Image
สัมภาษณ์ อนล ไพศาล
คุยกับ EmOne ผู้สร้างเทคโนโลยี
เพื่อจัดการกับขยะอวกาศ
 Start up
[ คนไทยไปอวกาศ ]

เรื่อง : นิสากรม์ ทองทา
ภาพ : ฝ่ายภาพสารคดี
“เพราะขยะไม่ ได้มีอยู่แค่ บนโลก”
+++  ไม่ใช่แค่บนพื้นโลกเท่านั้นที่มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ในวงโคจรของดาวเทียมรอบโลกมนุษย์ก็ได้ทิ้ง “ขยะ” จำนวนมหาศาลไว้และนับวันยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งดาวเทียม ยานอวกาศ จรวด และเศษอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ  +++ คำถามที่ยากและท้าทายคือ เราจะจัดการดูแล “ขยะ” เหล่านี้อย่างไร  ในเมื่อมันไม่ได้ลอยมาให้เราคัดแยกหรือรีไซเคิลง่าย ๆ เหมือนพลาสติกในถังหน้าบ้าน +++ สารคดี จึงชวน อนล ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท EmOne (Thailand) ผู้หลงใหลในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศ มาแลกเปลี่ยนเรื่องการจัดการขยะอวกาศที่ EmOne กำลังก่อร่างทีละชิ้นละอันอย่างมุ่งมั่น  >>> 
Image
“ขยะอวกาศ”
ฟังเหมือนจะไกล แต่ ใกล้

อวกาศต้องได้รับการดูแล มิเช่นนั้นเราจะไม่สามารถใช้พื้นที่ในวงโคจรของชั้นบรรยากาศได้อีก 

ขยะอวกาศคือวัตถุค้างฟ้าที่อยู่ในชั้นวงโคจรของดาวเทียม
*
เพราะถูกส่งขึ้นไปและไม่ได้เอากลับลงมา หรือต้องใช้เวลาหลายปีในการนำกลับมา  ขยะอวกาศยังรวมถึงอุกกาบาตด้วยมนุษย์ทิ้งขยะไว้ในอวกาศเยอะมาก บางอย่างสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ แต่บางอย่างไม่มีระบบขับเคลื่อน หรือถูกปลดระวางหน้าที่แล้ว วิ่งตามวงโคจรของมันไปเรื่อย ๆ และก่อให้เกิดปัญหา ขยะอวกาศล่องลอยอยู่ในทุกชั้นวงโคจร เหมือนถนนบนโลก หากรถเยอะแล้วไม่มีการจัดการที่ดีก็จะทำให้รถติด การจราจรบนชั้นวงโคจรตอนนี้แน่นหนามาก และที่มากกว่า “รถติด” คือ “รถชน” เพราะสิ่งที่ส่งขึ้นไปบนอวกาศไม่มีคนขับ เหตุการณ์ดาวเทียมชนกันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ การกระแทกจนแตกหักยิ่งเพิ่มจำนวนเศษขยะมากขึ้นไปอีก  ตอนนี้วัตถุในชั้นวงโคจรมีเยอะมาก หลักหลายล้านชิ้น
Image