Image
เมากัญ
ยันท่อม
scoop
เรื่อง : วีระศักร จันทร์ส่งแสง
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
 เมากัญ
ในตำรับยาแผนไทยระบุว่า กัญชาเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เมาเบื่อ ซึ่งอาจเกิดอาการข้างเคียงหรือมึนเมา ดังนี้
- ง่วงซึม เคลิ้มสุขอย่างอ่อนๆ
- อยากอาหารเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้อาจทำให้
- คอแห้ง ปากแห้ง 
- ตาแดง
- คลื่นไส้
- มึนหัว ปวดศีรษะ

กระทั่งมีอาการผิดปรกติรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์ อย่างเช่น
- หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
- เป็นลมหมดสติ
- เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน
- เหงื่อแตก ตัวสั่น
- สับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
- หายใจไม่สะดวก
- เดินเซ พูดไม่ชัด
- หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน

อาการเมากัญชาจะลดลงใน ๒-๘ ชั่วโมง และผลข้างเคียงต่างๆ จะค่อยๆ ลดลงใน ๒-๓ วันหลังจากเริ่มใช้ยา ซึ่งแก้ไขได้โดยปรับลดขนาดการใช้ หรือหยุดใช้ยาทันทีในกรณีเกิดผลข้างเคียงรุนแรง

กัญชามีความเป็นพิษตํ่า แต่เกิดพิษได้หากใช้ไม่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าปริมาณเท่าใดที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากเป็นปริมาณที่สูงมาก โดยมนุษย์ไม่มีทางบริโภคได้เมื่อเทียบกับขนาดที่พบในสัตว์ทดลอง และยังไม่เคยมีคนเสียชีวิตจากการได้รับกัญชาเกินขนาด 
Image
กินคุกกี้ใส่ใบกัญชาทำไมจึงเมา
ใบ ต้น ราก กัญชาได้รับการปลดล็อกทางกฎหมายก่อน โดยกล่าวว่าเป็นส่วนที่ไม่มีสารเสพติด เป็นที่มาของอาหารกัญชาฟีเวอร์ นำใบกัญชามาใส่ในอาหารเครื่องดื่มขายกันเอิกเกริก ตามความเข้าใจว่าไม่มีสารเมา !

แต่กินแล้วหลายคนเดี้ยง มึน เมา มากน้อยตามปริมาณการบริโภคและธาตุของแต่ละคน

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เภสัชกรหญิง ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร และเภสัชกรหญิง ดร. ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผู้เป็นต้นตำรับอาหารกัญชา “ตำรับยิ้ม” มีคำอธิบาย

“เรานำหนังสือ ตำราอาหารแม่ครัวหัวป่าก์ ของคุณหญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ไปใช้อ้างอิงในการผลักดันให้ปลดล็อกกัญชา ว่าคนไทยใช้ใบกัญชาเป็นอาหาร ใช้ชูรส ใบสดๆ ไม่เมา หากไม่โดนความร้อนจน THCA กลายเป็น THC  คนใต้กินใบดิบกับข้าวยำ คนไทยเชี่ยวชาญรู้ว่าเท่าไรและอย่างไรไม่เมา แกงกินไม่เมา เพราะสารเมาไม่ละลายนํ้า ปั่นเป็นเครื่องดื่มได้ ผัดกะเพราได้ เพราะความร้อนขนาดนั้นไม่ทำให้ THCA เปลี่ยนเป็น THC  ชุบแป้งทอดสาร THC จะออกไปอยู่ในนํ้ามัน

“อภัยภูเบศรชวนคน ‘มาชิมกัญ’ ให้คนจากทั่วประเทศเดินทางมากินใบกัญชาเป็นครั้งแรก รอยเตอร์สเผยแพร่ไปทั่วโลก บอกว่าไม่มีที่ไหนกินใบกัญชา  เรามี ‘ตำรับยิ้ม’ เป็นต้นแบบความปลอดภัยในการใช้กัญชาในอาหาร

“THC จะออกมาได้ขึ้นอยู่กับการปรุง ความร้อน นํ้ามัน ต้องระบุรายละเอียดให้ผู้บริโภคเลือก คั้นสดไม่เมาก็บอกไว้ ส่วนใหญ่กินแล้วบอกว่าผ่อนคลาย

“ในใบกัญชาก็มีสารเมา คนโบราณมีวิธีกิน แต่คนยุคนี้ไม่รู้ ใส่ในบราวนี่ คุกกี้ แล้วอบในอุณหภูมิที่สูงพอก็เมา ทำให้หลับดี  ถ้ากินแล้วปวดหัว ใจสั่น ก็แก้โดยดื่มนํ้ามะนาว รางจืด”
Image
ยันท่อม
เป็นอาการเมาใบกระท่อมของคนที่ไม่เคยกิน คนเพิ่งหัดกิน หรือเพราะเป็นใบกระท่อมจากต้นที่ออกฤทธิ์แรง ส่งผลให้แขนขาอ่อนแรง หน้าแดง ชาและตึง หูร้อน ง่วง ลิ้นชา ตาลาย มึนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อยากอาเจียน แต่ไม่อาเจียน บางคนอาจเป็นมากจนมือสั่น แน่นหน้าอก ปวดอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย เหงื่อแตกร้อนไปทั้งตัว

อาการเหล่านี้จะหายเองใน ๕-๑๐ นาที

ถ้าเป็นมากก็แก้ด้วยการนั่งหรือนอนพัก หรือทำงานให้เหงื่อออก อาบน้ำเย็น กินนํ้าเย็นกินผลไม้เปรี้ยว หรือกินข้าว อาการจะค่อยๆ ทุเลาจนปรกติ

อาการเสพติด
ผู้ใช้กระท่อมเป็นประจำ เมื่อหยุดใช้อาจไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการดังนี้
- อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน
- กล้ามเนื้อกระตุก ที่คนถิ่นใต้เรียกท็อก
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดกระดูก เจ็บในข้อ
- หงุดหงิด กระวนกระวายใจ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
- ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่นเหมือนจะเป็นไข้ ง่วง หาว น้ำมูกน้ำตาไหล เบื่ออาหาร ท้องเสีย  
Image
จริง/ไม่จริง
เสียงเล่าลือถึง
กระท่อม

ขี้เถ้าเผาศพในน้ำท่อม
ตามข่าวลือว่ามีการใส่สารบางชนิดผสมในเครื่องดื่ม ๔x๑๐๐ เช่น ยากันยุงสารเคลือบในหลอดไฟ ขี้วัว หรือแม้กระทั่งขี้เถ้าเผาศพ

ในงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบต่อสุขภาพในผู้ใช้พืชกระท่อมแบบพื้นบ้าน” โดย สาวิตรี อัษณางค์กรชัยและ ดาริกา ใสงาม ลงเก็บข้อมูลจากเจ้าอาวาสในพื้นที่ระบุว่า ต้นเรื่องมาจากวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งแอบไปต้ม ๔x๑๐๐ หลังเมรุเผาศพ ตำรวจตามมาจับ วัยรุ่นกลุ่มนี้พยายามทำลายหลักฐานโดย
นำขี้เถ้าใส่ลงไปในหม้อต้ม ตำรวจจับตัวพร้อมของกลางไปแถลงข่าวที่สถานีตำรวจ ว่าในหม้อต้มนํ้าท่อมมีส่วนผสมอะไรบ้าง แล้วเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศผ่านรายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์
ผอม
บางรายที่ใช้กระท่อมมานานและใช้ในปริมาณมาก จะมีอาการเบื่ออาหารต่างจากกลุ่มผู้ใช้เป็นครั้งคราวที่บอกว่าหลังจากเคี้ยวกระท่อมแล้ว ช่วยให้เขาทำงานได้มากขึ้น เมื่อเหนื่อยก็จะหิวและกินได้มาก
ผิวคล้ำ
ผิวคลํ้าดำเกรียม อาจเกิดจากการทำงานภายใต้แสงแดดร้อนระอุเป็นเวลานาน แต่ชาวนาชาวสวนในชนบทไม่ได้กังวลถึงรูปลักษณ์ภายนอก อีกทั้งไม่เคยพบรายงานการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคมะเร็งผิวหนังในผู้ใช้กระท่อม แต่บางคนบอกว่าผู้ใช้กระท่อมที่ไม่คายกากทิ้ง ใบหน้าจะดำจนเขียว และหากใช้ประจำหน้าจะดูแก่ก่อนวัย มีกระและริ้วรอย เนื่องจากอาจทำงานหนักเกินกำลังเป็นเวลานานติดต่อกัน
ท้องผูก
ผู้ใช้กระท่อมแล้วกลืน ไม่คายกากทิ้งด้วยเชื่อว่าฤทธิ์กระท่อมจะอยู่นานแต่กากกระท่อมจะทำให้ท้องผูก ผู้ใช้กระท่อมประจำรายหนึ่งใช้วันละ ๓๐-๔๐ ใบ เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไป ทำให้มีปัญหาการขับถ่าย ท้องผูก ๓-๔ วันถ่ายครั้ง อุจจาระเป็นเม็ดเล็กๆ สีดำคล้ายขี้แพะ
สุขภาพปาก
ผู้ใช้กระท่อมจำนวนมากต่อวัน กลิ่นตัวและกลิ่นปากจะเหม็นเขียวคล้ายกลิ่นใบกระท่อม ซึ่งพวกเขาก็ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหา แม้บางครั้งจะทำให้รับรู้รสชาติอาหารไม่ดี ตรงกันข้ามกลับบอกว่าการเคี้ยวกระท่อมช่วยป้องกันฟันผุได้
กลัวฝน
เกิดกับผู้ใช้กระท่อมเป็นเวลานานและในปริมาณมาก เมื่อฝนตกจะมีอาการหนาวสั่น รู้สึกเย็นเข้ากระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อแขน ขา ไอ และนํ้ามูกไหล วันฝนตกบางรายจึงไม่ออกไปทำงาน นั่งห่มผ้าอยู่บ้าน เคี้ยวกระท่อมแล้วดื่มน้ำอุ่น  บางครั้งฤดูฝนก็เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง แต่บางคนเชื่อว่าอาการดังกล่าวขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและสุขภาพของผู้ใช้ด้วย เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้กระท่อมแล้วมีอาการกลัวฝน
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
เป็นประเด็นที่ตอบไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร บ้างก็ว่ากระท่อมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บ้างก็บอกใช้พืชกระท่อมนานๆ จะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าสุขภาพทางเพศของแต่ละบุคคลนั้นไม่เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อม แต่ขึ้นอยู่กับสุขภาพ อายุ และการใช้กระท่อมร่วมกับสารชนิดอื่นด้วย  
NUMBER
Image
ทันทีที่ปลดล็อกกระท่อมเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำหมื่นกว่าคน
Image
จากคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร ที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อปี ๒๕๕๘ ทั้งสิ้น ๒๗๓,๔๘๐ คดี เป็นคดียาเสพติดประเภทพืชกระท่อม 
Image
รองจากคดีเมทแอมเฟตามีน ที่มีการกระทำความผิดมากที่สุด ๑๙๒,๙๕๓ คดี 
Image
ปี ๒๕๖๒ สถิติการจับกุมคดียาเสพติด ๑๖๑,๘๘๗ คดี เป็นคดีพืชกระท่อมจำนวน
Image
และคดีนํ้าต้มใบกระท่อม 
Image
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดคดีในภาคใต้ จำนวน ๑๑,๓๙๕ และ ๑๑,๘๐๗ ตามลำดับ 
Image
WORD
Image