วิจักขณ์ พานิช
รัฐฆราวาส
ความเป็นไปได้ในสังคมไทย
Interview
สัมภาษณ์ : ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง
“ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของไทย คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และเคารพเปิดกว้างในศาสนาอื่น”
ชุดข้อมูลเหล่านี้รับรู้กันมายาวนาน แต่การขับเคลื่อนทางการเมืองไทยช่วงระยะหลั
งศาสนาพุทธถูกวิจารณ์มากขึ้นจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะแนวคิดโลกวิสัย (secularization) ที่เริ่มในประเทศอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งมองว่ารัฐกับศาสนาต้องแยกออกจากกัน ส่งอิทธิพลให้หลายประเทศทั่วโลกยกเลิกศาสนาประจำชาติ ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐฆราวาส เน้นการปฏิบัติต่อพลเมืองทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมมากขึ้น
วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระด้านปรัชญา-ศาสนา จบการศึกษาปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์ศาสนาจากมหาวิทยาลัยนาโรปะ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เสนอมุมมองเรื่องนี้ผ่านสื่อต่าง ๆ กว่า ๑๐ ปีแล้ว รวมถึงในเชิงปฏิบัติการผ่านสถาบันวัชรสิทธาที่เขาก่อตั้ง
ในวันที่พุทธไทยถูกตั้งคำถาม เขาอธิบายถึงแนวคิดโลกวิสัยที่รายรอบอยู่ในชีวิตประจำวันและความเป็นไปได้ในการปรับตัวของพุทธศาสนากับสังคมสมัยใหม่
สนใจเรื่องรัฐฆราวาสตั้งแต่เมื่อไร
เดิมผมสนใจเรื่องพุทธธรรม การฝึกปฏิบัติ พอมีโอกาสใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตประมาณ ๑ ปี รู้สึกว่าการเป็นพระหรืออยู่ในวัดเป็นกำแพงบางอย่างที่ทำให้ตัวเราไม่เป็นอิสระ การศึกษาคำสอนไม่เชื่อมโยงกับประสบการณ์คนทั่ว ๆ ไป ประสบการณ์นั้นนำผมให้ไปสนใจการศึกษาศาสนาที่กว้างขึ้น ก็เลยตัดสินใจสึก และสนใจ movement ศาสนธรรมแบบฆราวาส
พอไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาก็เห็นชัดขึ้นว่าพุทธศาสนาที่เติบโตในโลกตะวันตกมีอิสรภาพต่างจากพุทธไทย ๆ โดยสิ้นเชิง วิธีการสื่อสาร คำสอน การตีความคำสอนที่สัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ และเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ดูเป็นธรรมชาติเป็นพุทธที่ก้าวหน้า เปิดกว้าง และมีปฏิสัมพันธ์กับทุกสาขาวิชาผู้คน และวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืนมาก
ผมกลับมาตั้งคำถามกับสิ่งที่เคยรู้สึกกับพุทธศาสนาในประเทศไทยว่าทำไมมันถึงต่างกันขนาดนั้น เลยเริ่มสนใจประวัติศาสตร์ที่ทำให้พุทธศาสนาบิดเบือน เริ่มเห็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันศาสนากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นเหตุให้สนใจเรื่องการแยกศาสนาออกจากรัฐ
พุทธศาสนาเถรวาทในไทยเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวตอนไหน แล้วแต่เดิมมีลักษณะอย่างไร
ตอนผมศึกษาศาสนาพุทธที่สหรัฐฯ ก็รายรอบด้วยนักประวัติศาสตร์ศาสนา เวลาเขารู้ว่าผมมาจากประเทศไทย
เขาก็ตื่นเต้น เพราะว่าเราเป็นประเทศพุทธและมีจุดเด่นคือ
เป็นเถรวาท การที่เถรวาทซื่อตรงต่อบริบททางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาทำให้การฝึกเข้มข้น ตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นอะไรที่น่านับถือ ภาษาอังกฤษเรียกพุทธเถรวาทว่าเป็น forest tradition คือสายป่า แต่เป็นสายป่าที่เดินท่องไปในความเป็นอิสระ จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
หมู่บ้านสมัยก่อนคั่นด้วยผืนป่า เป็นพื้นที่ของอิสรภาพจริง ๆ
ที่สมณะฝึกตัวเองท่ามกลางภยันตราย สัตว์ป่า ความไม่รู้ ผู้คนที่อยู่ในป่าอยู่นอกกฎเกณฑ์ทางสังคม โจร โสเภณี คน
นอกวรรณะ ผมคิดว่าบริบทแบบนั้นทำให้สมณะเข้มแข็ง เปิดกว้างต่อความสัมพันธ์ของผู้คนบนมิติทางอิสรภาพ นี่คือบริบทของพุทธเถรวาทในอดีตก่อนจะเกิดรวมศูนย์ของคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔
มองจากบริบททางประวัติศาสตร์จะรู้ว่าพุทธเถรวาทเติบโตในพื้นที่ป่าแบบนี้ ความเป็นสมณะที่ฝึกกรรมฐานในป่าเป็นเอกลักษณ์ของเถรวาทในอดีต สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหลากหลายของสายปฏิบัติ
พุทธเถรวาทก่อนรัชกาลที่ ๔ มีสายปฏิบัติเป็นพัน ๆ สายแล้วสืบต่อกันผ่านครู-ศิษย์ ที่เรียกว่าสายอุปัชฌาย์ คำสอนสมัยก่อนสอนผ่านมุขปาฐะหรือปากเปล่า การสืบสายแบบนี้ทำให้เกิดความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เป็นพุทธที่ปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น ผี วิญญาณ ความศักดิ์สิทธิ์ ภูเขา เทพารักษ์
เรามักเชื่อมโยงพุทธศาสนาในเอเชีย หรือในไทยกับสถาบันกษัตริย์ค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชที่มักถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญทำให้พุทธศาสนารุ่งเรือง แต่ผมคิดว่าวิธีการมองประวัติศาสตร์พุทธศาสนาแบบนี้เป็นแบบเจ้าซึ่งผิดจากความเป็นจริง เพราะการเติบโตของวัฒนธรรมพุทธที่สัมพันธ์กับชาวบ้านต้องมีพลวัตบางอย่างที่ทำให้เกิดการกระจายของคำสอนหรือวิถีปฏิบัติที่ทั่วถึงได้ขนาดนี้ ซึ่งพลวัตคือวิถีแบบสมณะต่างหาก ไม่ใช่อำนาจของกษัตริย์
ศาสนธรรมต้องทบทวนตัวเองอย่างที่คริสตจักรปรับตัว ปัจจุบันสังเกตว่าโป๊ปหรือผู้นำศาสนาในโลกตะวันตกเขาพัฒนาความรู้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถ้ามองว่าศาสนาสื่อสารคำสอนเรื่องการตื่นรู้หรือมีแง่มุมของความกรุณา ผมคิดว่าปรับตัวได้เสมอ
พอสมัยรัชกาลที่ ๔ เกิดการเข้ามาของลัทธิเจ้าอาณานิคมตะวันตก สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง สร้างฐานอำนาจตอบโต้ แล้วก็มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่
ศาสนาพุทธมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ไม่มีการจัดการ แต่ในแง่ของการปกครองถ้าไม่สามารถควบคุมความรู้ ความเชื่อหรือการตีความคำสอนได้ จะทำให้อำนาจการปกครองไม่เบ็ดเสร็จ ศาสนาพุทธเลยถูกช่วงใช้มาสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ความเป็นชาติ มีความศิวิไลซ์ทางวัฒนธรรม และสร้างอัตลักษณ์เรื่องศาสนาที่ศิวิไลซ์ทัดเทียมศาสนาคริสต์ของตะวันตก รัฐไทยก็เลยพยายามสร้างศาสนจักร ซึ่งเป็นทิศทางตรงข้ามที่เคยเป็นมาในอดีต
การรวมศูนย์อำนาจแบบนี้ยังตกค้างเป็นมรดกของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่เราเปลี่ยนระบอบการปกครองแล้ว ระบอบต้องกระจายอำนาจแล้ว เพราะเราเป็นประชาธิปไตย อำนาจเป็นของประชาชนทุกคน ศาสนาพุทธกับประชาธิปไตยเลยเป็นสองสิ่งตรงข้ามกันแล้วศาสนาพุทธก็กลายเป็นอุปสรรคทำให้ประชาธิปไตยไม่เติบโต
ยุคสมัยนั้นคือจุดเริ่มต้นการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และทำให้นึกถึงอิทธิพลของคริสตจักรกับการเมืองการปกครองในอดีต ?
ใช่ครับ ความเชื่อมโยงศาสนากับการเมืองใกล้ชิดกันมาก สมัยก่อนศาสนาสร้างความรู้ จักรวาลวิทยา หรือโลกทัศน์ต่าง ๆ หลายครั้งพอเป็นความเชื่อทางศาสนาก็ขัดแย้งกับ
ความรู้ โดยเฉพาะข้อเท็จจริง ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ มียุคหนึ่งที่ศาสนาเป็นอุปสรรคทำให้คนไม่สามารถพัฒนาความรู้จากประสบการณ์ สังเกต หรือตั้งคำถาม ทำให้เกิดยุคมืดของตะวันตกที่ศาสนารุ่งเรืองสูงสุดทางอำนาจ แต่กลายเป็นยุคมืดทางวิทยาศาสตร์ เกิดการล่าแม่มด เข่นฆ่ากันโดยใช้กฎหมาย ลงโทษ ลงทัณฑ์
ถ้าเทียบเคียงกับยุคสมัยปัจจุบันของประเทศไทย เรามักยกเรื่องความจริงสูงสุดทางศาสนา ศีลธรรม ความดี มาเป็นบรรทัดฐานตัดสินคน อย่างกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ หรือเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมอันดี ความมั่นคงของประเทศ สังเกตว่าจะเชื่อมโยงกับศาสนาที่ถูกนำมาใช้ทางการเมือง
แต่บริบทแบบนี้อยู่ได้ไม่นาน ต้องมีการแก้ปัญหาที่จะทำให้สังคมเติบโตต่อ นั่นคือการแยกศาสนาออกจากรัฐ สถาบันศาสนาจะต้องปรับตัว เมื่อถูกตั้งคำถาม ถูกถอดจากสถานะและอำนาจทางการเมือง ศาสนาพุทธจะมีตำแหน่งแห่งที่ของตนอย่างไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมสมัยใหม่
ศาสนธรรมต้องทบทวนตัวเองอย่างที่คริสตจักรปรับตัว ปัจจุบันสังเกตว่าโป๊ปหรือผู้นำศาสนาในโลกตะวันตกเขาพัฒนาความรู้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถ้ามองว่าศาสนาสื่อสารคำสอนเรื่องการตื่นรู้หรือมีแง่มุมของความกรุณา ผมคิดว่าปรับตัวได้เสมอ
ถ้าคริสตจักรปรับตัวมาตลอด แต่ทำไมประเทศต่าง ๆ ที่เคยนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก็ยังปรับเปลี่ยนเป็นรัฐฆราวาส
เป็นเรื่องการถอดบทเรียน ไม่มีใครยอมวางอำนาจง่าย ๆ หรอกจนกว่าจะเกิดผลลัพธ์ของการสูญเสีย ซึ่งก็คือสงครามและความตาย
สังคมที่ก้าวสู่ยุคสิ้นหวังแล้วก็หาเหตุผลมาฆ่าล้างกัน ผมคิดว่าประวัติศาสตร์หลีกเลี่ยงจุดแบบนี้ไม่ได้ คล้ายทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นมา คือต้องติดเชื้อเยอะ ๆ ก่อนจึงเกิดการตื่นรู้ ตะวันตกก็ผ่านการลองผิดลองถูก แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีคนแข็งขืนอยู่ มีความเชื่อสุดโต่ง ฝ่ายขวาจัดยังมีอยู่เยอะ คือไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ สุดท้ายคนที่รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นก็ต้องส่งเสียง ตีพิมพ์งานวิชาการ สื่อสาร สร้างความเคลื่อนไหว สร้างความเปลี่ยนแปลง
ผมก็ไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพียงแต่รู้จากประวัติศาสตร์ตะวันตกว่า คนที่ต้องการกับไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงมีจำนวนไม่ห่างกันมาก มันก็เส้นแบ่งบาง ๆ เพียงแต่ว่าเราจะสร้างบรรยากาศของยุคสมัยที่คนรู้สึกร่วมกันว่าถึงเวลาแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ได้อย่างไร
คุณค่าในประชาธิปไตยคือศาสนาในตัวมันเอง ประชาธิปไตยจะอยู่ในวิถีชีวิต กฎหมาย ท่าทีของรัฐ ตำรวจ ศาล เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมืองที่จะปฏิบัติต่อประชาชน สิ่งเหล่านี้ถูกส่งเสริมในโรงเรียนในการศึกษา การเคารพผู้อื่นเท่ากับที่เคารพตัวเอง คำนึงถึงความถูกต้องในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ พวกนี้เป็นจิตวิญญาณของประชาธิปไตยที่คนในสังคมยึดเหนี่ยวได้
มีคนตั้งคำถามหรือแข็งขืนกับพุทธเถรวาทโดยตลอด แต่แนวคิดโลกวิสัยยิ่งเสียงดังขึ้น ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมดังกล่าว
สิ่งที่ชวนให้คนตั้งคำถามหรือรู้สึกร่วมกันมีเยอะขึ้น แล้วก็เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงและเห็นภาพมากขึ้นในทางการเมือง
เรื่องพวกนี้มีคนชวนตั้งคำถามตั้งแต่ ๒๐-๔๐ ปีที่แล้ว ซึ่งก็ถูกมองว่าแปลก ขวางโลก แต่สังคมปัจจุบันเห็นชัดขึ้นว่านิกายเถรวาทที่เป็นอนุรักษนิยมจัด ๆ เชื่อมโยงกับสถาบันหลักของประเทศอย่างไร หรือแม้กระทั่งสถาบันสงฆ์เองที่เป็นข่าวอยู่ในตอนนี้ ปัจจุบันด้วยสื่อ บริบทที่ประเทศกำลังไปสู่ยุคของการนองเลือดหรือสงครามกลางเมือง การที่เราขัดขืนกับการเปลี่ยนแปลงทำให้ความผิดปรกตินี้ชัดขึ้นมาก ๆ ศาสนาพุทธแบบนี้ชัดเจนเลยว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย
คนที่ต้องการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา หรือกษัตริย์ ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนอาจดูเป็นเรื่องปรกติตามกระแสยุคนั้น แต่สมัยนี้ชัดมากว่าเขาไม่มีเหตุผล ไม่มีพื้นฐานความเข้าใจหรือบริบทรองรับความคิด ตรงนี้ทำให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่ายุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว ตอนนี้ผมว่าบริบทของมันสุกงอมสุด ๆ แล้ว
การนำศีลธรรมมาใช้ในตัวบทกฎหมายไม่ดีหรือ
สิ่งที่เรียกว่าเป็นศีลธรรมของพุทธ สำหรับผู้ปฏิบัติคือพระธรรมวินัย ซึ่งพระสงฆ์มี ๒๒๗ ข้อ และฆราวาสมี ๕ หรือ ๘ ข้อ การฝึกวัตรปฏิบัติพวกนี้เป็นของกลุ่มคนที่เต็มใจร่วมกัน พูดง่าย ๆ เป็น “กฎหมู่”
สมมุติว่าคุณมีเพื่อนห้าคนแล้วบอกกันว่าช่วง ๕ วันนี้จะปิดวาจา ไม่พูดกัน อันนี้ก็เป็นกฎหรือธรรมวินัยของคนกลุ่มนี้ ถ้าเราพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นทั้งชีวิตอาจมีข้อตกลงมากกว่านี้เป็น ๒๐๐ กว่าข้อ เราจะปฏิบัติต่อคนที่เต็มใจ จะไม่เอากฎเหล่านี้ไปใช้กับคนอื่นราวกับเป็นความจริงสูงสุดของพระพุทธเจ้า แบบนั้นไม่ใช่วิถีพุทธแน่นอน
การปลงอาบัติ การอยู่กรรมต่าง ๆ ที่เป็นบทลงโทษ หรือการปวารณาตัวว่าเราประพฤติผิดอะไรไปบางอย่างก็เป็นกฎหมู่เช่นเดียวกัน คือเราตกลงว่าถ้าทำผิดจะสารภาพบาปต่อกัน ศีลเหล่านี้ต้องเข้าใจก่อนว่ามาจากบริบทแบบนี้
ทีนี้ปัจจุบันพอศาสนาพุทธถูกเอามาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ อยู่ในแบบเรียน กลายเป็นอัตลักษณ์ว่าคนไทยต้องเป็นพุทธ หลายครั้งวิธีคิดแบบนี้ถูกเอาไปใช้ควบคุมให้คนรู้สึกผิดชอบชั่วดีหรือกลายเป็นกฎหมายด้วยซ้ำ กลายเป็นว่าคุณไปใช้กฎหมู่ให้เป็นกฎหมาย แล้วไม่ได้คิดเลยว่าคนอื่นเขานับถือศาสนาพุทธเหมือนคุณหรือเปล่า เขาโอเคหรือเปล่าในการเอาคำสอนชุดนี้มาตัดสินคุณค่าชีวิตเขา
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ร้านสะดวกซื้อห้ามขายเหล้าวันอาสาฬหบูชา ทำไมเราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นี้ เราเป็นรัฐศาสนาแล้วหรือ เมืองไทยก็ไม่ใช่รัฐศาสนา แต่ทำไมถึงอนุญาตให้เกิดการบิดเบือนเอากฎเกณฑ์แบบนี้มาใช้ ผมคิดว่าเอาจริง ๆ มันขัดต่อรัฐธรรมนูญนะ
พอมีเหตุการณ์แบบนี้มาก ๆ เข้า ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญหรือความเป็นประชาธิปไตยถูกลดทอนลงเรื่อย ๆ อันนี้คือเหตุผลที่บอกว่าศาสนาพุทธปัจจุบันมันขัดแย้งกับพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย
อะไรที่รัฐฆราวาสมีร่วมกันซึ่งต่างไปจากประเทศ
ที่มีศาสนาประจำชาติ
เวลาเราพูดถึงโลกสมัยใหม่ เรายึดถือสิ่งที่เป็น “คุณค่า” แทนที่ความจริงสูงสุดทางศาสนา เราพูดถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เพศทุกเพศ อาชีพทุกอาชีพ คนทุกศาสนา พอพูดเรื่องคุณค่าจะสังเกตว่าเป็นคนละระบบคิดกับความเชื่อสูงสุดทางศาสนา เราต้องเอาชุดความคิดแบบศาสนาสูงสุดออกไปจากพื้นที่ทางสังคมก่อน แล้วมันจะทำให้พื้นที่ทางสังคมกว้างขึ้น รองรับคุณค่าที่แตกต่างหลากหลายได้มากขึ้น
หลักของรัฐโลกวิสัย (secular state) คือรัฐไม่ได้มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนศาสนาใด กิจการศาสนาเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยหลักใหญ่ใจความรัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา ถ้าส่งเสริมหรือไม่ส่งเสริมก็ต้องทุกศาสนา
สังคมที่น่าสนใจคืออินเดียที่เป็นต้นกำเนิดหลายศาสนา หลังจากเป็นอิสระจากการยึดครองของอังกฤษก็ประกาศชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑ ว่าจะเป็น secular state อย่างน้อยรัฐไม่เข้าไปยุ่ง ถ้าจะสนับสนุนศาสนาก็ต้องสนับสนุนเท่า ๆ กันในกฎเกณฑ์-นโยบายเดียวกัน ซึ่งผมคิดว่าดีมาก ๆ ทำให้อินเดียกลายเป็นรัฐโลกวิสัยที่ยังเก็บพลังทางศาสนธรรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของพลังทางสังคม
ผมคิดว่าแทนที่จะคาดหวังการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างศาสนาพุทธที่รวมศูนย์ด้วยการแยกศาสนาออกจากรัฐ ซึ่งคงหวังได้ยาก เราก็ไม่ต้องไปสนใจเขามาก ส่งเสริมให้เกิดการตีความใหม่ ศึกษาใหม่ เอาสาระสำคัญออกมาแล้วเชื่อมโยงคำสอนเข้ากับจิตวิญญาณกับโลกสมัยใหม่ไปเลย
หากในสังคมสมัยใหม่ไม่มีศาสนา
คนจะหาอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
คุณค่าในประชาธิปไตยคือศาสนาในตัวมันเอง ประชาธิปไตยจะอยู่ในวิถีชีวิต กฎหมาย ท่าทีของรัฐ ตำรวจ ศาล เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมืองที่จะปฏิบัติต่อประชาชน สิ่งเหล่านี้ถูกส่งเสริมในโรงเรียนในการศึกษา การเคารพผู้อื่นเท่ากับที่เคารพตัวเอง คำนึงถึงความถูกต้องในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ พวกนี้เป็นจิตวิญญาณของประชาธิปไตยที่คนในสังคมยึดเหนี่ยวได้
ลองสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้ว การขับรถบนท้องถนน ขึ้นรถเมล์ ไปโรงพยาบาล เขารู้สึกว่าได้รับการเคารพ คนไทยไปต่างประเทศก็รู้สึกว่าได้รับการดูแล ได้รับสวัสดิการ แม้จะเป็นคนต่างด้าว เป็นนักท่องเที่ยว แต่ในพื้นที่สาธารณะเราได้รับการเคารพ ถ้าถูกคุกคามจะมีเจ้าหน้าที่รัฐหรือกฎหมายเข้ามาจัดการทันที สิ่งเหล่านี้คือคุณค่า คือสิ่งที่ยึดถือได้ แล้วเราปกป้องคุณค่านี้ร่วมกัน การส่งเสริมคุณค่าแบบนี้ทำให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ถ้าเข้าใจแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีศาสนาก็ได้
แต่ก็ยังมีเรื่องระดับปัจเจกที่อาจต้องมีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาตอบ เช่น เราจะตายอย่างไร จะเปลี่ยนผ่านจากความทุกข์หนักหน่วงในบางช่วงอย่างไร จะมีคุณค่าเบื้องลึกในทางจิตวิญญาณ พันธกิจ ความรักที่ลึกลงไปอีก ไม่ใช่แค่ในระดับสังคม ระดับสาธารณะ
สังคมสมัยใหม่ให้พื้นที่ศาสนาเพื่อตอบโจทย์ในระดับปัจเจกบุคคล คือคุณลงลึกไปกับศาสนานั้นในศูนย์ปฏิบัติ วัด ศาสนสถาน แล้วคุณก็ช่วยสนับสนุนการเติบโตขององค์กรศาสนานั้นได้
คุณค่าทางศาสนาที่คนสมัยใหม่เลือกนับถือมักสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตย ทำให้เกิดศาสนาสากล อย่างทะไลลามะ หรือ ติช นัท ฮันห์ เป็นพระในพุทธศาสนาที่สื่อสารคำสอนระดับสากลได้ สังเกตว่าภาษาที่ครูบาอาจารย์เหล่านี้เชื่อมโยงกับคุณค่าสากลด้วยเช่นเดียวกัน มีความเคารพเพื่อนมนุษย์ ผู้อื่น ในศาสนาที่แตกต่างหลากหลาย แทนที่จะใช้ภาษาแบบบ้านเราประเภทศาสนาพุทธดีที่สุด พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด คือมันค่อนข้างจะล้าสมัยและไม่มีมารยาทที่พูดถึงตัวเองและกีดกันคนอื่นแบบนั้น หลายครั้งทำให้ไม่มีใครอยากจะสนทนาด้วย
แต่การเปลี่ยนสังคมไทยเป็นรัฐฆราวาสก็ต้องจบที่กฎหมาย ต้องแก้ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ หรือเปลี่ยนองค์กรพุทธศาสนาให้เป็นเอกชน ซึ่งเรายังไม่ไปถึงจุดนั้นเลย
ใช่ อาจต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ถ้าจะพูดในแง่นี้มันไม่ใช่แค่การปฏิรูปธรรมดา ต้องมีจุดเปลี่ยนในระดับการปฏิวัติ
สังเกตว่าในอดีตประเทศต่าง ๆ ต้องมีเหตุการณ์บางอย่างที่ใหญ่มากพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างหรือรัฐธรรมนูญ เช่น มีสงครามโลก ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ ยึดครองประเทศภายใต้อาณานิคมเป็นระยะเวลานาน ๆ การประกาศเอกราช เปลี่ยนกษัตริย์เป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร พูดตรง ๆ ประเทศไทยเหมือนตกขบวนนั้น คาราคาซัง สิ่งที่ควรจะเปลี่ยนเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีที่แล้ว จะต้องเปลี่ยนในช่วงที่เปลี่ยนได้ยากแล้ว อันนี้ผมก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
แต่ว่าสิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ นอกจากการให้ความเห็นเรื่องการแยกศาสนาออกจากรัฐและผูกโยงกับเรื่องการเมือง สิ่งที่จะเปลี่ยนวิธีคิดนี้ได้ก็คือการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งเดียวกับที่อาจารย์สุวรรณา สถาอานันท์ พยายามจะพูดถึงคือคุยกันถึงศาสนาพุทธในความเป็นพหุนิยมทางวัฒนธรรม การทำให้เห็นว่าคำสอนของศาสนาพุทธทำให้ใจเราเปิดกว้าง เคารพต่อความแตกต่างหลากหลาย ตรงนี้จะทำให้เข้าใจว่าศาสนาพุทธเชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ โลกวิสัย และประชาธิปไตย เชื่อมโยงกับความเป็นสากลในการเข้าถึงความจริงของมนุษย์ได้ ตรงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดของศาสนาให้เป็นเรื่องของการเรียนรู้
กระบวนการโลกิยานุวัติหรือการทำให้เป็นฆราวาส (secularization) ทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นแล้วในตอนนี้ เพราะ ด้วยอิทธิพลของทุนนิยม โซเชียลมีเดีย เอนเตอร์เทนเมนต์ หนังสือ วรรณกรรมต่าง ๆ ที่เราเสพจากโลกตะวันตก จึงไม่แปลกเลยว่าคนรุ่นใหม่จะรู้สึกแปลกแยกกับความเป็นศาสนาแบบยุคเก่า จารีตนิยม หรือสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและปรับตัว
ผมคิดว่าแทนที่จะคาดหวังการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างศาสนาพุทธที่รวมศูนย์ด้วยการแยกศาสนาออกจากรัฐ ซึ่งคงหวังได้ยาก เราก็ไม่ต้องไปสนใจเขามาก ส่งเสริมให้เกิดการตีความใหม่ ศึกษาใหม่ เอาสาระสำคัญออกมาแล้วเชื่อมโยงคำสอนเข้ากับจิตวิญญาณกับโลกสมัยใหม่ไปเลย
ผมขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยการตั้งศูนย์ แทนที่จะสร้างวัดที่ผูกโยงกับคณะสงฆ์ เราสนับสนุนให้เกิดการตั้งเซนเตอร์ต่าง ๆ ดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิ เป็นเอกชน ซึ่งเราทำได้เลย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองก่อนก็ได้
ใครจะตั้งศูนย์ ตั้งสายปฏิบัติที่เชื่อมโยงครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติต่าง ๆ ก็ทำได้เลย ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเถรวาท มหายาน วัชรยาน อีกต่อไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเรียนกับใคร บางคนอาจเรียนจากอาจารย์หลากหลายสายก็ได้ ทั้งพระไพศาล วิสาโล, เขมานันทะ, ติช นัท ฮันห์, พุทธทาส, ทะไลลามะ, เชอเกียม ตรุงปะ ก็เป็นครูบาอาจารย์เราอยู่ในคนคนเดียวได้ สะท้อนคุณค่าแบบพหุนิยมของศาสนธรรมในโลกสมัยใหม่
คนรุ่นใหม่ที่สนใจพุทธศาสนาจะมีแง่มุมแบบนี้มากขึ