มามุง “มะม่วง”
ผลไม้เนื้อหอม
ธรรมชาติ ทำมาโชว์
เรื่อง : สุชาดา ลิมป์
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช
นวลคำ
เดิมชื่อ “จินหวง” (金煌) พันธุ์จากไต้หวันเนื้อเยอะหวานมัน
งาช้างแดง
เดิมชื่อ “หงเซี่ยงหยา” (红象牙) พันธุ์จากไต้หวัน โตเต็มที่อาจหนักถึง ๔ กิโลกรัม เมื่อสุกเปลือกสีแดงเข้มทั้งผลเนื้อในสีเหลืองอมส้ม หอม หวานปนมัน
มหาชนก
ผสมระหว่าง “ซันเซต” (sunset) จากออสเตรเลีย กับ “หนังกลางวัน” เด่นที่ทรงใหญ่ยาวผลสุกเปลือกสีเหลืองทองจนแดงกลิ่นหอมเฉพาะตัวเนื้อแน่น รสหวาน
เขียวใหญ่
(งามเมืองย่า) ปลูกเฉพาะถิ่นอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผสมระหว่าง “น้ำดอกไม้” กับ “มันบางขุนศรี” เนื้อเยอะ ผลสุกหวานหอมเหมือนพันธุ์น้ำดอกไม้
แก้ว
เนื้อหนากรอบ เริ่มสุกเนื้อจะฉ่ำน้ำ หวานอมเปรี้ยว เมื่อสุกจึงหวานมาก
แก้วขมิ้น
ผลใหญ่กว่าแก้วเนื้อในแน่นละเอียดมีสีเหลืองขมิ้นกรอบมัน หวานปนเปรี้ยว
แรด
ผิวเปลือกหยาบ มีติ่งคล้าย “นอแรด” อยู่หลังโหนกโตเต็มที่จะเปรี้ยวจัด พอสุกรสเริ่มจืด
อกร่อง
ผลเล็กแต่เม็ดใหญ่ เนื้อน้อย ผิวช้ำง่าย สีของเนื้อออกเหลืองซีด หอมหวานเฉพาะตัว
แดงจักรพรรดิ
เดิมชื่อ “อวี้เหวิน” (玉文) พันธุ์ผสมไต้หวันระหว่าง “อ้ายเหวิน” (爱文) กับ “จินหวง” ผลสีม่วงเข้ม เมื่อดิบรสหวานมันปนเปรี้ยว พอสุกเนื้อไม่เละไม่มีเสี้ยน หวานหอม
น้ำดอกไม้มัน
(ขาวนิยม) พันธุ์ผสม “เขียวเสวย” กับ “น้ำดอกไม้” ทรงเหมือนน้ำดอกไม้ผลดิบหวานมันอมเปรี้ยวเหมือนเขียวเสวย ผลสุกหวานหอมเหมือนน้ำดอกไม้
น้ำดอกไม้
กำเนิดในอินเดีย เปลือกบางช้ำง่าย ผลสุกสีเหลืองครีม เนื้อแน่น ฉ่ำนํ้า หอมหวาน
เขียวเสวย
ฉายา “ราชินีมะม่วงไทย” นิยมกินตอนดิบ เนื้อจะกรอบ สีขาวขุ่นอมครีม หวานมัน
ทวายเดือนเก้า
ออกผลดีในเดือน ๙ ตามจันทรคติ เมื่อแก่เต็มที่จะเป็นมะม่วงมัน หวานอมเปรี้ยว
โชคอนันต์
นิยมกินเฉพาะผลสุกตอนเปลือกสีเหลืองทอง ทั้งผลเนื้อแน่นหนา หวานหอม
มันหนองแซง
พันธุ์ท้องถิ่น อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ผลขนาดหัวนิ้วโป้งขึ้นไปจะกรอบหวานมัน
อาร์ทูอีทู
(R2E2 : Row 2 Experiment 2) กำเนิดในออสเตรเลีย นิยมกินตอนสุก เมื่อเปลือกสีเหลืองอมแดง เนื้อในสีเหลืองมะนาว ละเอียดเนียนและแข็งเหมือนมะละกอ หวานน้อย