Image
ชาติชาย เกษนัส
มุมมองคนทำหนัง
ในวันที่ประเทศไทยประกาศ
พา (วงการ ?) ภาพยนตร์ไทย
ไปสู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์
Interview
สัมภาษณ์และเรียบเรียง : วรรณิดา มหากาฬ
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง
๑ มกราคม ๒๕๖๕ ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ออกอากาศตอนแรกเรื่องราวอีกแง่มุมในประวัติศาสตร์ไทย-พม่า ได้รับการถ่ายทอดอย่างละเมียดละไมนำไปสู่กระแสเชิงบวก

ย้อนกลับไปปี ๒๕๖๒ หนังผีสัญชาติเมียนมาโดยผู้กำกับการแสดงไทยออกฉายครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์  The Only Mom มาร-ดา พาเราเข้าสู่ความกลัวพร้อม ๆ กับตั้งคำถามกับความกลัว อำนาจความเชื่อ และชนชั้นในสังคมพม่าที่คล้ายคลึงสังคมไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธ

ไกลกว่านั้น พฤศจิกายน ๒๕๕๙  From Bangkok to Mandalay ถึงคน..ไม่คิดถึง ภาพยนตร์ร่วมทุนไทย-พม่า เรื่องแรกของเขา ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวจากจดหมายของชายคนหนึ่งถึงหญิงสาวที่รัก ความคิดถึงที่ซุกซ่อนและไม่เคยถูกเปิดอ่านได้ออกฉายในประเทศไทย

ชีวิตด้านหนึ่งทำงานในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ อีกด้านอยู่เบื้องหลังบริษัทโพสต์โปรดักชันระดับอินเตอร์ ไวท์ไลท์ สตูดิโอ  จากวันแรกที่รู้ตัวว่าตกหลุมรัก มีความฝันอยากทำหนังสักเรื่อง สู่ละคร-ภาพยนตร์ที่ตั้งใจจะปลุกคนไทยให้ตื่น ตั้งคำถาม มองอดีต และก้าวสู่อนาคต
ฉัน ฝัน หนัง
“เราชอบดูหนัง…”
เป็นประโยคแรกของผู้กำกับภาพยนตร์ไทย-พม่าที่เล่าถึงจุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจ และความฝันในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์

“มันสั่นสะเทือนเรา ไม่รู้ว่าจุดประกายเราแบบไหน แต่พอดูหนังเสร็จก็เริ่มถามตัวเองว่าฝันของเราคืออะไร อยากทำอะไร”
“ซอฟต์พาวเวอร์ก็คือเต้นกินรำกิน ถ้าเราก้าวข้ามตรงนี้ไม่ได้ไม่ต้องคุยกัน”
Image