A BRIEF
HISTORY OF
CAMERA
เรียบเรียง : หนอนกระดึ๊บ
Image
Ibn al-Haytham 
al Hazen

อิบน์ อัล-ฮัยษัม อัลฮะเซน นักปราชญ์อาหรับอธิบายถึงการทำงานของห้องมืดเจาะรูเล็กๆ ให้แสงทะลุผ่านไปที่ผนังด้านตรงข้ามปรากฏภาพของทิวทัศน์ภายนอกเป็นภาพกลับหัวบนผนัง
Image
Image
Johannes Kepler
Image
โจฮานเนส เคปเลอร์ ประดิษฐ์กระโจมกล้องรูเข็มซึ่งมีเลนส์และกระจกสะท้อนแสงที่ยอดกระโจมฉายภาพลงมาที่กระดานวาดภาพและตั้งชื่อให้กล้องรูเข็มว่า camera obscura ซึ่งเป็นภาษาละติน คำว่า camera หมายถึงห้องที่มีหลังคาโค้ง ส่วน obscura แปลว่ามืด เป็นต้นทางของการใช้คำว่า camera หมายถึงกล้องถ่ายภาพในภายหลัง
Image
Johann Zahn
Image
โยฮันน์ ซาน ออกแบบกล้องออบสคูราขนาดเล็กมีกระบอกเลนส์ด้านหน้า และกระจกสะท้อนแสง ๔๕ องศาด้านหลังนับเป็นกล้องที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกล้องถ่ายรูปซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
Image
Johann Heinrich Schulze
โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลเซอ หลังจากทดลองหลายต่อหลายครั้งก็พบว่าสารซิลเวอร์ไนเตรตจะกลายเป็นสีดำเมื่อถูกแสงแดด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสารไวแสงสำหรับเคลือบวัสดุบันทึกภาพ
Image
Thomas Wedgwood
โทมัส เวดจ์วูด ใช้แสงแดดสร้างภาพใบไม้บนแผ่นหนังอาบน้ำยาซิลเวอร์ไนเตรตได้สำเร็จแต่ในที่สุดภาพกลายเป็นสีดำทั้งหมดเมื่อทิ้งไว้ให้โดนแสง เพราะยังไม่มีวิธีคงสภาพของภาพไว้
Image
Joseph Nicephore Niepce 
โฌแซฟ นีเซฟอร์ เนียปส์ ใช้กระดาษฉาบเกลือของซิลเวอร์วางหลังกล้องออบสคูรา สามารถบันทึกภาพกรงนกพิราบนอกหน้าต่างเห็นรายละเอียดต่างๆ แต่เป็นภาพเนกาทีฟคือวัตถุต่างๆ เป็นสีขาว ส่วนบริเวณสว่างเป็นสีดำ 
Image
Image
โฌแซฟ นีเซฟอร์ เนียปส์ เป็นคนแรกที่หาวิธีคงสภาพภาพถ่ายสำเร็จ เขาใช้แผ่นโลหะพิวเตอร์ (ดีบุกผสม) ฉาบยางมะตอยธรรมชาติ ติดตั้งในกล้องออบสคูรา และเปิดรับแสงเข้ากล้องนาน ๘ ชั่วโมงก่อนนำไปล้างด้วยน้ำมันจากดอกไม้ทำให้ได้ภาพโพซิทีฟขาวดำ และคงสภาพได้เป็นครั้งแรก เขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า เฮลิโอกราฟี (heliography) แปลว่าภาพวาดโดยดวงอาทิตย์  
Image
Louis Jacque Mande Daguerre 
ลุย ฌาก ม็องเด ดาแกร์ ประดิษฐ์วิธีถ่ายภาพดาแกร์โรไทป์ (daguerreotype) ใช้แผ่นโลหะทองแดงอาบซิลเวอร์ไอโอไดด์เป็นแผ่นรับภาพในกล้อง
ใช้เวลาเปิดรับแสง ๓๐ นาที แล้วใช้ไอปรอททำให้เกิดภาพและสารละลายเกลือแกงรักษาภาพ นับเป็นวิธีถ่ายภาพซึ่งทำได้สะดวกและได้รับความนิยมต่อมา
Image
Image
Image
William Herschel
วิลเลียม เฮอร์เชล นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังในสมัยนั้นเขียนบทความโดยใช้คำว่า photography หมายถึงการถ่ายภาพทำให้คำนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย  
Image
Joseph Petzval
โจเซฟ เพ็ตซ์วาล ประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพโดยใช้เลนส์สี่ชิ้นประกอบกันเพื่อลดความผิดเพี้ยนของภาพจากเลนส์ที่เป็นชิ้นเดี่ยวได้รับความนิยมต่อมาเกือบ ๑ ศตวรรษ
Image
Image
Frederick Scott Archer
เฟรเดอริก สกอตต์ อาร์เชอร์ ค้นพบการถ่ายภาพโดยใช้แผ่นกระจกเปียกสารไวแสง เรียกว่าเพลตเปียก (wet plate) ใช้เวลาถ่ายเร็วกว่าและรายละเอียดของภาพมากกว่าการถ่ายรูปแบบดาแกร์โรไทป์
Image
Charles Harrison & Joseph Schnitzer
Image
ชาร์ลส์ แฮร์ริสัน และโยเซฟ ชนิทเซอร์ จดสิทธิบัตรกลไกการควบคุมขนาดรูรับแสงในเลนส์กล้องถ่ายรูป โดยใช้แผ่นไดอะแฟรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของกลไกในกล้องถ่ายรูปมาถึงปัจจุบัน
Image
Dr. Richard Leach Maddox
ดร. ริชาร์ด ลีช แมดดอกซ์ เป็นคนแรกที่พัฒนา “เพลตแห้ง” (dry plate) ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าเพลตเปียก โดยใช้เจลาตินผสมซิลเวอร์โบรไมด์เคลือบแผ่นกระจก ทำให้การถ่ายภาพสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องล้างภาพทันทีที่ถ่ายเสร็จเหมือนเพลตเปียก และทำให้ต่อมาสามารถสร้างกล้องถ่ายรูปเป็นกล่องขนาดสองมือถือเรียกว่า box camera
Image
George Eastman
จอร์จ อีสต์แมน ผลิตกล้องตัวแรกที่ใช้ฟิล์มกระดาษออกจำหน่ายโดยบรรจุฟิล์มมาให้ ๑๐๐ ภาพพร้อมในกล้อง ตั้งชื่อว่าโกดัก (Kodak) ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมายเมื่อถ่ายภาพครบแล้วส่งกล้องกลับมาให้โกดักล้างภาพ ตามสโลแกนว่า “You press the button, we do the rest” ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้กล้องถ่ายรูปเป็นอุปกรณ์ที่ใครๆ ก็ถ่ายภาพได้
Image
Image
Image
Henry Reichenbach
Image
เฮนรี ไรเชินบาค นักวิจัยของบริษัทอีสต์แมน พัฒนาฟิล์มถ่ายรูปที่บางเหมือนกระดาษแต่โปร่งแสงเหมือนแก้ว จากพลาสติกสังเคราะห์เซลลูลอยด์ (celluloid) ขึ้นมาใช้แทนฟิล์มกระดาษ
Image
Oskar Barnack
ออสคาร์ บาร์แน็ก เริ่มคิดประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่มีขนาดเล็กลงโดยใช้ฟิล์มขนาด ๓๕ มม. สำหรับถ่ายภาพยนตร์ และต้องใช้เลนส์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อเก็บรายละเอียดภาพไว้ในฟิล์ม และนำไปอัดขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ได้ภายหลัง
Image
Leica I
กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มขนาด ๓๕ มม. เลื่อนฟิล์มตามแนวนอนใช้เลนส์ขนาด ๕๐ มม. ประดิษฐ์โดย ออสคาร์ บาร์แน็ก ได้รับการผลิตออกจำหน่ายครั้งแรกในชื่อ Leica I ทำให้ฟิล์ม ๓๕ มม. กลายเป็นมาตรฐานของกล้องถ่ายรูปในเวลาต่อมา
Image
Image
SLR
กล้อง single lens reflex  ขนาด ๓๕ มม. หรือที่นิยมเรียกย่อว่ากล้อง SLR คือมีกระจกสะท้อนภาพที่จะถ่ายให้เห็นในช่องมอง ช่วยการจัดองค์ประกอบภาพและปรับโฟกัสก่อนถ่ายภาพ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกโดยกล้องยี่ห้อ Ihagee รุ่น Kine Exakta กล้องรุ่นนี้ยังถือเป็นกล้องรุ่นแรกที่เปลี่ยนเลนส์ได้ด้วย
Image
Image
Six-20
กล้อง Super Kodak Six-20 ถือเป็นกล้องถ่ายรูปตัวแรกที่มีระบบวัดแสงอัตโนมัติแต่ราคาสูงมาก และระบบยังไม่เสถียร ทำให้มีการส่งกล้องคืนมาซ่อมจำนวนมาก
Image
Polaroid
Model 95

Image
กำเนิดกล้องชนิดแรกที่ถ่ายภาพแล้วอัดภาพออกมาให้เองอัตโนมัติในเวลาไม่ถึงนาที ชื่อ Polaroid Model 95 แม้จะมีราคาสูง แต่การพัฒนาในรุ่นต่อ ๆ มาสำหรับตลาดทั่วไป ทำให้กลายเป็นหนึ่งในกล้องที่มียอดขายสูงสุด
Image
Autofocus
Camera

กล้องถ่ายรูป Konica C35 AF ถือเป็นกล้องที่สามารถโฟกัสภาพอัตโนมัติ (autofocus camera) ผลิตออกจำหน่ายครั้งแรก
Image
Image
Single-use
Camera

กล้องถ่ายรูปแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งของฟูจิในชื่อ Fujifilm QuickSnap ผลิตออกจำหน่ายครั้งแรกและได้รับความนิยมไปทั่วโลกเพราะขนาดกะทัดรัดและง่ายจนใครๆ ก็ถ่ายภาพจากกล้องนี้ได้ ต่อมากล้องประเภทนี้ได้รับการพัฒนาความสามารถสูงขึ้น เช่น มีแฟลชในตัว กันน้ำ ถ่ายภาพพาโนรามา  
Image
Image
Dycam
Model 1

กล้องถ่ายรูปดิจิทัลตัวแรกที่ผลิตออกขาย ชื่อ Dycam Model 1 หรือ Logitech Fotoman บันทึกภาพเป็นไฟล์ดิจิทัล ซึ่งต้องต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อโอนภาพ
Image
Image
The Turning Point
บริษัทโกดักประกาศยุติการผลิตกล้องฟิล์มและต่อมาใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ก็ยุติการผลิตฟิล์มสไลด์สี Kodachrome ด้วย