Image
แสงกระสือ
ผีพื้นบ้าน
หลากมิติในภาพยนตร์ไทย
ศาสนาผีอีสานใต้
เรื่อง : ธัชชัย วงศ์กิ จรุ่งเรือง
หมายเหตุ : บทความนี้เปิดเผยเนื้อเรื่องสำคัญของภาพยนตร์

หากจะกล่าวถึงหนังผี ไม่ว่าจะช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์หรือตกต่ำของวงการภาพยนตร์ไทย นี่คือตระกูลที่ยังอยู่คู่วงการภาพยนตร์มาโดยตลอดไม่เสื่อมคลาย ช่วงหนึ่งยังนับเป็นตระกูลหนังที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ
ผีพื้นบ้านหรือตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้าน(urban legend) ที่ว่าด้วยความเชื่อเกี่ยวกับผีในภูมิภาคต่าง ๆ หรือบางสถานที่ของไทยที่ถูกเล่าสืบต่อกันมายาวนาน นับเป็นหนึ่งในตัวแปรของหนังตระกูลนี้  รูปลักษณ์ผี เรื่องราวเฉพาะตัวที่เป็นเสน่ห์ และหาไม่ได้ในหนังจากประเทศอื่น ซึ่งปรากฏในภาพยนตร์หลายเรื่อง อย่าง ตะเคียน (ปี ๒๕๔๖), ผีช่องแอร์ (ปี ๒๕๔๗), “หลาวชะโอน” (ปี ๒๕๕๒-ตอนหนึ่งจากเรื่อง ห้าแพร่ง), มหา’ลัยสยองขวัญ (ปี ๒๕๕๒), เทอมสองสยองขวัญ (ปี ๒๕๖๕) ฯลฯ

การถูกผลิตซ้ำในต่างวาระยังทำให้ผีพื้นบ้านได้รับการตีความใหม่จากผู้สร้างอย่างน่าสนใจ จากเดิมที่หนังผีมักถูกมองเพียงเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่คนดู ไม่ว่าจะสร้างความหวาดกลัวหรือความตลกขบขัน
Image
นางนาก
บรรทัดฐานใหม่
ของภาพยนตร์

ตำนานความรักแห่งท้องทุ่งพระโขนงของผีตายทั้งกลมสุดเฮี้ยน อำแดงนากกับนายมาก นับว่าเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาสร้างในสื่อบันเทิงมากที่สุดเรื่องหนึ่งนับตั้งแต่ปี ๒๔๗๙ จนถึงปัจจุบันโดยฉบับที่สร้างชื่อมากที่สุดคือ แม่นาคพระโขนง (ปี ๒๕๐๒) ผลงานสร้างของ เสน่ห์ โกมารชุน ที่นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง ซึ่งการสร้างใหม่ก็มักผลิตซ้ำภาพจำเดิม ๆ ของผีแม่นากมาโดยตลอด

หากการมาของ นางนาก (ปี ๒๕๔๒-นนทรีย์ นิมิบุตร กำกับ) ที่หยิบเอาตำนานพื้นบ้านอันโด่งดังนี้มาสร้างใหม่ในช่วงที่วงการหนังไทยตกต่ำ กลับสร้างความสนใจ ทำรายได้มหาศาล
ถึง ๑๕๐ ล้านบาท จนกลายบรรทัดฐานใหม่ของวงการหนังไทยด้วยเช่นกัน

ผลงานเรื่องนี้นับว่าเป็นการมาถูกที่ถูกเวลาในช่วงที่คนดูกำลังกังขาต่อคุณภาพหนังไทยที่สู้หนังต่างประเทศไม่ได้ เพราะความโดดเด่นในแง่งานสร้าง ทั้งการกำกับศิลป์ การแต่งหน้า 
การกำกับภาพที่พิถีพิถัน ฉากพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านการค้นคว้าข้อมูลลงรายละเอียดมากขึ้น จนกลายเป็นภาพแปลกตาจากหนังและละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคในช่วงเวลาเดียวกัน
Image