ความสูญเสียต่อชีวิต
และอิสรภาพจากการรัฐประหาร
และการชุมนุม ๒๕๔๙-๒๕๕๓
Statistics
รัฐประหาร
๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

๑ ราย 
ผู้เสียชีวิต นวมทอง ไพรวัลย์ อาชีพขับแท็กซี่ ขับรถพ่นสีคำว่า “พลีชีพ” พุ่งเข้าชนรถถังของทหารจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต่อมาผูกคอเสียชีวิตพร้อมด้วยจดหมายลบคำสบประมาทว่าไม่มีใครมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากขนาดยอมพลีชีพได้
๕๕ ราย 
ผู้ถูกจับจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ถึงปี ๒๕๕๓ 
๑,๘๓๓ ราย
๑,๔๕๑ คดี

ผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด
ทั้งที่ร่วมชุมนุมและไม่ได้ร่วมชุมนุม
หลังรัฐประหาร 
อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓
Image
การชุมนุมของ
กลุ่มพันธมิตรฯ
และ นปช.

๗ ราย 
ผู้เสียชีวิตกลุ่มพันธมิตรฯ 
๒๕ พฤษภาคม-๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ 
๑ ราย 
ผู้เสียชีวิตกลุ่ม นปช. 
๗๗๗ ราย 
ผู้บาดเจ็บจากการชุมนุม
กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช.
ความสูญเสียจากการสลาย
การชุมนุม นปช. ปี ๒๕๕๓

๙๙ ราย 
ผู้เสียชีวิตในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 
๑๐ เมษายน-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
๕๔๑ ราย 
ประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิต
เฉพาะวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  
(เสียชีวิต ๒๒ คน บาดเจ็บ ๕๑๙ คน) 
๓๔๙ ราย 
เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่บาดเจ็บและเสียชีวิต
เฉพาะวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ 
(เสียชีวิต ๕ คน บาดเจ็บ ๓๔๔ คน)
๔๕๕ ราย 
จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกัน
เฉพาะวันที่ ๑๓-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
๑,๙๐๐ ล้านบาท
งบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
จากการชุมนุมทางการเมือง ๒๕๔๘-๒๕๕๓
โดยญาติผู้เสียชีวิตได้ศพละ ๗.๕ ล้านบาท
๑๑๗,๙๒๓ นัด
 จำนวนกระสุนจริงที่ใช้ในเหตุการณ์ 
(คำนวณจากการเบิก ๕๙๗,๕๐๐ นัด 
ส่งคืน ๔๗๙,๕๗๗ นัด)
๒,๑๒๐ นัด
จำนวนกระสุนสไนเปอร์สำหรับซุ่มยิง
(คำนวณจากการเบิก ๓,๐๐๐ นัด 
ส่งคืน ๘๘๐ นัด) 
๖,๖๒๐ นัด
จำนวนกระสุนยาง
(คำนวณจากการเบิก ๑๐,๐๐๐ นัด 
ส่งคืน ๓,๓๘๐ นัด)
อ้างอิง : 
ศูนย์เอราวัณ ปี ๒๕๕๑ และปี ๒๕๕๗, mgronline.com

เอกสารสรุปผลการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาประเด็นปัญหาการสร้างความปรองดอง ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘, รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓ (ศปช.)

ความสูญเสียจากการชุมนุม กปปส.
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
- ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗

๒๖  ราย
แกนนำกลุ่ม กปปส. ที่ศาลอาญาพิพากษาจำคุกตั้งแต่ ๔ เดือน ถึง ๙ ปี ๒๔ เดือน (คดียังไม่ถึงที่สุด)
๒๗  ราย
ผู้เสียชีวิต
๗๘๒ ราย
ผู้บาดเจ็บ
อ้างอิง : ศูนย์เอราวัณ ปี ๒๕๕๗
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
จากความขัดแย้งทางการเมือง

รวบรวม : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
ในต่างประเทศมีการศึกษาที่ชี้ถึงผลกระทบเชิงลบจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในกรณีประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาในลักษณะนี้โดยตรง อย่างไรก็ตามมีงานศึกษาหัวข้อ “ต้นทุนทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย” ของ พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พยายามสร้างดัชนีชี้วัด และประเมินผลกระทบผ่านแบบจำลองทางเศรษฐมิติ ระบุว่ามี “ข้อค้นพบ” ที่น่าสนใจ ดังนี้

การเติบโตทางเศรษฐกิจ  

ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น (รวมถึงก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น) และศักยภาพการเจริญเติบโตของผลผลิตในระยะยาว

การเติบโตทางเศรษฐกิจ  
ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น (รวมถึงก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น) และศักยภาพการเจริญเติบโตของผลผลิตในระยะยาว


การบริโภคสินค้า
สินค้าคงทน (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, รถยนต์, เครื่องดนตรี, เฟอร์นิเจอร์) และสินค้าไม่คงทน (เช่น อาหาร, เครื่องดื่ม, น้ำมันเชื้อเพลิง, ยา, เครื่องสำอาง) ปรับตัวลดลงเมื่อเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยการปรับตัวของการบริโภคสินค้าคงทนรุนแรงมากกว่าสินค้าไม่คงทน

การส่งออกและนำเข้า 
ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลต่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการประท้วงและการรัฐประหาร แต่ไม่พบการตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้จ่ายภาครัฐ

อุตสาหกรรม 
เมื่อพิจารณาตามรายสาขาการผลิตใหญ่ ๆ ได้แก่ การเกษตรและเหมืองแร่ การผลิตหัตถอุตสาหกรรม ไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ก่อสร้าง และบริการ ผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองยังไม่มีความชัดเจน แต่ในเฉพาะภาคบริการ จะพบว่ารายสาขาย่อย คือ โรงแรมและภัตตาคาร บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และบริการขนส่ง ได้รับผลกระทบโดยปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน

ตลาดหลักทรัพย์ 
ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะความขัดแย้งจากการชุมนุม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก การทำรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมือง ส่งผลทางลบต่อความผันผวนของผลตอบแทนในดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย แต่ผลกระทบต่อผลตอบแทนยังไม่ชัดเจน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : 
www.pier.or.th/wp-content/uploads/2018/05/pier_dp_086.pdf

Image
การดําเนินคดีการเมือง
ภายหลังรัฐประหาร
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗-๒๕๖๒

๙๙ ราย
ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒
๑๑๗ ราย
ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖
๔๑ ราย
ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประชามติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙
๔๒๑ ราย
ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ห้ามชุมนุมเกิน ๕ คน
๑๙๑ ราย
ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ
อ้างอิง : โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ตัวเลขเป็นจำนวนอย่างน้อยของสิ่งที่เกิดขึ้น
จำนวนนักโทษการเมือง
และผู้ลี้ภัยการเมือง
หลังรัฐประหารปี ๒๕๕๗
ถึง ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๒๘ ราย
ผู้ต้องขังในเรือนจำ
๑๗ ราย
นักโทษคดีมาตรา ๑๑๒
๓ ราย
ผู้ต้องขังคดีสหพันธรัฐไท และมาตรา ๑๑๖
๘ ราย
ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับอาวุธ
๑๐๔ ราย
ผู้ลี้ภัยทางการเมือง
อ้างอิง : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน