scoop
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช
“UNICON I
คือความพยายาม
สร้างมังกร”
ศ.ดร. สุรินทร์ คำฝอย
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
หนึ่งในสถาบันระดับอุดมศึกษาที่พยายามวิจัยเรื่องรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในเมืองไทย คือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
ก่อนกระแสความสนใจรถ EV จะขึ้นสูงในสังคมไทย พวกเขามีโครงการที่เกี่ยวข้องหลายโครงการ แต่หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือโครงการรถ EV รับส่งบุคลากรภายในวิทยาเขต “UNICON”
ชื่อนี้ย่อมาจาก University Connected โดยออกแบบให้มีหน้าตาคล้ายรถรางไฟฟ้าในเมืองแซนแฟรนซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ คำฝอย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการเล่าว่า UNICON เริ่มต้นเมื่อปี ๒๕๖๒/ค.ศ. ๒๐๑๙ สมัยดอกเตอร์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นอธิการบดี และเขาเป็นรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน “มีความคิดว่าอยากมีรถยนต์ EV วิ่งรับส่งบุคลากรในมหาวิทยาลัย มีบริษัท เอกชนเสนอราคารับจ้างเดินรถ EV หลายเจ้า ผมคุยกับรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาว่าเราน่าจะทำเองได้...”
จึงเตรียมทีมนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์สุรินทร์ดูเรื่องระบบชาร์จไฟฟ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรพล โพธิ์พงศ์วิวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาอีกท่านช่วยดูแลเรื่องมอเตอร์ไฟฟ้า ฯลฯ วางกรอบการทำงาน จากนั้นจึงเสนอโครงการไปที่ฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อของบประมาณ
“เรามองว่านักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเมื่อเรียนจบจะต้องทำงานได้จริง ที่ผ่านมาเราทำโครงงานทุกปี แต่มักเป็นโครงการย่อย แยกส่วน เราต้องการโครงการที่จะเป็นพื้นฐานทางการศึกษา (education platform) ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจแก่คนเรียน” อาจารย์สุรินทร์อธิบายที่มาก่อนจะบอกว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนวิธีการทำโครงการทั้งหมด “โครงการรถ EV ในมหาวิทยาลัยจะกลายเป็นสนามให้เขาลงมือทำจริงจากเดิมที่มักจะได้แต่ทฤษฎีติดตัวเท่านั้น”
“ผมเชื่อมั่น
ในรถยนต์ EV”
เสกสรร สุดแสน (หมู )
ผู้ให้กำเนิด “รถจี๊ป EV” คันแรกของยโสธร
“EV คืออนาคตของยานยนต์”
โสภณ โพธิ์ขาว
ผู้ก่อตั้ง Garage Gravity (Gravity Custom) และผู้สร้าง Space Samurai (มอเตอร์ไซค์ EV)
“ผมเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกล ย้อนกลับไปอีกก็เคยเรียนช่างยนต์ เรียนจบก็มาทำงานกับบริษัทรถยนต์ข้ามชาติ ส่วนตัวผมชอบมอเตอร์ไซค์คลาสสิกชอบแต่งรถอยู่เป็นทุนเดิม อาชีพหลักก็เป็นงานด้านเทคนิคและดูแลรถยนต์ของลูกค้า
“ในปี ๒๕๖๓/ค.ศ. ๒๐๒๐ ผมเพิ่งทราบว่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดหลักสูตรระยะสั้นเรื่องการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับคนทั่วไป ผมสนใจมากเพราะอยากลองทำมอเตอร์ไซค์ EV มองว่า EV คืออนาคตของยานยนต์ ตอนนั้นโควิดก็ระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ เวลาว่างเราก็มีมากเพราะมีการปิดเมือง จึงพยายามสมัครและติดตามผลตลอด ก่อนหน้าก็ไปลงเรียนพื้นฐานรถ EV ที่สถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทย
“หลักสูตรที่เปิดสอนทำให้ผมทราบเรื่องที่ไม่เคยรู้เยอะมากตั้งแต่ที่มาของรถยนต์ EV วิธีคิดเรื่องการออกแบบรถยนต์ แรงบันดาลใจ จากเดิมมองรถยนต์ก็ดูแค่มันสวยดี ก็มารู้ว่าเส้น รูปทรง เขามีไว้เพื่ออะไร ผมเคยสร้างรถแบบสันดาปด้วยตัวเองมาแล้วคือ Bug scooter (มอเตอร์ไซค์แบบคลาสสิก), Monster Bug, Bug kart (มอเตอร์ไซค์สี่ล้อ รูปทรงเฉพาะราคาขายราว ๕ หมื่นบาท), BUG-E, Neo 50’s (มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสี่ล้อ) และเริ่มจดทะเบียนแบรนด์ชื่อ PLATONIC (ปี ๒๕๖๕/ค.ศ. ๒๐๒๒) เพื่อเตรียมพัฒนาต้นแบบและจดสิทธิบัตรมอเตอร์ไซค์ EV เป็นธุรกิจแบบ startup