Image
ระหว่างที่คิมพาเดินสำรวจถนนเจริญเมือง เธอแวะนั่งคุยกับแม่เฒ่าตรงโถงล่างของโรงแรมเทพวิมาน โรงแรมเก่าที่มีพื้นที่และแสงเงาสวยแบบคลาสสิก ที่นี่ปิดตัวลงในยุคโควิด-๑๙ คิมหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้ใช้อาคารนี้จัดแสดงผลงานของศิลปินแพร่
Image
ฮ่อมแพร่กลับบ้าน
ฮ้อมงานของคนรุ่นใหม่
Road to Hometown
คนรุ่นใหม่มาให้บ้านเกิด

เรื่อง : ลดาวัลย์ ตาไชยยศ
ภาพ : ภาพิมล วีระเกียรติกิจ
ฮ่อมคัมโฮม (Hom Come Home) แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่กลับมาตอกย้ำว่าบ้านเกิดของพวกเขามีของดี ผ่านโครงการ Made in Charoenmueang (เมด อิน เจริญเมือง) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA  โจทย์ของโครงการนี้คือจับคู่ของดีเจ้าดังกับสตูดิโอของนักออกแบบรุ่นใหม่ทายาทคนแพร่แท้ ๆ รีแบรนด์สินค้าเลื่องชื่อย่านถนนเจริญเมืองให้น่าสนใจและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
“แพร่เป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีอะไร”
“แพร่เป็นเมืองทางผ่าน”

นี่มักเป็นคำพูดของหลายคนที่รู้จักเมืองแพร่ นอกเหนือจากเมืองแห่งพระธาตุช่อแฮ ผ้าฮ่อมคราม ไม้สัก หรือแพะเมืองผี ซึ่งเป็นภาพจำประตูสู่ล้านนาในยุคปัจจุบันว่าเป็นเมืองรองไร้ความโดดเด่น

แต่เมื่อเดินทางมาถึงตัวเมืองเก่าแพร่ ได้สัมผัสกับบรรยากาศแสนเงียบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน เสียงเครื่องยนต์ที่ไม่มีมากนัก เหล่านี้กลายเป็นเสน่ห์ของเมืองสำหรับหลายคนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ใช่ว่าความสงบและสภาพแวดล้อมที่ไม่เร่งรีบจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือความทันสมัย

เมืองแพร่มีกลิ่นอายของความดั้งเดิมซึ่งเป็นเอกลักษณ์แฝงไว้ในทุกมิติของสังคม และมักมีเสน่ห์ให้น่าหลงใหลที่แม้แต่ความทันสมัยก็ไม่สามารถกลืนสิ่งเหล่านี้ได้หมด

ฮ่อมคัมโฮม (Hom Come Home) แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่กลับมาตอกย้ำว่าบ้านเกิดของพวกเขามีของดี ผ่านโครงการ Made in Charoenmueang (เมด อิน เจริญเมือง) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA โจทย์ของโครงการนี้คือจับคู่ของดีเจ้าดังกับสตูดิโอของนักออกแบบรุ่นใหม่ทายาทคนแพร่แท้ ๆ รีแบรนด์สินค้าเลื่องชื่อย่านถนนเจริญเมืองให้น่าสนใจและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

แบรนด์ทั้งห้าคือ อ้วนลูกชิ้น (หมู), เปี๊ยกกาแฟโบราณ, กะหรี่ปั๊บเจ๊แอ้ว, แต๋วรวมมิตร และขนมเปี๊ยะเมืองแพร่พานิช

ความน่าสนใจของโครงการนี้คือการทำงานและสร้างพื้นที่ของคนรุ่นใหม่ที่ได้ชื่อว่าแตกต่างและสร้างสรรค์ร่วมกับคนรุ่นเก่าที่มีความดั้งเดิมเป็นเสน่ห์และจุดแข็ง เพื่อจุดประสงค์ในการประชาสัมพันธ์เมืองแพร่และอนุรักษ์ภูมิปัญญา หนึ่งในผลลัพธ์ของโครงการนี้อย่างขนมเปี๊ยะจากเมืองแพร่พานิชนั้น สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ในบริบทต่าง ๆ ของสังคมเมืองแพร่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ขนมเปี๊ยะลายเสือและรูปเท้าเสือของร้านเมืองแพร่พานิชเป็นตัวแทนความหวังและความตั้งใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ผู้คนได้รู้จักแพร่ด้วยภาพจำที่แตกต่างจากเดิม
หลิน-ขนมเปี๊ยะ
เมืองแพร่พานิช

ห่างจากประตูชัยไม่เกิน ๒๐๐ เมตร ตึกพาณิชย์หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่ห้องสุดท้ายขายเบเกอรีหลากชนิดเราได้พบและพูดคุยกับหญิงร่างเล็กหลังแผงขายขนม มีสะดึงสีแดงปักรูปเสือประดับเป็นฉากหลัง เธอคือหลิน-หทัยรัตน์ ลอปกุลเกียรติ อายุ ๓๗ ปี ทายาทรุ่นที่ ๓ ของร้านเมืองแพร่พานิช

“ป๊าเป็นคนทำขนมเปี๊ยะ ร้านนี้ก็ขายขนมมาตั้งแต่รุ่นอากงที่อพยพมาแพร่ เสื่อผืนหมอนใบไม่เกินคำนี้” หลินเริ่มเล่าเรื่องราวถึงพ่อ วันชัย ลอปกุลเกียรติ เจ้าของสูตรขนมเปี๊ยะ และการมาถึงเมืองแพร่ของอากง

การอพยพเข้ามาของชาวจีนในจังหวัดแพร่ ถึงแม้ไม่มีบันทึกไว้ชัดเจนว่าปีไหน แต่อาจดูได้จากศาลเจ้าปุ้งเถ่ากง หรือศาลเจ้าฮั่วเฮงหักเหา ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการตั้งรากฐานของคนเชื้อสายจีน ณ ย่านถนนเจริญเมืองแห่งนี้ได้ แน่นอนว่าระยะเวลาจนถึงปัจจุบันยาวนานไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวไทยลื้อ ไทยพวน ไทยใหญ่ กลุ่มชาวมุสลิม รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ต่างมีบทบาทในการสร้างเมืองแพร่ตั้งแต่อดีต รากเหง้าของพวกเขาต่างก็แฝงอยู่ในทุกมิติของเมืองแพร่ ทั้งอาคารบ้านเรือน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงความหลากหลายของห้างร้านต่าง ๆ ด้วย แสดงให้เห็นว่าเมืองแพร่มีพหุวัฒนธรรมจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนหลากเชื้อชาติอย่างลงตัว
Image
ขนมเปี๊ยะดั้งเดิมในรูปแบบใหม่ของร้านเมืองแพร่พานิชเป็นผลลัพธ์จากโครงการเมด อิน เจริญเมือง (Made in Charoenmueang) หนึ่งในความร่วมมือของเครือข่ายคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ตามคอนเซปต์ “ฮ่อมคัมโฮม กลั๊บบ้านกิ๋นของลำ”
“เราเป็นคนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ เคยบอกป๊าแต่เขาไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าการเพิ่มกล่องจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ความเห็นไม่ตรงกันแบบนี้จึงไม่ได้ปรับอะไรเลย”
กุ๊กกิ๊ก-กมล อินดิโก้
เมื่อเก็บเกี่ยวความสำเร็จของโครงการเมด อิน เจริญเมืองผ่านขนมเปี๊ยะมาอิ่มเอม ไหนเลยที่จะไม่พูดถึงพาร์ตเนอร์ทางไอเดียอย่างกุ๊กกิ๊ก-กมลชนก แสนโสภา อายุ ๒๙ ปี ผู้ถือได้ว่าโด่งดังมากในฐานะศิลปินคนรุ่นใหม่ที่กลับมาทำงานคราฟต์ที่บ้านเกิด เธอมีแบรนด์เสื้อผ้าในชื่อ กมล อินดิโก้ (KAMON Indigo) เราขอถือโอกาสไปเยือนถึงสตูดิโอของกุ๊กกิ๊กพร้อมกับคิม ผู้เป็นสื่อกลางในการทำงานระหว่างหลินและกิ๊ก
Image
Image