Image
จากยุโรปถึงภูพาน
Timeline
๒๓๙๐
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และ ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) ออกหนังสือ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) เสนอแนวคิดการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ โค่นล้มนายทุน สร้างสังคมที่เท่าเทียม
Image
๒๔๖๐
วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) นำพรรคบอลเชวิก ปฏิวัติเปลี่ยนรัสเซียเป็นสหภาพโซเวียต รัฐคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก
Image
๒๔๗๓
ก่อตั้งคณะคอมมิวนิสต์สยาม โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและคอมมิวนิสต์จีนในสยาม ซึ่งยังไม่มีคนสยามอยู่ในพรรค (๒๐ เมษายน)
๒๔๗๖  
รัฐออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๗๖
๒๔๘๕  
ประชุมสมัชชาครั้งแรก ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทย (๑ ธันวาคม) 
๒๔๘๙ 
ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๗๖ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยเคลื่อนไหวได้อย่างเปิดเผย เช่นเดียวกับพรรคการเมืองทั่วไป
๒๔๙๕
รัฐบาลตราพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕ และใช้ต่อมาอีกเกือบ ๕๐ ปี

ประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศ ครั้งที่ ๒ เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) วางแนวทางการเคลื่อนไหวตามยุทธศาสตร์ชนบทล้อมเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน วางรากฐานการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ
Image
๒๕๐๑  
รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มต้นกวาดจับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์แบบเหวี่ยงแห ขังลืมในคุก แล้วต่อมาสั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์บางรายด้วยมาตรา ๑๗ โดยไม่มีการไต่สวนพิจารณาคดี ในช่วงปี ๒๕๐๔
๒๕๐๔  
ประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ ๓  เดินหน้าการปฏิวัติด้วยการทำสงครามประชาชน เร่งจัดตั้งมวลชนในเขตป่าเขา เตรียมต่อสู้ด้วยอาวุธ
๒๕๐๘
เกิดการปะทะด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่รัฐครั้งแรกที่หมู่บ้านนาบัว ริมเทือกเขาภูพาน จังหวัดนครพนม ต่อมา พคท. ประกาศให้วันที่ ๗ สิงหาคม เป็น “วันเสียงปืนแตก” วันเริ่มต้นสงครามประชาชน
ชายทุ่งบ้านนาบัว จุดเกิดเหตุ “วันเสียงปืนแตก” กำลังปรับพื้นที่เตรียมสร้างศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ประชาชน
ก่อตั้งกองกำลังที่ใช้ต่อสู้กับรัฐบาลครั้งแรกที่ภูพานด้านตะวันออก ใช้ชื่อพลพรรคประชาชนต่อต้านอเมริกาแห่งประเทศไทย (พล.ปตอ.) (๑๙ พฤศจิกายน) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) ในปี ๒๕๑๑
๒๕๑๖
ตั้งฐานที่มั่นภูพานแบบจิ่งกังซานของจีนขึ้นที่ดงหลวง มุกดาหาร (กันยายน) ก่อนถูกทางการตีแตกด้วยยุทธการ ๑๕ กองพัน ในเดือนถัดมา
๒๕๑๙  
หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาฯ ประชาชนคนหนุ่มสาวหลายพันคนเข้าป่าร่วมทัพกับ พคท. หลายคนเชื่อว่า “การปลดปล่อย” อาจเกิดขึ้นในเร็ววัน
Image
๒๕๒๒ 
สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) กระบอกเสียงสำคัญของ พคท. ปิดตัวลงจากการกดดันของรัฐบาลผ่านทางจีน (๒๒ กรกฎาคม)
๒๕๒๓ 
รัฐบาลออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๖/๒๓ เปิดทางให้ “คนป่า” คืนเมืองโดยไม่มีความผิด (๒๓ เมษายน)
๒๕๒๕
ประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ ๔ ความขัดแย้งสุกงอมนำไปสู่ “วิกฤตศรัทธา” พลพรรค พคท. จำนวนมากถอนตัวออกจากขบวนการ เกิดสถานการณ์ “ป่าแตก” พรรคถึงกาลล่มสลาย
ภาพเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ ทหาร ทปท. ภูสระดอกบัว ถือธงและอาวุธออกมามอบตัวยกเขตงาน ซึ่งวันเดียวกันนี้เมื่อ ๔๐ ปีก่อนหน้านั้น คือวันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
๒๕๒๖ 
การสู้รบในเขตป่าเขายุติลง
๒๕๓๐
จับกุมสมาชิกระดับนำของพรรคครั้งใหญ่ จำนวน ๑๘ คน ระหว่างเตรียมการจัดประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ ๕ (๒๑-๒๒ เมษายน)
Image
๒๕๓๔
การปะทะครั้งสุดท้ายระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ที่เหลืออยู่ รวมทั้ง ธง แจ่มศรีเลขาธิการพรรคฯ คนสุดท้าย ในป่าบางกลอย เพชรบุรี
๒๕๓๗
สร้างอนุสรณ์สถานสันติภาพภูพาน อนุสรณ์สถานทหารกองทัพปลดแอกฯ แห่งแรกของประเทศ บนเทือกเขาภูพาน รอยต่อกาฬสินธุ์-มุกดาหาร  
Image
๒๕๔๓  
ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕
๒๕๖๔
อดีตสหายกลุ่มหนึ่งย้อนรอยเส้นทางป่าภูพาน เตรียมผลักดันให้เปิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ประชาชน (พฤษภาคม)