จากหาบเร่แผงลอย ถึงสตรีตฟู้ด ตอน 3

จาก “หาบเร่ แผงลอย” สู่ ่“สตรีตฟู้ด”

นับแต่ทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การพัฒนาเมืองสมัยใหม่ยิ่งทำให้หาบเร่แผงลอยกลายเป็น “สิ่งผิดปรกติ” หรือ “ความน่ารังเกียจ” กีดขวางการสัญจร ไม่ถูกสุขอนามัย สร้างความสกปรกให้แก่บ้าน เมือง และ “ผิดกฎหมาย” ดังนั้นรัฐจึงพยายามเข้าควบคุมด้วยวิธีต่างๆ ถึงขนาดเคยมีนโยบายให้ตำรวจไล่จับหาบเร่แผงลอย ก่อนจะผลักภาระให้เจ้าหน้าที่เทศกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในเวลาต่อมา
ในยุคที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง ดูเหมือนยังมีท่าทีผ่อนปรนในลักษณะต่าง ๆ เช่นสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เคยมีการ “ขอความร่วมมือ” ให้หาบเร่แผงลอยริมถนนหยุดขายสัปดาห์ ละ ๑ วันในวันพุธ เพื่อทำความสะอาดทางเท้า หรือช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯ ในทศวรรษ ๒๕๔๐ ผู้ว่าฯ สมัครดูเหมือนจะมีน้ำเสียง “เห็นอกเห็นใจ” ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเป็นพิเศษ เช่นที่ท่าน เคยเขียนไว้เมื่อปี ๒๕๔๕ ว่า
“ผมเพียงอยากจะเรียนท่านที่แสดงความไม่พอใจและแสดงความจงเกลียดจงชังพวกพ่อค้า แม่ขายพวกหาบเร่แผงลอยดูเหมือนกับพวกเขาเป็นเสนียดจัญไรของบ้านเมืองนี้...บ้านเมืองจะทำไว้สวยสดงดงาม มีบริเวณอวดชาวต่างประเทศได้ทั่วไป วังก็สวย วัดก็สวย ถนนก็สะอาด หมู่บ้าน ตึกงาม ส ำนักงานก็ดีเยี่ยม แต่บ้านเมืองต้องมีตลาดต้องมีย่านที่ผู้คนทำมาค้าขาย สถานที่อย่างที่บ้านเมืองเรามี (เช่นที่บริเวณหน้าตลาดสดทั้งหลาย) บ้านเมืองอื่นเขาก็มี ทุกตลาดต้องมีกองขยะ... บ้านเมืองที่ค้าขายอาหารการกินกันแบบที่ถ้ากินในซุปเปอร์มาเก็ตก็เป็นความเจริญก้าวหน้าอย่างหนึ่ง แต่บ้านเมืองที่ยังรักษาการค้าแบบตลาดสดและยืดเยื้อกันออกมาขายตามริมถนนรนแคม แถวหน้าตลาดสดแบบหาบเร่แผงลอยบ้างก็ไม่ถึงกับเป็นความเสียหายหรือน่าอับอาย ตรงกันข้าม มันเป็นสีสันอย่างหนึ่งของการค้าขายแบบบ้านเราที่เรายังรักษาเอาไว้ได้”
นอกจากนั้นผู้ว่าฯ สมัครเคยมีข้อเสนอแนะผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในแต่ละย่านรวมกันจัดทำรถล้างจานที่มีหม้อต้มน้ำเดือดมาลวกถ้วยชาม ช้อนส้อม และตะเกียบเพื่อความสะอาด ถึงขนาดออกแบบรถล้างจานให้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ กทม. จัดสร้างรถเข็นต้นแบบขึ้นมาอวดสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตามทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ ติดตามมาด้วยการยกเลิกการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งประเทศ ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ว่างลงจึงกลายเป็นบุคคลที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. แนวโน้มที่ปรากฏชัดเจนคือการให้น้ำหนักแก่แนวนโยบายของภาคราชการ

รูปยาซิกาแรต

ชุดอาชีพต่าง ๆ ของบริษัทยาสูบบริติช-อเมริกัน ราวปี ๒๔๖๓
(อ่านภาพโดย : เสริม สุนทรานันท์. รูปยาซิกาแรตไทย. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์, ๒๕๔๐.)
Image
(๓) เด็กขายถึ่งชังเปาะเปี๊ยะ
Image
(๔) ขายก๋วยเตี๋ยว
Image
(๑๗) ขายไข่หวาน
Image
(๑๙) ขายหมากพลู
Image
(๒๑) ขายตังเม
Image
(๓๖) ขายลูกสมอหวาน
Image
(๓๗) ขายข้าวต้มเป็ด
Image
(๔๑) ขายห่อหมก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แอบอิงกับราชการอย่าง กทม. จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องมีท่าทีผ่อนปรนประนีประนอมอีกต่อไป ในเมื่อสามารถแอบอิงอำนาจรัฐเผด็จการทหาร “กวาดล้าง” เมืองหลวง ในนามของผู้รักษากฎหมายได้อย่างเต็มที่ ชนิดที่มิอาจกระทำได้ในระหว่างยุครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
“ผลงาน” โดดเด่นของ กทม. ในยุคหลัง ๒๕๕๗ มีมากมาย นับแต่การไล่รื้อผู้ค้าย่าน “ตลาดสะพานเหล็ก” ที่ปลูกสร้างร้านค้าคร่อมอยู่เหนือคลองโอ่งอ่าง หรือคลองรอบกรุงมาหลายสิบปี (ตุลาคม ๒๕๕๘) กวาดล้างผู้ค้าริมทางย่านประตูน้ำและสยามสแควร์ (เมษายน ๒๕๕๙) จนถึงการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬจนราบคาบ แล้วปรับเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะร้อนแล้งไร้ผู้คน (เมษายน ๒๕๖๑)
ในปลายทศวรรษ ๒๕๕๐ “สตรีตฟู ้ด” (street food) หรืออาหารริมทางกลายเป็นกระแสของวงการท่องเที่ยวระดับโลก ถึงขนาดมีไกด์บุ๊กและตำรากับข้าวภาษาอังกฤษว่าด้วย “สตรีตฟู้ด” ของกรุงเทพฯ ตีพิมพ์ออกมาหลายเล่ม อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็น “เมืองหลวงของสตรีตฟู้ดโลก” หรือไม่ก็ติดอันดับต้นๆ ในโลกอยู่เสมอจนถึงปัจจุบัน
ในด้านหนึ่งภาครัฐเองมีทีท่าปลาบปลื้มกับเรื่องนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ยังคงเถรตรง ยึดมั่นกับทัศนะที่มองเห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือ “สิ่งปฏิกูล” ของเมืองที่ต้องถูกกำจัด หรือหากจะมีความสำคัญอยู่บ้างก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอันดับต้นๆ เช่นถ้อยแถลงของนายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ตีพิมพ์ใน โพสต์ทูเดย์ ที่แสดงทัศนะต่อกรณีสื่อต่างชาติ ยกย่องกรุงเทพฯ ในฐานะแหล่งรวมสตรีตฟู้ด
“ขอบคุณที่ให้เกียรติ เเต่ถามกลับว่าสุขอนามัยของร้านจำหน่ายอาหารบนทางเท้าเป็นอย่างไร มีใครพูดถึงการล้างจานไหม ล้างด้วยน้ำกี่กะละมัง เวียนใช้กี่ครั้ง พูดไหมว่าร้านนำไขมัน เศษอาหาร เทลงท่อระบายน้ำ ฉะนั้นที่บอกว่าการจัดระเบียบทำให้เสน่ห์หายไป ผมว่าไม่เกี่ยว ตรงนั้นไม่ใช่ เสน่ห์ เเต่คือความสกปรก เอกลักษณ์ความเป็นไทยต้องมองอย่างรอบด้าน ไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนอยากเดินกินของอร่อยๆ แล้วถูกล้วงกระเป๋า ถามว่าล้วงกระเป๋าเป็นเอกลักษณ์ที่บวกเข้าไปด้วยหรือเปล่า”
ทว่าสิ่งที่ขาดหายไปจากมุมมองนี้ก็คือ “สตรีตฟู้ด” หรือหาบเร่แผงลอย มิได้เป็นเฉพาะสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว แต่คือชีวิต หรือสิ่งหล่อเลี้ยงผู้คนจำนวนมากในสังคมเมือง ทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค เพราะนี่คือแหล่งอาหารที่หลากหลายและราคาถูก
ต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ ดอกเตอร์ชัชชาติ สิทธิพันธุ ์ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในฐานะผู ้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดอิสระ จึงแสดงทัศนะอีกด้านหนึ่งในการบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังที่ มติชน รายงานว่า
“ประเด็นหาบเร่แผงลอยใน กทม. ที่โดนไล่รื้อ มองว่าควรถามคนในพื้นที่ด้วยว่า เขาเอาหาบเร่แผงลอยไหม ทุกวันนี้ผมก็หาอะไรกินลำบาก เพราะโดนไล่หมดแล้ว...”

อ้างอิง

กรรณิการ์ จุฑามาศ สุมาลี. ยะวา-ชวาในบางกอก. กรุงเทพฯ : ส ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑. “ชัชชาติ” จัดเต็ม ๒ ชม. สแกนยิบ “กทม.” ชี้โครงสร้างรวมศูนย์ ผอ. เขตไม่ผูกพันพื้นที่ เชื่อเมืองพัฒนาได้ เริ่มจากคนมีวินัย. มติชน
๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒. ฐิตินบ โกมลนิมิ. “แม่ ข้าวแกง และเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร”. ใน ปาก-ท้อง และของกิน : จริยธรรมและการเมืองเรื่องอาหารการกิน
เล่ม ๓ (เอกสารประกอบการประชุมประจ ำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ ๙). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, ๒๕๕๓. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, ม.ร.ว.. กินย้อนหลัง. พิมพ์ครั้งที่ ๒ กทม. : บริษัท พี. วาทิน พับลิเคชั่น จ ำกัด, ๒๕๓๐.
“ถนัดศอ” (ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์) ไปกินอาหารร้านเชลล์ชวนชิม. ต่วย’ตูน ฉบับกิน. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (พฤศจิกายน ๒๕๒๑) : ๑๕-๒๗. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี พ.ศ. ๒๔๕๒ และเสด็จประพาสต้น
ในรัชกาลที่ ๕. พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ อุบาสิกาทรัพย์ เอลกวัฒน์. ธนบุรี : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์, ๒๕๑๖.
“สนทนาสุภาสิต”. วชิรญาณวิเศษ. เล่ม ๖ แผ่น ๔๕ (๑๐ กันยายน ร.ศ. ๑๑๐) : ๕๔๓. สมัคร สุนทรเวช. ปีที่สองใน กทม. ความคิดที่ยังก้าวหน้า กับปัญหาที่แลเห็น. กรุงเทพฯ : บริษัท เค.พี. พริ้นติ้ง จ ำกัด, ๒๕๔๕. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ (บรรณาธิการ). ๒๕ ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๕๕.
กรุงเทพฯ : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.
“เสน่ห์กรุงเทพฯ ต้องไม่สกปรก” วัลลภ สุวรรณดี มือจัดระเบียบทางเท้า กทม. โพสต์ทูเดย์. ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙. ใหญ่ นภายน. “ถนนราชด ำเนินที่ข้าพเจ้ารู ้จัก”. เมืองโบราณ ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๔๘) : ๑๑๖-๑๒๑. ___________. “กินอยู่อย่างชาวกรุงเมื่อ ๗๐ ปีก่อน”. เมืองโบราณ ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๘) : ๑๑๗-๑๒๓.
Vandenberghe, Tom & Eva Verplaetse. Bangkok Street Food. Singapore : Page One Publishing, 2011.