แผ่นดิน
พระพุทธเลิศหล้าฯ
(ที่เราไม่รู้จัก)
ภาค 1
scoop
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
รัชกาลที่ ๒ และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) เสด็จฯ ทางชลมารค จิตรกรรมฝาผนังใน “ศาลาทรงยุโรป” วัดพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ซอสายฟ้าฟาด
ยุคทองแห่งวรรณคดีและศิลปกรรม
“สุนทรภู่” กวีเอก ...และ ฯลฯ
คือ “ภาพจำ” เมื่อคนจำนวนมากนึกถึงยุครัชกาลที่ ๒
อาจเนื่องมาจากชั้นเรียนประวัติศาสตร์สมัยประถมฯ มัธยมฯ ที่เล่าถึงยุค “แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ” อันเต็มไปด้วยมหากวี เสียงมโหรีปี่พาทย์ของดนตรีไทย ตำนาน “ซอสายฟ้าฟาด” อันน่าตื่นใจ ทำนองเพลง “บุหลันลอยเลื่อน” ที่ฟังคล้ายเทพนิยายลึกลับจากพระสุบิน
โรแมนติกจนหลายคนจินตนาการว่า แผ่นดินรัชกาลที่ ๒ “สงบราบเรียบ” ปลอดสงคราม ผู้คนมีเวลาสร้างสรรค์ศิลปกรรมหลายด้าน
แต่ประวัติศาสตร์มีหลากแง่หลายมุม มีการค้นพบข้อมูลใหม่แก้ไขข้อมูลเก่าอยู่เสมอ
พุทธศักราช ๒๕๖๕-หลักฐานในยุค “แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ” ถูกทบทวน ตีความหลายครั้ง จนพบว่า “ระหว่างบรรทัด” มี “ข้อมูลใหม่” ที่ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์ใน “ยุคแผ่นดินกลาง” แตกต่างจากที่เรารู้
ต่อจากนี้คือ ๑๕ ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ซึ่งแบบเรียนชาตินิยมไทยไม่ยอมเล่าอย่างตรงไปตรงมา
พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๒ ใกล้พระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยาราม
“ปราบดาภิเษก”
ไม่ใช่ “ราชาภิเษก”
“...เดือนสิบขึ้นสองค่ำ มีกาคาบหนังสือมาทิ้งที่ต้นแจงหน้าพระมหาปราสาท พระยาอนุชิตราชาเปนผู้เกบได้ อ่านดูใจความว่า พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ซึ่งเป็นกรมขุนกระษัตรานุชิต เปนบุตรเจ้ากรุงธนบุรี...จะแย่งชิงเอาราชสมบัติ...”
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน)
๑๐ กันยายน ๒๓๕๒ (ค.ศ. ๑๘๐๙) สามวันหลังรัชกาลที่ ๑ สวรรคต แผ่นดินรัชกาลที่ ๒ เพิ่งเริ่มต้นก็เกิด “คลื่นใต้น้ำ” ทางการเมืองทันที โดย จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๓ บันทึกว่า “กาคาบหนังสือมาทิ้งที่ต้นแจงหน้าพระมหาปราสาท”
• เกิดกบฏเจ้าฟ้าเหม็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระคดี
• รัชกาลที่ ๒ ปราบดาภิเษก
• ศึกถลางครั้งที่ ๒
• ทูตจากเวียดนามขอเมืองฮาเตียนคืน
• เริ่มขัดแย้งกับจักรพรรดิซาลอง
กรณีพระอุไทยราชา
• สยามส่งกองทัพเข้าไปในกัมพูชาเพื่อยุติศึกในราชสำนัก