Image
Image
ท่ามกลางสภาวการณ์อันยากลำบากของการกักกันตัว จำกัดบริเวณ ลดกิจกรรมการสังสรรค์ในช่วงโควิด-1
๑๙ ระบาดรุนแรง ชีวิตทางอาหารของคนไทยคงเปลี่ยนไปไม่น้อยนะครับ

การไปนั่งกินที่ร้าน จับจ่ายของในตลาดสดขนาดใหญ่ เข้าแถวรอคิวขนมเจ้าอร่อย ฯลฯ อาจต้องระงับไปแทบไม่มีกำหนด หลายคนคงเริ่มสั่งของกินในระบบขนส่งแบบใหม่ๆ ได้คล่องแคล่ว ขณะที่บางคนคงทำใจออกเก็บ ผักข้างทางหรือเข้าครัวทำกับข้าวกินเองกันบ้างแล้ว
Image
วิกฤตหลายครั้ง นำมาซึ่งการทบทวนหาทางออกใหม่ๆ... เพื่อนกินคนหนึ่งของผม คือคุณกาย มิตรวิจารณ์ ได้ชักชวนมิตรสหายเข้าร่วมแผนการ food swap - แลกอาหารการกินในภาวะความสุ่มเสี่ยงนี้ ผมเดาว่าคุณกายเชื่อว่า นอกจากพวกเราจะได้กินอาหารปลอดภัย อร่อย ได้เจอกันบ้างชั่วครู่ช่วยยาม (อย่างระมัดระวังตัว) กิจกรรมนี้ยังพัฒนาต่อยอดไปอีกได้มาก ที่ผมชอบก็คือ การนัด "แลกกันชิม" เพียงครั้งเดียวใน ๑ สัปดาห์ จะมีหัวข้อหลัก (theme) ร่วมกันว่า อาหารที่แต่ละคนจะทำมานั้นเป็นการตีความ จากโจทย์อะไร

นอกจากการหาอยู่หากิน มันจึงเป็นการรับสมองประลองเชาว์ไปด้วย เช่นครั้งล่าสุด โจทย์คือ "มรดก" (heritage) เราต่างก็ต้องตีความว่า อาหารที่เป็นมรดกในความเข้าใจของเราแต่ละคนคืออะไร และเมื่อทำเสร็จออกมาให้ชิมลิ้มรสแล้ว จะเขียนพรรณนา ให้เพื่อนๆ เข้าใจและ "รู้จัก" มรดกจานนี้อย่างไร
Image
ผ่านอาหารหนึ่งจาน สิ่งที่เราสื่อนั้น คนอื่นๆ จะเห็น "สาร" ที่เราส่งออกไปซักกี่เปิร์เซ็นต์ ?

และถ้าอาหารคือบทสนทนา การกินอาหารฝีมือเพื่อนก็คือการได้พูดคุยผ่านตัวตนของพวกเขา และนอกจากหลุดพ้นไปจากการพูดแต่กับตัวเองแล้ว หัวข้อหลักแต่ละครั้งยังเหมือนการเปิด "clubhouse ทิพย์" พูดคุยประเด็นเฉพาะเรื่องนั้นๆ อย่างอิ่มหนำด้วย

คล้ายๆ การแลกข้าวแลกแกงหลังงานบุญสมัยก่อน แผนงาน food swap นี้น่าสนุกตรงที่การกำหนด ประเด็นพูดคุยกันได้ และคงสนุกกว่านี้ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น จนสมาชิกสามารถมานั่งพูดอธิบายกับข้าวกับปลาของตัวเองได้ยาวๆ ก่อนจะได้อิ่มอร่อยกับมื้อนั้นๆ ร่วมกัน

theme ครั้งหน้าของพวกเรานั้นก็คือ "กินอาหารต้านโควิด" ครับ!
Image