Image

พระพิมลธรรม (อาจ) ขณะเดินทางไปร่วมประชุม MRA ที่สวิตเซอร์แลนด์

เหตุเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓
คดี “พระพิมลธรรม”
ภาค ๒

scoop

เรื่องและภาพ : สุเจน กรรพฤทธิ์

MRA และเวทีโลก
ยุคสงครามเย็น

นอกเหนือจากสานสัมพันธ์กับคณะสงฆ์พม่า พระพิมลธรรม (อาจ) ยังเปิดการติดต่อกับศาสนิกชนของศาสนาอื่น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับ “ขบวนการส่งเสริมศีลธรรม” (Moral Rearmament Army - MRA)

ท่านอธิบายว่า MRA เผยแผ่ศีลธรรมเพื่อสันติภาพ มีหลักสี่ประการ คือ สัจจะ (ซื่อสัตย์), ทมะ (ฝึกใจให้บริสุทธิ์), จาคะ (เสียสละเพื่อส่วนรวม) และเมตตา (ปรารถนาดีต่อกันโดยไม่มีชนชั้น)

“เขาไม่เลือกชาติศาสนาหรือชั้นวรรณะ...ถ้ามีน้ำใจบริสุทธิ์สะอาด ยินดีประพฤติปฏิบัติธรรมตามที่องค์การกำหนดไว้แล้ว ก็มีสิทธิ์เข้าอยู่ในร่มรัศมีขององค์การทั้งสิ้น...”

ท่านยังมองว่าชาวพุทธไม่ควรมีทิฐิมองว่าศาสนาตนประเสริฐกว่าศาสนาอื่น “แล้วดูหมิ่นดูแคลนเพื่อนมนุษย์โดยเปล่าประโยชน์...”

“พระสงฆ์นั้นไม่มีโอกาสจะล่วงรู้เรื่องของชาวบ้านได้ตลอด ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าใครเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่เป็น ทั้งไม่มีงบประมาณที่จะดำเนินการให้มีเจ้าหน้าที่สอดส่อง...”

Image