KAREN

กะเหรี่ยง คนของป่า

เรื่องและภาพ : นันทวัน วาตะ

“ออทีเกอตอที 
ออก่อเกอตอก่อ”

“กินน้ำต้องรักษาน้ำ 
กินอยู่กับป่าต้องรักษาป่า”

Image

Image

ความหลากหลาย
การใช้คำเรียก
กะเหรี่ยงสี่กลุ่ม
ในประเทศไทย

๑. กะเหรี่ยงสะกอ  

- ปกาเกอะญอ, 
ปกากะญอ, ปวาเกอญอ, 
 ปากะญอ, สะกอ, สกอ,  ส่อง, ส่าง, ยางดอย, 
ยางขาว, กะหร่าง  (ราชบุรี เพชรบุรี)  

- Skaw, Sgaw, Paganyaw

Image

Image

๒. กะเหรี่ยงโป

- โป, โปว์, โผล่ง, โพล่ง, 
โพล่วง, พร่ง, พล่อ, ซู, 
ยางเปียง, ยางแดง, 
ยางนํ้า, ยางบ้าน 

- P’wo, Pwo, Phlaung

๓. กะเหรี่ยงปะโอ

- ปะโอ, ปาโอ, ตองตู, ตองสู, ต่องตู่, ตองสู้, ต่องสู้, ต่องซู่  

- Pa-O, Taungthu, TuangTsu

Image
Image
Image

Image

๔. กะเหรี่ยงคะยา

- คะยา, คะยาห์, กะแย, 
กะยา, กะเรนนี, คะยินนี่, 
บะเว, บเว, แบร, 
กะเหรี่ยงแดง, ยางแดง  

- Kayah, Kya, Bwe, 
B’ghwe

กะเหรี่ยง คนของป่า

คนกะเหรี่ยงมีวิถีชีวิตที่รักสงบสอดคล้องกลมกลืนกับป่าและธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้จากความเชื่อและพิธีกรรม ตลอดจนการดำรงชีวิต  ในประเทศไทยแบ่งชาวกะเหรี่ยงออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ คือ กะเหรี่ยงปกาเกอะญอกะเหรี่ยงโปว์หรือโผล่ว  กะเหรี่ยงปะโอหรือตองสู และกะเหรี่ยงกะแยหรือบะเวเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงเรียบง่าย แต่มีความเฉพาะตัว ทำให้เรารู้ว่าพี่น้องชาวกะเหรี่ยงมาจากกลุ่มไหน

กะเหรี่ยงสกอ
หรือปกาเกอะญอ

ชาวปกาเกอะญอสร้างสรรค์ลวดลายสีสันของผ้าทอตามลวดลายจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นดวงดาว สายนํ้า สัตว์ป่า ดอกไม้ ใบไม้ และยังตกแต่งด้วยเมล็ดพืชในท้องถิ่นอย่างลูกเดือย  เด็กหญิงหรือหญิงสาวที่ยังไม่ออกเรือนจะสวมชุดสีขาวยาวกรอมข้อเท้าที่เรียกว่า “เชวา”  หากออกเรือนแล้วจะสวม “เชโม่ซู” เป็นเสื้อสีดำปักลวดลายจากลูกเดือย นุ่งผ้าถุงมัดหมี่สีแดงที่เรียกว่า “หนี่” และใช้ผ้าเข่อเผ่อกิโพกหัว  ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อสีแดงทรงกระบอก นุ่งกางเกงสะดอสีดำหรือโสร่ง และโพกหัวด้วยผ้าแดงหรือขาว

Image

ผู้หญิงที่ออกเรือนแล้วสวมเสื้อ “เชโม่ซู”  เด็กสาวสวมชุดเชวา

Image
Image

 ทุกคนต้องนำ
สายสะดือมาผูกกับต้นไม้ 
และถือเป็นต้นไม้ประจำตัว
ที่ต้องรักษา

ปก่าแกซะเซอมู 
ภาษาปกาเกอะญอหมายถึง 
ป่าคือชีวิต

Image

ชาวกะเหรี่ยงทอผ้าใช้เอง
โดยมีการทอผ้าที่เรียกว่าการทอแบบกี่เอว

Image

ไม่ใช่แค่ผ้าทอที่เป็นสินค้านิยมซื้อ 
กาแฟของชาวกะเหรี่ยงที่ปลูกเอง เก็บเกี่ยวและคั่วขายเอง ก็เป็นที่นิยมของคอกาแฟไม่แพ้กัน

Image

กะเหรี่ยงโปว์
หรือโผล่ว

ชุดผู้หญิงของกะเหรี่ยงโปว์คล้ายคลึงกับปกาเกอะญอ สีและลวดลายก็แตกต่างกันไปตามพื้นที่อาศัย แต่ประดับปักตกแต่งเสื้อด้วยลูกเดือยเหมือนกัน ส่วนผู้ชายโปว์สวมเสื้อทรงกระสอบ ผ้าทอพื้นขาวลายแดง

Image

บ้านของชาวกะเหรี่ยงเดิมนั้นใช้ไม้ไผ่ หญ้าแฝก มุงหลังคาบ้างก็ใช้ใบตองตึง 
แต่ก็อาจแตกต่างไปตามพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งล้วนเป็นวัสดุจากธรรมชาติใกล้ตัว

Image

ลูกเดือยที่นำมาปักเสื้อของผู้หญิงกะเหรี่ยงหมายถึง ความอบอุ่น ความร่มเย็นและความรัก อันเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

Image

ถาดไม้ในพิธีเรียกขวัญบรรจุสิ่งมงคลที่เป็นตัวแทนแห่งความสามัคคีและสันติสุข

Image

กะเหรี่ยงปะโอ
หรือตองสู

ผู้หญิงปะโอนุ่งผ้าถุงและสวมเสื้อสีดำคอจีนเอวลอยเป็นชั้นนอก เสื้อข้างในทรงกระสอบ พันหน้าแข้งเหมือนผู้หญิงมูเซอมีลายพญานาคติดอกเสื้อ และมีเครื่องประดับที่ผ้าโพกศีรษะ

ผู้ชายปะโอแต่งกายคล้ายชาวไทยใหญ่ นุ่งห่มด้วยผ้าฝ้ายย้อมไม้มะเกลือ สวมกางเกงเป้าหย่อน “เตี่ยวโหย่ง” หรือ “โก๋นโฮง” สวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก ผ่าอกตลอด กระดุมแบบจีน 

Image

คนกะเหรี่ยงกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ทุกกลุ่มนั้นส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับป่า นอกจากหาของป่าแล้ว ก็ยังทำนาทำไร่หมุนเวียนและเลี้ยงสัตว์ บ้านของพวกเขาจึงมีคอกสัตว์อยู่ใต้ถุนบ้าน ชั้นบนจัดไว้เป็นพื้นที่สำหรับทำครัวและพักผ่อน

Image

Image

ชาวกะเหรี่ยงแบก “โง” คือที่ใส่ของ
หรือพืชผักที่เก็บได้จากในป่า 
เมื่อถึงฤดูกาลเกี่ยวข้าวก็ไว้ใส่ข้าวฟ่อน ภายใน “โง” เต็มไปด้วยอาหารสดใหม่ ผักตามฤดูกาล หน่อไม้ เห็ด จากป่า ปลาและปูตัวเล็กๆ จากลำธาร

Image

ชาวกะแยหรือบะเว

บางคนก็เรียกว่ากะเหรี่ยงแดง เสื้อผ้าแตกต่างจากอีกสามกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด  ชุดของผู้หญิงกะแยเรียกว่า “กะแยหมื่อ” ใช้ผ้าทอทั้งผืนผูกเฉียงบ่า แล้วสวมเครื่องประดับ มีผ้าขาวผูกเอว เชือกหุ้มเข่า และโพกผ้าสีแดงบนหัว บางคนก็สวมกำไลข้อเท้า ส่วนผู้ชายใส่เสื้อทรงกระสอบสีแดงปล่อยด้ายชายเสื้อ โพกผ้าสีแดง นุ่งกางเกงเรียกว่าชุด “กะแยควา”

Image
Image
Image

“กะแยหมื่อ”
“กะแยควา”
ชุดเด็กกะแย

Image

กะเหรี่ยงคอยาว
หรือปะด่อง

Image

กะเหรี่ยงหูยาว

...
นอกจากกะเหรี่ยงทั้งสี่กลุ่มแล้ว
ประเทศไทยยังมีชาวกะเหรี่ยงกลุ่ม เล็กๆ ที่อพยพเข้ามาอีก คือ กะเหรี่ยง คอยาวหรือปะด่อง กับกะเหรี่ยงหูยาว  ที่อาศัยอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พิธีกรรมของกลุ่มกะเหรี่ยงปกาเกอะญอและโปว์
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เพื่อขอขมา ขอบคุณ และขอพรต่อเทวดาผู้รักษาดิน น้ำ ป่า

จากสกู๊ปมาบุ๊โคะ บุญปีใหม่พิทักษ์โลก
นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๓๕๕ กันยายน ๒๕๕๗
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์

Image