ทศวรรษ
รอยทางการจัดระบบการศึกษาไทย
(ปี ๒๓๙๕-๒๕๖๕)
Timeline
เรียบเรียง : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
ภาพ : ศูนย์ข้อมูลสารคดี-เมืองโบราณ
(สมัยรัชกาลที่ ๔) เกิดโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน นิกาย
โปรเตสแตนต์
(สมัยรัชกาลที่ ๕) จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนเข้ารับราชการ
จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับให้ราษฎรเรียนแห่งแรก คือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม และมีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดต่าง ๆ ในเวลาต่อมา
กรมธรรมการเปลี่ยนเป็นกระทรวงธรรมการ เพื่อกำกับดูแลโรงเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นทั้งในเมืองหลวงและหัวเมือง พร้อมทั้งก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เพื่อฝึกครูให้มีคุณภาพ
กระทรวงธรรมการวางหลักสูตรของโรงเรียนมูลสามัญชั้นต้น (เด็ก ๗-๑๕ ปี) มีวิชาเรียน คือ ธรรมจารี อ่าน เขียน แต่งข้อความ ไวยากรณ์ เลขวิธี ขับร้อง และโรงเรียนสามัญชั้นสูง (มีสี่ชั้น) เพิ่มการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ พงศาวดาร เขียนรูปภาพ และวิชาอื่น ๆ ถ้าโรงเรียนจัดครูสอนได้ คือ ภาษาอังกฤษ การช่างฝีมือ เพาะปลูกหรือการค้าขาย