Image

Image

ภาพลายเส้ นชาวม้อย จาก A Pictorial Journey on the Old Mekong Cambodia , Laos and Yunnan. Louis Delaporte and Francis Garnier, (White Lotus, 1998.)

"ชาวนาผู้ก่อกบฏได้แสดงความเป็นการเมืองตั้งแต่ต้นแล้ว ด้วยการมุ่งหมายปฏิเสธและพลิกคว่ำอำนาจของผู้ปกครอง"

รณชิต คูหา
กบฏชาวนา : มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม

บ้านเกียดโง้ง เมืองปะทุมพอน, สปป. ลาว (ภาคใต้) กันยายน ปี ๒๕๖๕

หากจะมีเรื่องเล่าของ “กบฏ” ที่สั่นสะเทือนความรับรู้ทางประวัติศาสตร์ของผมมากที่สุดครั้งหนึ่ง เรื่องเล่าของกลุ่มคนที่บ้านเกียดโง้งและเรื่องเล่าเกี่ยวกับบรรพบุรุษของพวกเขาน่าจะเป็นหนึ่งในนั้น

ร่องรอยของกลุ่มคนที่ราชสำนักสยามตราหน้าว่า “กบฏ” ยังคงอยู่ทั้งในแง่ของโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือกระทั่งเรื่องเล่าในหมู่อนุชนรุ่นหลัง

ภูมิประเทศบนเนินเขาอันน่าตื่นตา ซากสิ่งก่อสร้าง คำบอกเล่าของคนลาวในพื้นที่ต่างยืนยันถึง “ความเคลื่อนไหว” เมื่อ ๒ ศตวรรษที่แล้วที่ยังคง “มีชีวิต” อยู่ในความทรงจำ

เพียงแต่ “คำอธิบาย” กลับเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” กับเนื้อหาในพงศาวดารไทย ตำราประวัติศาสตร์ไทย กระทั่งหนังสือที่เขียนถึงเหตุการณ์ที่ยึดถือหลักฐานของราชสำนักสยามเป็นสรณะ

เป็นเรื่องน่าประหลาดที่ผมพบสถานการณ์ลักษณะนี้แทบทุกกรณี ในทุกพื้นที่ที่เคยมี “ความเคลื่อนไหว” ต่อต้านอำนาจสยามช่วงก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ จนทำให้พบว่า “บทสนทนา” ระหว่างอดีตกับปัจจุบันเรื่อง “กบฏ/ขบถ” ยังคงเกิดขึ้น ณ ทุกที่ของ “จุดเกิดเหตุ”

เรื่องเล่าต่อจากนี้คือส่วนหนึ่งของ “บทสนทนา” ที่บันทึกไว้ได้

Image

การเสียส่วยด้วยเงินเป็นภาระหนักของชาวบ้านสะอาด ในอำเภอน้ำพองปัจจุบัน เพราะก่อนนั้นเคยเสียเป็นสิ่งของอย่าง แห ผ้าขาว

นายหนู นายจวน และอีกคนไม่ทราบชื่อ จึงชักชวนชาวบ้านไม่ให้เสียส่วย หรือถ้าเสียก็ให้เวียงจันทน์ดีกว่า  บ้านสะอาดเป็นอิสระไม่เสียส่วยอยู่ ๓ ปี เมื่อทางการยกกำลังมา ผู้นำทั้งสามต้มว่านให้ชาวบ้านกินกับข้าวว่าให้อยู่ยงคงกระพัน

และให้ชาวบ้านทำข้าวสุกตากแห้งใส่กระบอกไว้เป็นเสบียงระหว่างสู้รบ

ชื่อเหตุการณ์สามโบก มาจากสามครั้ง เนื่องจากกลุ่มผู้นำถือปืนคาบศิลาออกไปตั้งรับสู้เจ้าหน้าที่ แต่ถูกยิงตายทั้งสามคน คนในหมู่บ้านจึงแตกหนีไป

Image

หัวหน้าคนพื้นเมืองบริเวณ Pakben
(วาดโดย Janet-Lange จากภาพร่างของ L. Delaporte)

Image

"จึงชาวเทศชื่ออมวดี แฝงต้นโพธิ์ยิงปืนนกสับ เอาตัวกบฏต้องญาณพิเชียร...”

“ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนสาตราคม แลคิดเป็นขบถ...”

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า 
ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

Image

ต้นมะขามเก่าแก่อายุราวร้อยปีสองต้น บริเวณวัดใหญ่ (ร้าง) ริมคลองตาม่วง จังหวัดอ่างทอง สถานที่ที่คนท้องถิ่นเชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ซ่องสุมผู้คนของขบวนการญาณประเชียร

Image