เจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในอาคารหลังของวิหารลักซอร์ (Luxor temple) ซึ่งสร้างขึ้นจากหินทราย อายุกว่า ๓,๔๐๐ ปี

Egypt
A Longtime
go

scoop

เรื่องและภาพ : กิตติธัช โพธิวิจิตร

ตราบใดที่แม่น้ำไนล์ยังคงไหลไปยังเมืองอะเล็กซานเดรียและชาว อี ยิ ป ต์ ยังรู้จักใช้ประโยชน์จากแม่น้ำผู้สร้างชีวิตของพวกเขา เชื่อว่าดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่นี้จะยังคงสั่งสมความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมไปอีกนานหลายพันปี

Image

นับตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๖ รัฐบาลอียิปต์ประกาศค่าเงินปอนด์อียิปต์อ่อนค่าลงทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศขั้นรุนแรงเมื่อเทียบจากเดิม ๑ ปอนด์อียิปต์แลกเป็นเงินบาทได้ถึง ๗ บาท แต่เวลานี้เหลือเพียง ๑.๘๐ บาทเท่านั้น

การท่องเที่ยวคือทางออกเดียวที่จะเรียกเม็ดเงินจากต่างประเทศ
ให้เข้ามาสะพัด ณ เวลานี้ไม่มีสิ่งใดที่ดึงดูดผู้คนได้เลยนอกจากสมบัติของบรรพบุรุษที่หลงเหลืออยู่

พีระมิด สุสานวิหารสมัยอารยธรรมอียิปต์โบราณยังคงเป็นแหล่ง
ทำเงินปีละไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ล้านปอนด์อียิปต์ แม้รัฐบาลจะไม่มีเงินสนับสนุนบูรณะโบราณสถานเหล่านี้ให้สวยงามดั่งที่ตั้งใจนัก แต่ด้วยองค์กรนานาชาติที่ยื่นมือเข้าช่วยทั้งสำรวจ ซ่อมแซม และเก็บรักษา ทำให้อียิปต์ผู้เป็นเจ้าบ้านเสมือนได้ประโยชน์กินเปล่าจากเหล่าฟาโรห์ที่หลับสงบอยู่ในหีบทองคำ

ไม่เพียงความน่าตื่นตาตื่นใจของโบราณสถาน ภาพเขียนสีพิธีกรรมอักษรฮีโรกลีฟิกเต็มผนัง หรือ
เสาโอเบลิสก์ตั้งตระหง่าน อารยธรรมอันเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกนี้ยังหล่อเลี้ยงด้วยแม่น้ำไนล์ที่ยาวที่สุดในโลก 

ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าแม่น้ำสายนี้สร้างชีวิตและชุบชีวิตให้เป็นอมตะได้


แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศของอียิปต์จะเลวร้ายเพียงใด


ตราบใดที่แม่น้ำไนล์ยังคงไหลไปยังเมืองอะเล็กซานเดรียและชาวอียิปต์ยังรู้จักใช้ประโยชน์จาก
แม่น้ำผู้สร้างชีวิตของพวกเขา

และตราบใดที่ความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมโบราณยังได้รับการค้นพบอยู่เรื่อย ๆ ใต้ทะเลทราย
สะฮารา

เชื่อว่าดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่นี้จะยังคงสั่งสมความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมไป
อีกนานหลายพันปี

เสาใหญ่ในวิหารเอ็ดฟู (Edfu) วิหารแห่งนี้เคยจมอยู่ใต้ทะเลทรายนานหลายร้อยปี ก่อนจะสำรวจพบเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน

Image

นักท่องเที่ยวขี่อูฐถ่ายภาพพีระมิด บริเวณรอบนอกของเขตพีระมิดฝั่งทิศตะวันตก

Image

วิหารของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) เมืองลักซอร์สร้างเป็นสามชั้นเชื่อมด้วยทางลาดซึ่งในสมัยนั้นจะเขียวชอุ่มด้วยสวนไม้ประดับ

Image

ทิวทัศน์จากหน้าต่างของวิหารฟิเล (Philae temple) มองเห็นเขื่อนอัสวานเดิมโบราณสถานแห่งนี้จะต้องจมน้ำหากสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ ยูเนสโกจึงมีโครงการช่วยเหลือโดยย้ายวิหารไปตั้งบนเกาะชื่อ Agilika ด้วยการตัดวิหารเป็นบล็อกๆ ไปต่อประกอบขึ้นใหม่

Image

Image
Image

หมู่บ้านชาวนูเบียนส์ (Nubians) ซึ่งเป็นเชื้อสายของกลุ่มชนพื้นเมืองที่เป็นแรงงานหลักในการสร้างอารยธรรมอียิปต์โบราณตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำไนล์ที่อุดมสมบูรณ์

The Nile

แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก แต่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ไหลลัดเลาะทะเลทรายสะฮารากว้างใหญ่ไปจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีแหล่งต้นน้ำจากประเทศเอธิโอเปีย ยูกันดา เคนยา แทนซาเนีย และซูดาน ความยาวรวมทั้งหมดราว ๖,๖๙๕ กิโลเมตร

วิวมุมสูงของแม่น้ำไนล์ มุมซ้ายล่างคือวิหารลักซอร์ พื้นที่สีเขียวฝั่งตรงข้ามตลอดริมฝั่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ชลประทานเข้าถึง และไกลออกไปคือหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) สถานที่ฝังพระศพของกษัตริย์จำนวนมาก

Image
Image
Image

นอกจากใช้ประโยชน์จากน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพาะปลูกพืชผลแล้ว การท่องเที่ยวชมแม่น้ำไนล์ด้วยเรือเฟลุกกา หรือขึ้นบอลลูนชมวิว ยังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หล่อเลี้ยงชาวอียิปต์ในปัจจุบัน

Image

ปัจจุบันแม่น้ำไนล์ตอนกลางมีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นลำน้ำ บริเวณเมืองอัสวาน (Aswan) และมีระบบชลประทานให้พื้นที่โดยรอบ พืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ คือ กล้วย อ้อย มะม่วง ทับทิม ส้ม ลูกไหน ลูกพลับ อินทผลัม และพืชผักต่าง ๆ