Image
EP.01
บรรยายภาพ : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี
เทคโนโลยีการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มเกิดขึ้นเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการเก็บบันทึกภาพของมนุษย์
จากกล้องฟิล์มรุ่นแรกๆ ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน กลายเป็นกล้องรุ่นใหม่ๆ ที่ผู้ถ่ายสามารถปรับแต่งขนาดรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ระยะโฟกัส ฯลฯ

กล้องและการถ่ายภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเป็นเครื่องมือสำคัญในการบันทึกเหตุการณ์ เป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รวมทั้งความหลงใหลในรูปทรงการออกแบบของประดิษฐกรรมอันน่าทึ่ง 

กระทั่งถึงวันที่การใช้งานกล้องฟิล์มน้อยลง ก็ยังมีหลายต่อหลายคนเก็บรักษากล้องฟิล์มเอาไว้ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณค่า ความสำคัญ และความรักความผูกพันระหว่างคนกับกล้องฟิล์ม

สำหรับกล้องฟิล์มในหน้าต่อจากนี้ได้รับการจัดแสดง ณพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พิพิธภัณฑ์กล้องแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งทำหน้าที่อนุรักษ์กล้องถ่ายภาพไว้ให้เป็นสมบัติแห่งความทรงจำไปชั่วกาลนาน
หมายเหตุ 
ขนาดฟิล์มเป็นรหัสที่กำหนดโดยผู้ผลิตฟิล์ม เช่นโกดักใช้ ๑๒๐, ๑๓๕, ๑๒๗ ฯลฯ ไม่ได้บอกถึงขนาดความกว้างจริงของตัวฟิล์ม เช่นขนาดฟิล์ม ๑๓๕ เล็กกว่าฟิล์ม ๑๒๐  ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Film_format

การจัดวางภาพกล้องในชุดภาพนี้ไม่ได้แสดงขนาดที่แท้จริงของกล้อง และมิได้เปรียบเทียบขนาดเล็กใหญ่ระหว่างกล้องแต่ละรุ่นเจ้าของกล้อง

-พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ชั้น ๓ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ ๐๙.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. โทรศัพท์ ๐-๒๒๑๘-๕๕๘๓

นิตยสาร สารคดี : Linhof Technika และ Horseman SW612

สกล เกษมพันธุ์ : Mamiya RZ67 Pro II และ Pentax 67
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : Nikon F

ขอขอบคุณ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศักดา ศิริพันธุ์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ. ดร. ชวาล คูร์พิพัฒน์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทุกท่าน

BROWNIE
ค.ศ. ๑๙๐๐ โกดักผลิตกล้องรุ่นใหม่ชื่อ “บราวนี” เป็นกล้องราคาประหยัดเพียง ๑ ดอลลาร์สหรัฐ รูปทรงสี่เหลี่ยม สีดำ ไม่มีกลไกซับซ้อน ไม่มีช่องมองภาพ ขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์คงที่ ระยะโฟกัสตั้งแต่ ๖ ฟุตขึ้นไปจนถึงอินฟินิตี ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง หลังจากรุ่นแรกแล้วก็ผลิตตามมาอีกมากกว่า ๑๐๐ รุ่น
Image
Kodak 
Beau 
Brownie 

ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๓๐-๑๙๓๓
ขนาดฟิล์ม  :  ๑๒๐ และ ๑๑๖
ขนาดภาพ  :  ๒ ๑/๔ x ๓ ๑/๔ นิ้ว
เลนส์  :  doublet (เลนส์สองชิ้นประกบกัน)
ประเทศ  : สหรัฐอเมริกา

เป็น box camera ด้านหน้ากล่องโดดเด่นด้วยลวดลายศิลปะแนวอาร์ตเดโค ลายเรขาคณิตสองสี มีให้เลือกทั้งหมดห้าคู่สี ซึ่งมักเรียกตามสีหลัก คือ ดำ นํ้าเงิน เขียว กุหลาบ และนํ้าตาลแดง (tan)  เฉพาะสีเขียวและสีกุหลาบวางขายในช่วง ค.ศ. ๑๙๓๐-๑๙๓๑ เท่านั้น
Image
Kodak 
Brownie 
Auto 

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๓-๑๙๖๕
ขนาดฟิล์ม : ๑๒๗
ขนาดภาพ : ๓.๕ x ๓.๕ นิ้ว
เลนส์ : Kodar F8
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

ระบบวัดแสงอัตโนมัติ มีช่องมองภาพด้านหลัง มีแฟลชบัลบ์ (flashbulb) จุดสว่างได้เพียงครั้งเดียวแล้วต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ ความเร็วชัตเตอร์สองค่า ถ้าเปิดแฟลชจะถ่ายด้วย ๑/๔๐ ถ้าปิดฝาแฟลช ๑/๘๐ ตั้งระยะโฟกัสได้สองระยะคือ โคลสอัป ๓.๕-๘ ฟุต และไกลกว่า ๘ ฟุต 
Kodak 
Brownie 
Hawkeye

Image
ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๔๙-๑๙๖๑
ขนาดฟิล์ม  :  ๖๒๐ 
ขนาดภาพ  :  ๒ ๑/๔ x ๒ ๑/๔ นิ้ว
เลนส์  :  meniscus
ประเทศ  :  สหรัฐอเมริกา 

ตัวกล้องทำจากเบเคอไลต์ น้ำหนักเพียง ๔๖๓ กรัม มีช่องมองภาพจากด้านบน เป็นกล้องที่ไม่ต้องตั้งค่าชัตเตอร์และรูรับแสง กดถ่ายภาพได้ทันทีโดยวัตถุต้องอยู่ห่างตั้งแต่ ๕ ฟุตขึ้นไป ชิ้นเลนส์เป็นแก้ว ยกเว้นช่วง ๒ ปีสุดท้ายเปลี่ยนมาใช้พลาสติก
FOLDING CAMERA
กล้องพับมีเบลโลว์ (bellow) ทำจากหนังหรือผ้าสีดำพับจีบเชื่อมตัวกล้องกับเลนส์ ยืดหดเพื่อปรับระยะโฟกัส  กลไกการปรับขนาดรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์อยู่ที่เลนส์ ปรับค่าความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงได้หลากหลาย  เลนส์แบบแรก ๆ มีความเร็วชัตเตอร์ T และ I  รูรับแสงขนาด ๑ และ ๔  ต่อมา เพิ่มความเร็วชัตเตอร์เป็น T, B, ๑/๒๕, ๑/๕๐ และ ๑/๑๐๐ รูรับแสง ๔, ๘, ๑๖ และ ๓๒ กล้องบางรุ่นใช้กับแฟลชได้ด้วย
Certosport
Image
ผลิต   :  ค.ศ. ๑๙๒๙-๑๙๓๓
ขนาดฟิล์ม  :  ๑๒๐ 
ประเทศ :  เยอรมนี

ตัวกล้องทำด้วยอะลูมิเนียมหุ้มหนัง มีช่องมองภาพจากด้านบนและด้านหลัง ใช้งานร่วมกับกรอบลวดเล็งระดับตา (wire-frame viewfinder) ช่วยจัดองค์ประกอบภาพ ผลิตมาสองขนาดคือ ๖.๕ x ๙ เซนติเมตร และ ๙ x ๑๒ เซนติเมตร
Kodak 
Bantam 
Special

ผลิต  :  ค.ศ. ๑๙๓๖-๑๙๔๘
ขนาดฟิล์ม  :  ๘๒๘
ประเทศ  :  สหรัฐอเมริกา

ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในกล้องที่ออกแบบสวยที่สุดตลอดกาล ตัวกล้องกับฝาเปิดออกแบบให้คล้ายกับฝาหอย ฝังเส้นอะลูมิเนียมเป็นลายบนตัวกล้องสีดำขลับ ขนาดเล็กกะทัดรัดแค่ ๓ ๓/๑๖ x ๔ ๑๓/๑๖ x ๑ ๑๓/๑๖ นิ้ว นํ้าหนัก ๔๘๒ กรัม มีช่องมองภาพแยกจากช่องโฟกัสแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์ ความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑/๕๐๐ เลนส์ Ektar F2 45 mm ช่วยให้ถ่ายรูปได้เกือบทุกสภาพแสง
Image
LARGE FORMAT 
หรือ VIEW
กล้องขนาดใหญ่ใช้ร่วมกับขาตั้ง (tripod) ด้านหน้ากล้องเป็นกรอบติดตั้งแผงเลนส์ (lens board) ส่วนด้านหลังกล้องเป็นกรอบติดตั้งฉากกระจก (ground glass) สำหรับมองภาพที่จะถ่าย ช่างภาพต้องใช้ผ้าสีดำคลุมด้านหลังกล้องเพื่อให้เห็นภาพชัด ซึ่งเป็นภาพกลับหัวและกลับซ้าย-ขวา ปรับแต่งโฟกัสด้วยการเลื่อนเบลโลว์  สามารถปรับมุมหมุน เปลี่ยนระดับสูงต่ำของกรอบแผงเลนส์และกรอบติดตั้งฟิล์มได้อิสระ  เมื่อพอใจองค์ประกอบภาพแล้วจึงนำกล่องฟิล์ม (film holder) ที่บรรจุฟิล์มแผ่น (sheet film) มาใส่แทนตำแหน่งของฉากกระจกเพื่อบันทึกภาพ  ฟิล์มแผ่นเป็นฟิล์มขนาดใหญ่มีหลายขนาด เช่น ๔ x ๕ นิ้ว ๘ x ๑๐ นิ้ว สามารถใส่อะแดปเตอร์สำหรับฟิล์ม ๑๒๐ ได้ด้วย นิยมใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดสูง หรือภาพขยายขนาดใหญ่
Linhof 
Technika 

Image
ผลิต  :  รุ่นแรก ค.ศ. ๑๙๓๖
ประเทศ  :  เยอรมนี

ลินฮอฟมีชื่อเสียงด้านการผลิตกล้อง large format กล้อง Technika รุ่นแรกถือเป็นกล้อง folding field camera ตัวแรกของโลกที่ทำด้วยโลหะทั้งตัว ผลิตออกมาอีกหลายรุ่น นิยมใช้ในงานภาคสนามเนื่องจากขนาดเล็ก นํ้าหนักเบา และพับเก็บได้
Sinar 
Monorail  

Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๔๗
ประเทศ : สวิตเซอร์แลนด์

กล้องรุ่นแรกของ Sinar เป็นระบบที่กล้องตั้งอยู่บนรางเดี่ยว อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถถอดแยกชิ้นส่วนและเปลี่ยนขนาดได้ตามต้องการ นิยมใช้ถ่ายภาพในสตูดิโอ
PRESS
กล้องยุคแรกๆ ของผู้สื่อข่าวสำหรับการทำงานในภาคสนาม พัฒนามาจาก view camera มีขนาดเล็กลงและน้ำหนักเบา สามารถถือด้วยมือ แต่ยังคงการโฟกัสด้วยเบลโลว์  ด้านหลังใช้กล่องฟิล์ม (film holder) สำหรับฟิล์มแผ่นขนาด ๔ x ๕ นิ้ว หรือขนาดอื่นๆ  ฟิล์ม ๑๒๐ หรือฟิล์มม้วน เป็นที่นิยมในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
Speed 
Graphic 
Graflex

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๔๗
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

เป็นกล้องที่นิยมอย่างมากของผู้สื่อข่าวอเมริกันภาพถ่ายทหารอเมริกันยกเสาธงชาติสหรัฐอเมริกาบนเกาะอิโวะจิมะใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถ่ายด้วยกล้องตระกูลนี้
Mamiya 
Super 

Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๖๗
ขนาดฟิล์ม  :  ๑๒๐ และ ๒๒๐
ประเทศ  :  ญี่ปุ่น

มีช่องมองภาพและโฟกัสแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์ขนาดใหญ่ในชุดที่วางขายประกอบด้วยตัวกล้อง เลนส์ 100 mm F3.5 ด้ามถือช่วยให้จับกล้องถนัด และกล่องฟิล์มม้วน (roll film holder)  หลังตัวกล้องสามารถถอดแยกชิ้นส่วนสลับใช้กับกล้องตัวอื่นหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมได้หลากหลายถือเป็นกล้องผู้สื่อข่าวรุ่นท้าย ๆ ของ Mamiya (รุ่นสุดท้ายผลิต ค.ศ. ๑๙๖๙) เพราะผู้สื่อข่าวหันมาใช้กล้องฟิล์ม ๑๓๕ มากขึ้น
TWIN-LENS
REFLEX (TLR)

กล้องเลนส์คู่ เลนส์ตัวบนทำหน้าที่รับแสงเข้าสู่ช่องมองภาพ (viewfinder) ซึ่งเป็นภาพกลับซ้าย-ขวา ส่วนเลนส์ตัวล่างรับแสงเพื่อบันทึกลงฟิล์ม  ช่องมองภาพอยู่ด้านบนของตัวกล้องจึงต้องถือมองในระดับเอว (waist level)  และด้วยตำแหน่งเลนส์ที่ต่างกัน ภาพที่เห็นในช่องมองภาพจึงไม่ตรงทีเดียวกับภาพที่เลนส์ตัวล่างบันทึก  ใช้ฟิล์มขนาด ๑๒๐ ขนาดภาพ ๖ x ๖ เซนติเมตร เคยได้รับความนิยมมากในอดีต มีหลายยี่ห้อที่ผลิต เช่น Rolleiflex, Yashica, Mamiya
Original
Rolleiflex 

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๒๘
ขนาดฟิล์ม : ๑๑๗
ขนาดภาพ : ๖ x ๖ เซนติเมตร
ประเทศ : เยอรมนี

ใน ค.ศ. ๑๙๒๘ กล้อง Rolleiflex “รุ่นทดลอง” โมเดล ๖๑๐ ผลิตขึ้นเพียง ๑๐ ตัวเท่านั้น แต่ภายหลังผลิตเพิ่มเป็นโมเดล ๖๑๑, ๖๑๒, ๖๑๓ และ ๖๑๔ ซึ่งใช้เลนส์ขนาดต่างกัน จำหน่ายในช่วง ๔ ปี ค.ศ. ๑๙๒๙-๑๙๓๒ รวมกว่า ๓ หมื่นตัว
Image
Rolleiflex F 
และ E Series

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๖  
ประเทศ : เยอรมนี

Rolleiflex เป็นกล้อง TLR ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ช่างภาพสามารถติดตั้งปริซึมเพื่อไม่ให้ภาพกลับซ้าย-ขวา และมองภาพจากระดับสายตา มีอุปกรณ์เสริมคือแฟลชที่ใช้หลอดครั้งเดียวทิ้ง
Rolleiflex
Gray Baby

Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๖๓
ขนาดฟิล์ม  : ๑๒๗
ขนาดภาพ  : ๔ x ๔ เซนติเมตร
ประเทศ  : เยอรมนี

ตัวกล้องมีขนาด ๑๒.๓ x ๘.๙ x ๘.๑ เซนติเมตร เล็กกว่า Rolleiflex รุ่นปรกติ รุ่นสีเทา (Gray) ผลิตจำหน่ายจำนวน ๖๒,๒๕๐ ตัว และยังมีรุ่นสีดำด้วย ปัจจุบันฟิล์ม ๑๒๗ หายากแล้ว จึงมีคนนำฟิล์ม ๑๒๐ มาดัดแปลงใช้กับกล้องรุ่นนี้แทน
Ansco 
Automatic 
Reflex 

Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๔๗
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

ผลิตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อแข่งกับ Rolleiflex แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะได้รับการออกแบบอย่างสวยงามและมีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ
MEDIUM FORMAT
กล้อง medium format พัฒนาต่อมาจากกล้อง TLR ใช้กับฟิล์มขนาดกลาง เช่น ฟิล์ม ๑๒๐, ๒๒๐ ขนาดภาพ ๖ x ๖ และ ๖ x ๗ เซนติเมตร นิยมใช้กับงานถ่ายภาพแฟชั่น โฆษณา นิตยสาร ที่ต้องการภาพความละเอียดสูงและขยายภาพขนาดใหญ่ สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ กล่องฟิล์มหลังกล้อง (film holder) และช่องมองภาพ (viewfinder) ได้หลากหลาย 
Hasselblad
2003 FCW 

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๘๘-๑๙๙๑
ขนาดฟิล์ม : ๑๒๐
ขนาดภาพ : ๖ x ๖ เซนติเมตร
ประเทศ  :  สวีเดน

รุ่นนี้ผิวกล้องเคลือบด้านช่วยลดแสงสะท้อน Hasselblad เป็นกล้อง medium format ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ขนาดกะทัดรัด ใช้เลนส์คุณภาพสูงยี่ห้อ Carl Zeiss และ Schneider ของเยอรมนี รุ่นยอดนิยมคือ 500 C/M ซึ่งผลิตนานหลายปีตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๐-๑๙๙๔
Image
Mamiya
RZ67 Pro II

ผลิต : ค.ศ. ๑๙๙๕ 
ขนาดฟิล์ม : ๑๒๐, ๒๒๐ และโพลารอยด์
ขนาดภาพ : ๖ x ๗ และ ๖ x ๔.๕ เซนติเมตร 
ประเทศ : ญี่ปุ่น

จุดเด่นคือกล่องฟิล์มม้วนด้านหลัง
สามารถหมุนเปลี่ยนแนวนอนเป็นแนวตั้งหรือกลับกัน โดยไม่ต้องถอดกล่องฟิล์มออกจากหลังกล้อง และจอมองภาพจะปรับเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนตามโดยอัตโนมัติ ระบบควบคุมชัตเตอร์เป็นอิเล็กทรอนิกส์
Image
Pentax 67
Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๘๙
ขนาดฟิล์ม  : ๑๒๐ และ ๒๒๐
ขนาดภาพ : ๖ x ๗ เซนติเมตร
ประเทศ : ญี่ปุ่น

กล้องฟิล์ม medium format ในรูปแบบของ SLR (single lens reflex) ใช้ระบบชัตเตอร์แบบม่าน (focal plane shutter) สามารถถอดเปลี่ยนปริซึมเป็นช่องมองภาพแบบอื่น ๆ  ด้ามจับทำด้วยไม้
PLAUBEL
MAKINA

Plaubel & Co เป็นบริษัทกล้องของเยอรมนี ก่อตั้งโดย Hugo Schrader ใน ค.ศ. ๑๙๐๒  เริ่มผลิตกล้อง Plaubel Makina ใน ค.ศ. ๑๙๑๒ และผลิตกล้องรุ่นต่อมาคือ Makina I, II, IIS, III และ IIIR เป็นรุ่นสุดท้าย ใช้ชัตเตอร์แบบกลีบ (leaf shutter) ค.ศ. ๑๙๗๕ ขายกิจการให้กับ Doi Group ของญี่ปุ่น ซึ่งผลิตกล้อง Plaubel Makina ออกมาใหม่โดยใช้เลนส์ Nikkor  นับเป็นกล้อง medium format “ภาคสนาม” เมื่อพับเก็บแล้วบาง กะทัดรัด ปรับโฟกัสด้วยเบลโลว์ ซึ่งมีจุดเด่นคือก้านบังคับที่เหมือนขากรรไกร
Plaubel 
Makina IIS

Image
ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๓๖
ขนาดฟิล์ม  : ๖.๕ x ๙ เซนติเมตร
ประเทศ  : เยอรมนี

กล้องรุ่นนี้นิยามตัวเองว่าเป็น Rolls-Royce of cameras ระบบโฟกัสเป็นแบบ coupled rangefinder ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้เร็ว โดยมีเลนส์ให้เลือกถึงสามขนาด คือ เลนส์ไวด์ เลนส์มาตรฐาน และเลนส์เทเลฯ
Plaubel 
Makina 670

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๘๔
ขนาดฟิล์ม : ๑๒๐ และ ๒๒๐
ขนาดภาพ : ๖ x ๗ เซนติเมตร
ประเทศ : ญี่ปุ่น

ผลิตในญี่ปุ่น ใช้เลนส์ Nikkor 80 mm F2.8 หน้าตาคล้ายกับ Plaubel Makina 67 ซึ่งผลิตเป็นรุ่นแรกโดยญี่ปุ่นใน ค.ศ. ๑๙๗๙
RANGEFINDER
เป็นกล้องที่มีระบบหาระยะชัดแบบภาพซ้อน (parallax focus) โดยปรับให้ภาพสองภาพในช่องมองภาพทับซ้อนกันพอดี มีทั้งแบบเลนส์ติดตัวกล้องและเปลี่ยนเลนส์ได้ มีทั้งรุ่นที่ให้ปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงเอง หรือแบบปรับเองผสมกับแบบอัตโนมัติ ใช้กับฟิล์มขนาด ๑๓๕  ตัวกล้องมีขนาดกะทัดรัด พกพาง่าย
Image
Univex
Mercury

ผลิต  : ค.ศ. ๑๙๓๘
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

กล้อง half-frame 
หล่อด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยหุ้มหนัง
Kodak
Signet  35

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๑
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา
Kodak
Bantam RF

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๓
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา
Contax II
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๓๖
ประเทศ : เยอรมนี
Contessa 35
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๐
ประเทศ : เยอรมนี
Yashica
Electro 35

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๖
ประเทศ : ญี่ปุ่น
Canon II
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๕
ประเทศ : ญี่ปุ่น
Gelto D III
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๐
ประเทศ : ญี่ปุ่น
Exakta Varex IIa 
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๗
ประเทศ : เยอรมนี
Mamiya
Sketch

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๕๐
ประเทศ : ญี่ปุ่น
RANGEFINDER
Argus C
Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๖๖
ขนาดฟิล์ม : ๑๓๕
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา

Argus รุ่น A เป็นกล้องราคาประหยัดที่ใช้กับฟิล์ม ๑๓๕ ตัวแรกในสหรัฐอเมริกา นับเป็นการปฏิวัติตลาดกล้อง ส่วนรุ่น C3 มีช่วงการผลิตยาวนานถึง ๒๗ ปี และเป็นหนึ่งในกล้องรุ่นที่ขายดีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้จะไม่มีระบบวัดแสง ช่องมองภาพขนาดเล็ก และวิธีขึ้นฟิล์มค่อนข้างซับซ้อนก็ตามมักใช้ประกอบฉากภาพยนตร์ย้อนยุค รวมทั้งในภาพยนตร์แฟนตาซีเรื่อง แฮรรี่ พอตเตอร์
Olympus 
Pen EE 

Image
ผลิต : ค.ศ. ๑๙๖๑
ขนาดฟิล์ม : ๑๓๕
ประเทศ : ญี่ปุ่น

รุ่นแรกของซีรีส์ Pen วางจำหน่ายใน ค.ศ. ๑๙๕๙ เป็นกล้อง half-frame ตัวแรกของโอลิมปัส ด้วยโจทย์ที่ต้องการให้ผู้หญิงซื้อกล้องมากขึ้น จึงออกแบบให้กล้องมีขนาดเล็ก ถ่ายภาพง่าย EE ย่อมาจาก electric eye วัดแสงด้วยเทคโนโลยี selenium light meter ติดตั้งเป็นแผงวงแหวนรอบเลนส์ ช่วยปรับชัตเตอร์และรูรับแสงให้อัตโนมัติ ยกกล้องเล็งและกดถ่ายภาพได้ทันที หนังหุ้มกล้องแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน เช่น รุ่นแรกเป็นหนังสีดำหรือเทาลายหยาบ รุ่น ๒ เป็นหนังสีเทาลายจุด