Image

EP.02

บรรยายภาพ : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี

SINGLE LENS
REFLEX (SLR)

กล้อง SLR ซึ่งใช้ฟิล์ม ๑๓๕ เลนส์รับแสงส่งไปที่ช่องมองภาพและบันทึกภาพบนฟิล์ม ทำให้ภาพที่เห็นในช่องมองภาพตรงกับภาพที่ถ่าย ไม่มีความผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพเหมือนกล้อง twin-lens reflex และ rangefinder โดยมีกระจกวางเฉียง ๔๕ องศา ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากเลนส์ไปยังปริซึมแล้วหักเหเข้าสู่ช่องมองภาพ  เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์กระจกจะกระดกขึ้นหลบให้แสงตรงผ่านไปยังฟิล์ม ระบบชัตเตอร์ม่านทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูงมาก  ต่อมาพัฒนาระบบออโตโฟกัสและระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยให้การถ่ายภาพมีคุณภาพและง่ายขึ้น  เลนส์มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้กับกล้อง

Image

Nikon F

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๕๙-๑๙๗๓
ประเทศ  : ญี่ปุ่น 

กล้องฟิล์ม SLR ระดับมืออาชีพรุ่นแรกของนิคอน ม่านชัตเตอร์ทำด้วยไทเทเนียมถอดเปลี่ยนและเพิ่มเติมอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น เลนส์ ปริซึม สามารถติดระบบขับเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ (motor driven) และ 250 Exposure film back ทำให้สามารถถ่ายภาพได้ถึง ๒๕๐ ภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของช่างภาพที่ต้องถ่ายบันทึกภาพการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศในทศวรรษ ๑๙๖๐ 

Canon F-1

Image


ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๗๑-๑๙๘๑
ประเทศ  :  ญี่ปุ่น 
เป็นกล้อง SLR ระดับมืออาชีพ
รุ่นแรกของแคนนอน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก  
อุปกรณ์เสริมและชิ้นส่วนสามารถถอดเปลี่ยนได้หลากหลาย 
เฉพาะช่องมองภาพมีให้เลือกถึงสี่แบบ 
ใช้ระบบวัดแสง TTL - through the lens 
คือวัดแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามาโดยตรง

Zenit TTL

Image

ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๗๗-๑๙๘๕
ประเทศ  :  รัสเซีย

Rolleiflex
SL 2000 F

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๘๑
ประเทศ : เยอรมนี

กล้อง SLR ที่ออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายกล้อง medium format

GOLD
CAMERA

หลายครั้งที่กล้องไม่ได้ทำหน้าที่เพียงอุปกรณ์บันทึกภาพ  หากแต่ถูกสร้างขึ้นตามวาระโอกาสพิเศษ อาทิ งานเฉลิมฉลอง งานครบรอบ งานโฆษณา ฯลฯ  กรณีเช่นนี้อาจมีการจารึกข้อความพิเศษบางอย่างลงบนตัวกล้อง หรือตกแต่งด้วยวัสดุพิเศษ นอกจากใช้เก็บบันทึกภาพความทรงจำ  ตัวกล้องเองยังถือเป็นอีกหนึ่งความทรงจำของผู้คน

Nikon 
FA Gold   

Image

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๘๔
ขนาดฟิล์ม  : ๓๕ มิลลิเมตร
ประเทศ  : สหรัฐอเมริกา

เคลือบทอง ๒๔ เค ส่วนอื่นหุ้มด้วยหนังกิ้งก่า ผลิตขึ้นเพียง ๒,๐๐๐ ตัวเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่กล้อง Nikon FA ได้รับรางวัลใหญ่คือ Camera Grand Prix 84 และ European Camera of the Year Award 1984 ปัจจุบันราคาในเว็บไซต์ eBay เริ่มที่ ๒,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

Zenit   

Image

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๕๒
ประเทศ : รัสเซีย

Zenit เป็นกล้องที่ผลิตในรัสเซีย 
กล้องทองรุ่นนี้มีหน้าตาคล้ายรุ่น Zenit 12 ที่ผลิตขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๘๓-๑๙๙๔ แต่ไม่มีข้อมูลชัดเจน

STEREO

กล้องถ่ายภาพแบบสเตอริโอหรือกล้องถ่ายภาพสามมิติ (three dimension camera) ออกแบบมา เพื่อถ่ายภาพสามมิติโดยเฉพาะ  ประกอบด้วยเลนส์สองตัวซ้าย-ขวา เมื่อกดชัตเตอร์หนึ่งครั้งจะได้สองภาพที่เหลื่อมกัน ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษดูภาพเป็นสามมิติ

Stereo
Camera

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๔-๑๙๕๙
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

ใช้ฟิล์มสไลด์ ๓๕ มิลลิเมตร ได้รับความนิยมมาก จำหน่ายได้ถึง ๑ แสนตัว

View-Master 
Personal Stereo
Camera

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๒
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

Blair Stereo 
Hawkeye Model 
No. 2

Image

ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๐๔-๑๙๐๗
ขนาดฟิล์ม  :  ๑๑๘
ขนาดภาพ  :  ๓ ๑/๔ x ๓ ๑/๔ นิ้ว

ผลิตโดยบริษัทแบลร์ (Blair Camera Co.) ก่อนจะยุบรวมกับโกดัก ชัตเตอร์ทำด้วยทองเหลือง แต่งขอบด้วยนิกเกิลสีสว่าง ตัวกล่องทำด้วยไม้มะฮอกกานีขัดมัน

LEICA

กล้อง Leica 1 หรือ Model A วางจำหน่ายครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๒๕ (รุ่นทดลองที่ออกมาก่อนคือ UR Leica, Leica O) แม้ไลก้าจะไม่ใช่เจ้าแรกที่นำฟิล์มขนาด ๓๕ มิลลิเมตร มาใช้กับกล้องถ่ายภาพ แต่เป็นกล้องที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จุดเด่นคือกระบวนการผลิตแบบ “ทำมือ” (craftsmanship) จำนวนครึ่งหนึ่งของชิ้นส่วนกล้องทั้งหมดไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น เลนส์ไลก้ายังได้รับการยอมรับว่าเป็นเลนส์คุณภาพสูง ซึ่งผลิตด้วยความพิถีพิถันสูงของช่างฝีมือหญิง 

คำว่า Leica มีที่มาจาก Lei อักษรสามตัวแรกของคำว่า Leitz (นามสกุลของ Ernst Leitz ผู้ก่อตั้ง) และ ca จากสองตัวแรกของคำว่า camera  ได้รับความนิยมจากนักสะสมทั่วโลก

Leica IIIa  

Image

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๓๕-๑๙๕๐  
ประเทศ  : เยอรมนี

ปรับปรุงจากกล้อง Leica III ซึ่งวางจำหน่ายใน ค.ศ. ๑๙๓๓ ปรับปรุง rangefinder ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้โฟกัสได้แม่นยำขึ้น กล้อง Leica IIIa เป็นรุ่นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นก่อน ออสคาร์ บาร์แน็ก (Oskar Barnack) ผู้ออกแบบไลก้าจะเสียชีวิต ในภาพติดตั้ง multi viewfinder สำหรับเลนส์ขนาด ๓๕-๑๓๕ มิลลิเมตร

Leica I  

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๒๕
ประเทศ : เยอรมนี

กล้องรุ่นแรกของไลก้า เมื่อผลิตออกมาได้รับความนิยมอย่างมากจำหน่ายได้นับแสนตัว Leica I แบบแรกเรียกว่า Model A พัฒนาตามมาเป็น Model B, C การหาระยะโฟกัสใช้อุปกรณ์วัดระยะภายนอก (extra rangefinder) แล้วจึงมาตั้งระยะโฟกัสที่เลนส์ ในภาพติดหันออกด้านหน้าเพื่อจัดแสดงให้เห็นรายละเอียด

Leica M3

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๔-๑๙๖๖
ประเทศ : เยอรมนี

ถือเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดในซีรีส์ M ด้วยยอดขายรวมกว่า ๒ แสนตัว เมื่อสิ้นสุดการผลิตใน ค.ศ. ๑๙๖๖ เป็นกล้องฟิล์ม ๓๕ มิลลิเมตรแบบ rangefinder เปลี่ยนเลนส์ได้ ความเร็วชัตเตอร์ ๑/๑๐๐๐ ซึ่งสูงมากในขณะนั้น

Leica M6

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๔-๑๙๖๖
ประเทศ : เยอรมนี

ถือเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดในซีรีส์ M ด้วยยอดขายรวมกว่า ๒ แสนตัว เมื่อสิ้นสุดการผลิตใน ค.ศ. ๑๙๖๖ เป็นกล้องฟิล์ม ๓๕ มิลลิเมตรแบบ rangefinder เปลี่ยนเลนส์ได้ ความเร็วชัตเตอร์ ๑/๑๐๐๐ ซึ่งสูงมากในขณะนั้น

ULTRA-
MINIATURE

กล้องเล็กพิเศษหรือกล้องนักสืบ บางครั้งเรียก subminiature camera หรือ super miniature camera มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกติดตัวได้สะดวก สามารถซ่อนในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงเพื่อบันทึกภาพโดยไม่ให้ผู้ถูกถ่ายภาพรู้ตัว กล้องชนิดนี้ปรับหน้ากล้องอัตโนมัติ บางรุ่นมีแฟลช ส่วนใหญ่ใช้ฟิล์มขนาด ๑๖ มิลลิเมตร 

John Player 
Special  Filter
Spy Camera 

กล้องสายลับทำเลียนแบบกล่องบุหรี่

Image

Minolta 16

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๕-๑๙๗๔
ประเทศ : ญี่ปุ่น

Acmel M

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๘๔
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

Mamiya  
Automatic 16

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๙
ประเทศ : ญี่ปุ่น

พัฒนาจาก Mamiya Super 16 โดยเพิ่มตัววัดแสง selenium ที่ด้านขวาของหน้ากล้อง

Image

Image

Minicord

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๓-๑๙๕๘
ขนาดฟิล์ม : ๑๖ มิลลิเมตร
ประเทศ : ออสเตรีย

ผลิตโดยบริษัท C.P. Goerz เป็นกล้อง twin-lens reflex มีขนาดใหญ่กว่าซองบุหรี่เพียงนิดเดียว ได้ชื่อว่าเป็นกล้องขนาดจิ๋วคุณภาพสูงติดหนึ่งในสามของโลกร่วมกับกล้องฟิล์มยี่ห้อ Minox และ Gami16

POLAROID

ผู้คิดประดิษฐ์กล้องโพลารอยด์ตัวแรกคือ Edwin Land เพื่อเอาใจลูกสาววัย ๓ ขวบที่ต้องการเห็นภาพเมื่อถ่ายเสร็จทันที ทำให้เกิดกล้อง Polaroid Land Camera Model 95 ขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๔๘ ถือเป็นกล้องตัวแรกของกล้องประเภท instant camera ซึ่งอัดรูปที่ถ่ายบนกระดาษออกมาให้หลังถ่ายภาพในเวลาไม่กี่นาที  ภายหลังนิยมใช้งานที่ต้องการความรวดเร็ว หรือเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มตัวอื่น

Polaroid
Pathfinder
110A 

ผลิต : ต้นทศวรรษ ๑๙๕๐
ขนาดภาพ : ๗.๒ x ๙.๕ เซนติเมตร
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

เป็นกล้องโพลารอยด์คุณภาพสูง 
สำหรับช่างภาพอาชีพ 

Image

Polaroid 
Land Camera 
Model 180

Image

ผลิต : ช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐
ขนาดฟิล์ม : ๑๐๗ และ ๑๐๘
ขนาดภาพ : ๓ ๑/๔ x ๔ ๑/๔ นิ้ว
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

UNDER WATER

กล้องถ่ายภาพใต้น้ำออกแบบมาเพื่อใช้งานใต้น้ำโดยเฉพาะ ตัวกล้องมีขนาดใหญ่และหนัก  ลักษณะเด่นของกล้องประเภทนี้คือปุ่มควบคุมมีขนาดใหญ่ มีซีลยางกันน้ำเข้าตามฝาหลัง เลนส์ ปุ่มกดต่างๆ ตัวกล้องมักมีสีสด

Image

Nikonos III 

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๗๕-๑๙๗๙
ประเทศ : ญี่ปุ่น

พัฒนารูปทรงมาจากกล้องถ่ายภาพใต้นํ้า ๓๕ มิลลิเมตรตัวแรก คือ Calypso ของฝรั่งเศส ดำนํ้าลึกได้ถึง ๕๐ เมตร เลนส์ W-Nikkor 35 mm F2.5

PANORAMA

ใช้เลนส์มุมกว้างพิเศษสำหรับถ่ายภาพให้มีมุมมองกว้างโดยสัดส่วนของภาพไม่ผิดเพี้ยน เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ผู้คนจำนวนมาก สถาปัตยกรรมภายนอกและภายใน ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะยาวกว่าปรกติ เช่น ๖ x ๑๒, ๖ x ๑๗ เซนติเมตร

Horseman
SW 612 

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๙๙
ประเทศ : ญี่ปุ่น

ใช้กลไกทั้งหมด ไม่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ เป็นกล้อง medium format ตัวแรกของโลกที่สามารถถ่ายภาพระดับ ultra wide-angle ใช้ฟิล์ม ๑๒๐ กล่องฟิล์มม้วนหลังกล้องมีขนาด ๖ x ๑๒ เซนติเมตร สามารถถอดเปลี่ยนเป็น ๖ x ๗ และ ๖ x ๙ เซนติเมตรได้ ใช้กับเลนส์ Schneider หรือ Rodenstock ของเยอรมนี

COMPACT

กล้องขนาดเล็ก พกพาง่าย ระบบส่วนใหญ่เป็นออโตเมติก ผู้ถ่ายไม่สามารถปรับแต่งได้มากนัก นอกจากกดปุ่มถ่ายภาพ  บางครั้งจึงเรียกว่า point and shoot camera

Tenax 
Automatic

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๐
ประเทศ : เยอรมนี

ผลิตโดยบริษัท Zeiss Ikon
ในเครือเดียวกับบริษัท Carl Zeiss จึงใช้เลนส์ของ Carl Zeiss ด้วย มีแหวนปรับระยะโฟกัสตามภาพสัญลักษณ์ให้ถ่ายวัตถุได้สามระยะ ใบหน้าบุคคล กลุ่มคน และทิวทัศน์ 

Kodak Trimlite 
Instamatic 48

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๗๕
ประเทศ : ญี่ปุ่น

ระยะโฟกัสชัดแบ่งเป็นสองโซนใกล้กับไกล

Rollei 35

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๖
ประเทศ : เยอรมนี

ผลิตเพื่อแข่งกับกล้อง subminiature แต่ใช้ฟิล์มขนาด ๓๕ มิลลิเมตร ออกแบบให้ลดขนาดลงมาหนึ่งในสามของกล้องสมัยนั้น

Canon
Dial 35 

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๓
ประเทศ : ญี่ปุ่น

กล้อง half-frame มีรูปทรงแปลกตา มีตัววัดแสงอิเล็กทรอนิกส์ Cds อยู่รอบเลนส์
ขนาด ๒๘ มิลลิเมตร

HI-SPEED
Camera

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๗๐
ประเทศ : เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

ตัวกล้องทำด้วยพลาสติก

EURO

ชื่อเสียงและความนิยมของกล้องฟิล์ม Nikon, Canon ของญี่ปุ่น  Leica, Rolleiflex ของเยอรมนี  Kodak ของสหรัฐอเมริกา อาจทำให้หลายคนเข้าใจว่าผู้ผลิตกล้องฟิล์มจำกัดอยู่แค่ไม่กี่ประเทศในโลก ทั้งที่จริงแล้วยังมีอีกหลายประเทศผลิตกล้องเป็นของตนเองและเป็นแบรนด์ชั้นนำ

Image

Voigtländer
Vito BL  

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๖-๑๙๖๐
ประเทศ : เยอรมนี

Voigtländer เป็นบริษัทที่เก่าแก่มากด้านการผลิตเลนส์ เป็นผู้ริเริ่มการผลิตเลนส์แบบ Petzval สำหรับการถ่ายภาพใน ค.ศ. ๑๘๔๐

Alpa Reflex II 

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๔๗
ประเทศ : สวิตเซอร์แลนด์

ผลิตโดยบริษัท Pignons SA ก่อตั้งใน ค.ศ. ๑๙๑๘ เริ่มต้นจากการทำชิ้นส่วนนาฬิกา เริ่มผลิตกล้อง Alpa รุ่นแรกใน ค.ศ. ๑๙๔๔  

Kiev 6

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๘๔-๑๙๙๐
ประเทศ : รัสเซีย-ยูเครน

กล้อง medium format ขนาดภาพ ๖x ๖ เซนติเมตร ผลิตโดยบริษัท Arsenal Factory ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Kiev เป็นโรงงานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมือง ก่อตั้งใน ค.ศ. ๑๗๖๔

Viva 126 1000

Image

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๗๒ 
ประเทศ : ฝรั่งเศส

ผลิตโดยบริษัท Fex-Indo ซึ่งเริ่มการผลิตกล้องถ่ายภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ 
ศักดา ศิริพันธุ์* 
คุณค่าและความสำคัญ
ของพิพิธภัณฑ์กล้อง

เรื่อง : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์

*ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า
กัลยาณิวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Image

"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ ดำเนินการก่อสร้างภายในคณะวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๓๑ การก่อสร้างแล้วเสร็จกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มีพระมหากรุณาธิคุณรับเป็นองค์อุปถัมภ์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นับเป็นพิพิธภัณฑ์กล้องแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการจัดแสดงกล้องถ่ายภาพ ภาพถ่าย อย่างเป็นการเฉพาะ

“หลังผมกลับมาจากต่างประเทศ ก่อตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีการพิมพ์  ใครมาขอความช่วยเหลือ เชิญไปเลกเชอร์ที่ไหนผมไปหมด โดยไม่คำนึงถึงสิ่งตอบแทน แล้ววันหนึ่งผมบอกว่าอยากจะสร้างพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เรียนรู้ ทุกบริษัทก็ยื่นมือสนับสนุน

“รายชื่อบุคคลที่บริจาคกล้องถ่ายรูป อาทิ คุณบัญชา ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้มอบกล้องรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ท่านเรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อท่านทราบข่าวว่าจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ก็นำกล้องที่เคยมีคนซื้อมาเป็นของฝากจากเมืองนอก บางตัวยังไม่เคยใช้เลยมามอบให้ คุณชาติชาย ชุณหะวัณ จำผมได้ตั้งแต่สมัยที่ผมเป็นนายกสมาคมนักเรียนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ เห็นผมออกโทรทัศน์ว่าจะสร้างพิพิธภัณฑ์ก็โทรศัพท์มาหา บอกให้ผมไปกินข้าวที่บ้าน เสร็จแล้วพาไปดูกล้องที่ท่านเก็บไว้ บอกว่าขนไปได้ทั้งหมด ผมอายท่านก็ไม่ได้ขน  แล้วท่านก็บอกให้คนขนขึ้นรถขับมาให้ที่จุฬาฯ

“ในต่างประเทศผมใช้วิธีที่เรียกว่าตกเบ็ดราว  คือผมไปงานโฟโตคีนางานแสดงกล้องระดับโลกที่เมืองโคโลญ เยอรมนี ผมพิมพ์โบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ข่าวว่าจะสร้างพิพิธภัณฑ์ไปใส่ไว้ตาม ‘รังนกกระจอก’ ของผู้สื่อข่าวทั่วโลก

 โบรชัวร์มีพระบรม-ฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงถือกล้องดาแกร์  เมื่อข่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ มีคนจีนเชื้อสายอเมริกันคนหนึ่งชื่อคุณจอร์จ ลี (George Lee) จากแซนตาครูส แคลิฟอร์เนีย ติดต่อมาหา เล่าว่ามีกล้องอยู่ ๒๐๐ ตัว แต่เมียเขาไม่ชอบกล้อง ถ้าเขาตายเมียคงจะทิ้งทั้งหมด จึงอยากยกให้  ผมนึกว่าเขาพูดเล่น แต่เขายืนยันว่าชอบนิสัยคนไทยที่ไปเรียนหนังสืออยู่ในแคลิฟอร์เนีย บอกให้ผมจัดการเรื่องขนส่งเองนะ ผมก็ออกเงินค่าขนส่งจากบ้านเขามายังสนามบิน แล้วติดต่อบริษัทการบินไทยให้ความอนุเคราะห์ขนส่งกล้อง  พอเข้าเมืองไทยก็ได้รับการยกเว้นภาษีเพราะเป็นการบริจาคของเข้าพิพิธภัณฑ์

“กล้องทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์มีนับพันตัว ไม่ได้นำออกมาจัดแสดงทั้งหมดตั้งใจให้มีการหมุนเวียนนิทรรศการ หนึ่งในนั้นเป็นกล้องถ่ายภาพของรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเคยเก็บรักษาที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  ผมเห็นว่าอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา มีความชื้นสูง ตั้งทิ้งไว้หลายปีจะมีผลทำให้เลนส์เสียหาย

Image

วันหนึ่งมีการประชุมผมกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา องค์อุปถัมภ์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ว่าอยากจะขอเชิญกล้องรัชกาลที่ ๗ มาแสดงที่นี่ ท่านทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงเข้าพระทัย ทรงให้คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์อยู่ด้วยทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญกล้องถ่ายภาพของรัชกาลที่ ๗ มาจัดแสดงและอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์

“การเก็บกล้องและดูแลรักษากล้องต้องอยู่ในสถานที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิต่ำกว่า ๕๐ องศาเซลเซียส ภายในห้องจัดแสดงของพิพิธ-ภัณฑ์จึงเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา

“การเก็บรักษากล้องรุ่นเก่า ๆ ไว้ในพิพิธภัณฑ์ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นวิวัฒนา-การของการถ่ายภาพ ได้เห็นวิวัฒนาการความก้าวหน้าของกล้องตั้งแต่เริ่มต้นกระทั่งเจริญถึงจุดสุดยอด ถ้าไม่มีพิพิธภัณฑ์กล้องคนรุ่นหลังก็ไม่รู้ว่ากล้องเกิดมาได้ยังไง คนเราถ้าได้รู้ถึงวิวัฒนาการของกล้องหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมันก็ทำให้ความรู้ความคิดแตกฉาน ความคิดของคนมีการพัฒนา

“คนเมืองนอกไม่ใช่เก่งกว่าเรา แต่สิ่งแวดล้อมเขาดีกว่าเรา  พอเขาเรียนในห้องแล้วจะมีชั่วโมงให้ไปดูของจริงในพิพิธภัณฑ์ พอดูแล้วเด็กก็สนุก อยากจะเรียนจากของจริง เกิดความสนใจ วันเสาร์อาทิตย์คุณจะเห็นคนยืนรอหน้าประตูยาวเป็นกิโลเพื่อที่จะเข้าไปดูพิพิธภัณฑ์  ส่วนบ้านเราไปยืนรอหน้าห้างสรรพสินค้า

“ฉะนั้นพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ ทำให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำความคิดนี้ไปเป็นแรงบันดาลใจให้ค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ ต่อไปได้  พิพิธภัณฑ์กล้องเป็นสถานที่สร้างความรู้ให้กับคนทั่วไป มูลค่าด้านราคาสำคัญก็จริง แต่มูลค่าที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสำคัญกว่า”

ขอขอบคุณ 
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี
และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เอื้อเฟื้อสถานที่ในการสัมภาษณ์

เจ้าของกล้อง
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ชั้น ๓ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ ๐๙.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. โทรศัพท์ ๐-๒๒๑๘-๕๕๘๓

นิตยสาร สารคดี : Linhof Technika และ Horseman SW612

สกล เกษมพันธุ์ : Mamiya RZ67 Pro II และ Pentax 67

บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : Nikon F

ขอขอบคุณ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศักดา ศิริพันธุ์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ. ดร. ชวาล คูร์พิพัฒน์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทุกท่าน