๓ มุมมอง
กรณีกบฏบวรเดช
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ถ่ายภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง ประเวช ตันตราภิรมย์
ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์
ผู้เขียน เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้
และประชาธิปไตยในอุดมคติ
เล่าเรื่องของ “แนวร่วมกบฏบวรเดช” คนสำคัญห้าคน
เวลาถามถึง ‘ประชาธิปไตย’ ในบริบทของแนวร่วมฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช [พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช), หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, สอ เสถบุตร, ร้อยโท จงกลไกรฤกษ์ และหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน] ใช้ชีวิตอยู่ เป็นไปได้ว่าคนกลุ่มนี้นึกถึงแบบอังกฤษ คือมี สส. มี สว. แน่นอนมีพระมหากษัตริย์
“การย้อนไปศึกษากบฏบวรเดช ทำให้เราเห็นความซับซ้อนของมนุษย์”
ผศ.ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“กบฏบวรเดชคือ
หนึ่งในชุดเหตุการณ์
ตอบโต้อภิวัฒน์
๒๔๗๕ ”
“ความทรงจำต้องหล่อเลี้ยงด้วยการผลิตซ้ำ มีของที่ระลึก มีพิธีกรรม เคยมีการทำเช่นนั้น กับเหตุการณ์นี้ทุกปีที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏในยุคที่รัฐบาลคณะราษฎรยังมีอำนาจ พอหมดอำนาจก็ขาดหายไป แต่พื้นที่อนุสาวรีย์ยังคงมีความหมายต่อผู้คนในพื้นที่บางเขนในฐานะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือพื้นที่จัดงานสำคัญของอำเภอ จนหลังรัฐประหารปี ๒๕๔๙ อนุสาวรีย์ปราบกบฏก็กลับมามีชีวิตชีวาใหม่อีกครั้งจากการที่กลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปสร้างความหมายใหม่และใช้งานพื้นที่นี้
นริศ จรัสจรรยาวงศ์
นักสะสมหนังสือเกี่ยวกับยุค ๒๔๗๕
“วรรณกรรมของผู้แพ้นั้น
โรแมนติก”
กบฏบวรเดชเป็นเหตุการณ์ไกลตัวคนยุคปัจจุบัน รางเลือนยิ่งกว่าเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถามคนทั่วไปส่วนมากก็ยังจำสับสน แต่มันถูกขุดขึ้นมาผลิตซ้ำในเชิงวรรณกรรมเพราะมีเส้นเรื่องให้เล่าเยอะ และนี่เป็นคู่กรณีคณะราษฎรในแง่ของการปะทะกันด้วยกำลังมากที่สุด