสถาน) 183

พื้นที่สีเขียว (ปี 2561)
โอกแลนด์ (นิวซีแลนด์) 357.20 ตร.ม./คน
ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย) 235.73 ตร.ม./คน
ปราก (สาธารณรัฐเช็ก) 220.54 ตร.ม./คน

CO2 (ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่าต่อปี)
โซล 276.1
สิงคโปร์ 161.1
ลอนดอน 98.9

Image
2 เท่า
รถมากกว่าคน

กรมการขนส่งทางบกรายงานข้อมูลรถที่จดทะเบียนสะสมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ว่ากรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั้งหมด 11,304,846 คัน ขณะที่ประชากร กรุงเทพฯ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 มี 5,527,994 คน
อ้างอิง : https://www.matichon.co.th/politics/news_3126075https://web.dlt.go.th/statistics/
Image
ค่าครองชีพแพง
อันดับ 2
ของอาเซียน

Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและการลงทุน จัดอันดับเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก ประจำปี 2564 ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่าครองชีพแพงลำดับที่ 46 จากการสำรวจ 209 เมืองของโลก และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ซึ่งวัดจากราคาสินค้าและบริการกว่า 200 รายการ โดยคำนวณความผันผวนของค่าเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อ และราคาค่าที่พักด้วย
scrollable-image
scrollable-image
scrollable-image
Image
holidu.co.uk เว็บไซต์สำหรับการค้นหาสถานที่พักผ่อนของประเทศอังกฤษจัดอันดับกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าทำงานและพักผ่อนมากที่สุดในปี 2564 จาก 150 เมืองทั่วโลก
Image
ที่อยู่อาศัย
ของคนกรุงเทพฯ

2404 ตึกแถว
อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป ใช้ผนังแบ่งอาคารเป็นคูหา ชั้นล่างประกอบกิจการ ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 บนถนนเจริญกรุง สร้างตามแบบอย่างตึกแถวในสิงคโปร์
2442 หอพัก
อาคารที่อยู่อาศัยที่มีห้องขนาดเล็กและราคาค่าเช่าถูก มักบริหารจัดการด้วยเจ้าของคนเดียว เหมาะสำหรับนักศึกษา หรือคนวัยทำงาน หอพักแห่งแรกของไทยคือ หอพักนักศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ในวังวินด์เซอร์ของสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร นิสิตจึงนิยมเรียกว่าหอวัง (ปัจจุบันถูกรื้อกลายเป็นสนามศุภชลาศัย) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2442
2457 สลัม
ชุมชนแออัดแห่งแรกของกรุงเทพฯ คือ “ชุมชนเปรมประชา” สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากการสร้างที่พักชั่วคราวให้แก่พนักงานโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ แม้ว่าภายหลังจะไม่มีการผลิตแล้ว คนงานบางส่วนก็อยู่อาศัยต่อ และมีคนจากต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ด้วย
2506 แฟลต
อาคารที่ซอยแบ่งห้องเป็นที่อยู่สำหรับผู้มีรายได้น้อย และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกจากส่วนกลาง แฟลตแห่งแรกคือแฟลตดินแดง ในปี 2506
2509 บ้านจัดสรร
พื้นที่ที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดินสำหรับปลูกสร้างบ้านเพื่อขายให้กับผู้ที่สนใจซื้อ มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ใช้ร่วมกัน เช่น สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ พนักงาน รักษาความปลอดภัย เป็นต้น บ้านจัดสรรแห่งแรกคือโครงการหมู่บ้านมิตรภาพ สร้างขึ้นในปี 2509
2513 คอนโดมิเนียม
มาจากคำว่า condominio ซึ่งอยู่ในบันทึกสมัยโรมัน อาคารชุดรวมเป็นตึกสูงหลายชั้นที่แบ่งห้องเป็นที่อยู่อาศัยเสมือนบ้าน มีห้องนอน ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง คอนโดมิเนียมแห่งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2513 บริเวณถนนราชดำริ (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของโรงแรมรีเจ้นท์)
2518 ทาวน์เฮาส์
ที่อยู่อาศัยที่ปลูกติดกันโดยใช้ผนังแบ่งตัวบ้าน มีพื้นที่บริเวณหน้าบ้านและหลังบ้าน ทาวน์เฮาส์โครงการแรกของประเทศไทยคือทาวน์เฮาส์อยู่เจริญ ก่อสร้างขึ้นในปี 2518 ย่านรัชดาภิเษก  
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สถิติกรุงเทพมหานคร ปี 2563 กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/130/BMA%20STATISTIC/BMA_STAT_63.pdf

ขยะ
https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563
https://news.cgtn.com/news/2021-05-01/A-year-into-Beijing-s-compulsory-household-waste-sorting-policy-ZUgg8gCKek/index.html
https://woimacorporation.com/drowning-in-waste-case-manila-the-philippines/

พื้นที่สีเขียว
https://thevisual.thaipbs.or.th/bangkok-green-space/main/
https://www.hugsi.green/city/?Bangkok
https://www.tudosobrejardins.com/2018/10/world-cities-day-green-cities-index-2018-en/

PM 2.5
https://siamrath.co.th/n/320592
https://www.iqair.com/

ไฟฟ้า
https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/130/BMA%20STATISTIC/BMA_STAT_63.pdf
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&layout=edit&id=79&Itemid=200

น้ำ
https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4879/
https://www.researchgate.net/figure/shows-the-
distribution-of-per-capita-toilet-water-consumption-per-day-Almost-80-of_fig2_327377908
http://aaronbh2o.blogspot.com/2018/02/water-use-in-tokyo.html
https://www.researchgate.net/publication/281497076_Water_Consumption_Patterns_in_Greater_Kuala_Lumpur_Potential_for_Reduction

ก๊าซเรือนกระจก
https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4397/
https://www.citycarbonfootprints.info/
http://www.cusri.chula.ac.th/wp-content/
uploads/2020/02/การขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร.pdf

เมืองอัจฉริยะ
https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/38208/
https://www.imd.org/smart-city-observatory/home/

บ้านและที่อยู่อาศัย
http://www.housingbiz.org/aboutus-TH/history
http://www.softbizplus.com/condominium/696-condominium-timeline
https://www.ngobiz.org/home/2015/ปฐมเหตุการเกิดชุมชนแออ/
http://housingvm.nha.co.th/VM_3.html?fbclid=IwAR1gdVAiGM9y3q5GkH36bPRlQmwEOCRUIUZOzLmqldTX
_1BoE9QhALM0DjU
https://workpointtoday.com/รีแบรนด์-อยู่เจริญ-เอสเ/
https://www.arch.chula.ac.th/ejournal/files/article/124_20160114111340_PB.นพนันท์%20_9dec